ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 20° 20' 20.7506"
20.3390974
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 0' 10.755"
100.0029875
เลขที่ : 48008
หมู่บ้านสันสลี
เสนอโดย admin group วันที่ 21 มีนาคม 2554
อนุมัติโดย sirirat_admin วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : เชียงราย
1 1228
รายละเอียด
บ้านสันสลี หมู่ที่ ๔ ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย แยกมาจากหมู่บ้าน ศรีบุญยืน เป็น “หมู่บ้านสันสลี” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ โดยการนำของ พ่อลุงผัด แม่ยอด พ่อน้อยถา แม่สุข พ่อใจ๋ แม่ผง พ่อถึง และแม่นางเป็ง ทั้ง ๔ ครอบครัวเป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้านสันสลี ต่อมาก็ได้ก่อสร้างโรงเรียน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ ก่อสร้างวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ และก่อสร้างฌาปนสถานชุมชน สันสลี - ศรีบุญยืน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ จนถึงปัจจุบัน บ้านสันสลี เดิมเป็นป่าไผ่บงพงทึบมีป่าไม้ต่าง ๆ แน่นหนา เช่น มีไม้สักทองมากมาย ป่าใหญ่โตมากเต็มไปด้วย ต้นโพธิ (ไม้สลี) เพราะในป่าที่นี้ไม่มีทางคนเดิน การไปมาหาสู่กันก็ยากเย็นมาก มีแต่ทางสัตว์ป่า และเก้งกวาง และเนื้อทราย เสือก็มี เป็นทางควายต่างหมู่บ้านไกล ๆ ที่หลงมาเท่านั้น บางทีโดนเสือเอาไปกินก็มี เมื่อคนเราจะไปทางไหนก็ดั้นด้นไปตามทางในป่านั้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘–๒๔๗๙ก็มีคนมาแผ้วถางเข้ามาอยู่ในบ้านสันดอนนี้เป็นครั้งแรก มี ๔ ครอบครัว คือ ๑. พ่อลุงผัด แม่ยอย ๒. พ่อน้อยถา แม่สุข แก้วรากมุข (จากบ้านห้วยน้ำราก) ๓. พ่อใจ๋ แม่ผง สิงห์คำ ๔. พ่อถึง แม่นางเป็ง ทั้ง ๔ ครอบครัวนี้มาเป็นหลักเป็นฐาน ต่อมาก็มีคนต่างบ้านต่างเมืองเข้ามาหาที่ทำกิน เพราะเห็นว่าสันดอนที่นี่เหมาะสมที่จะเป็นที่ทำกิน ก็พากันมาอยู่มาจับจอง เมื่อบ้านเรากำลังตั้งใหม่นั้น จะเลี้ยงหมู หมา ไม่ได้เลย เวลากลางคืนพอเผลอก็จะโดนเสืออุ้มไปกินเสีย คนมาอยู่ครั้งแรกก็ลำบากเสี่ยงกับสัตว์ร้ายบ้าง มีงูใหญ่เอาไก่ไปกินกับสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ด้วย ต้องระวังอยู่เสมอ เวลานอนตอนกลางคืนก็ได้ยินเสียงสัตว์ป่าร้อง เสียงโอ๊กอ๊าก และ หวิว ๆ ดังตลอดคืน เมื่อมีคนเข้ามาจับจองเข้ามาอยู่กันเรื่อย ๆ ก็เริ่มมีบ้านมากขึ้น คนต่างบ้านต่างเมืองอื่นเข้ามาอยู่ก็มี เช่น บ้านถ้ำ บ้านป่าแฝเหนือ ก็มี เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๖ – ๒๔๘๗ คนต่างบ้านต่างเมืองก็เข้ามาอีก บ้างก็มาพักอยู่บ้านด้าย บ้านศรีบุญยืน หลาย ๆ เดือนก็เข้ามาอยู่สันสลีของเราก็มีมากขึ้นเรื่อย ๆ มาจากลำพูน เขียงใหม่ เข้ามาอยู่อีกก็มีบ้านเรือนมากขึ้นพอสมควร เมื่อชาวบ้านมีมากขึ้น เวลาจะไปมาหาสู่กันก็ไม่สะดวกสบาย เราจะไปบ้านใดก็ยากลำบาก เมื่อถึงเทศกาลวันเข้าพรรษา หรือวันพระ การจะไปทำบุญก็เดินไปมายาก เวลานั้นชาวบ้านเราร่วมทำบุญร่วมกับวัดศรีบุญยืน มีพระอธิการ จันทร์ กาวิโล เป็นเจ้าอาวาส ชาวบ้านสันสลีเราทั้งหลายก็ไปทำบุญร่วมสร้างวัดศรีบุญยืนจนเรียบร้อยหมดมีทั้งกุฏิ พระวิหาร และโบสถ์ พร้อมทุกอย่าง แต่ทางเดินไปมาหาสู่กันและไปทำบุญทำทานถนนก็ไม่มีเป็นอันลำบากมากไกลก็ไกล ตอนเวลาหน้าฝน ในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ก็มีน้ำท่วมทางเดินเปียกลื่นน้ำไปหมด ตลอดจนถึงพระเณรที่พ่อแม่อยู่บ้านสันสลีเรานี้ที่ไปบวชเรียน การไปมาหาบ้านหรือตอนรับบิณฑบาตรก็ลำบากเปลือยกายข้ามน้ำมาหาบ้าน และเวลากลับก็เปียกหมดเลย เมื่อก่อนทางเดินของเราเป็นทางลัดตรง มีหนองน้ำขวางกั้น หน้าฝนก็ท่วมทางเดิน ทางซ้ายมือที่เราไปศรีบุญยืนเรียกว่า หนองอ้อ น้ำลึกมาก มีต้นโสนมากมาย เป็นที่อยู่ของนกต่าง ๆ ชาวเหนือเราเรียก “ต้นโสน”นั้นว่า “หญ้าฮองแฮง” แล้วมีอีกหนองหนึ่งอันนี้เรียกว่า “หนองกอเหมือด” เพราะมีต้นเหมือด พอถึงหน้าหนาวก็ดอกบานหอมเป็นป่าดง มีนกมากมายมาอยู่ที่นี่ บึงทั้งสองนี้มีสันดอนกั้นกลางหนองบึงทั้งสอง ขาวบ้านศรีบุญยืนก็เลือกเอาสันดอนนี้เป็นสุสานตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อบ้านสันสลี มีบ้านเรือนมากขึ้น ผู้เฒ่าผู้แก่ก็ประชุมกันว่าเด็กของเราไปโรงเรียนก็ไกลบ้าน ทางก็ไม่ดีสงสารเด็ก ๆ เป็นห่วงมาก เมื่อก่อนนั้นโรงเรียนศรีบุญยืนไม่มี เด็ก ๆ ก็พากันไปเรียนที่แม่คำน้ำลัด ต้องข้ามเรือที่ท่าน้ำแม่คำอีกต่อหนึ่ง ต่อมาเมื่อโรงเรียนศรีบุญยืนตั้งขึ้นก็ไปเข้าโรงเรียนศรีบุญยืนกัน แล้วชาวบ้านของเราก็ขอร้องตั้งโรงเรียนขึ้น ก็พากันหาที่ตั้งโรงเรียนก็มีดอนนาที่เหมาะพอสมควรก็พากันหาไม้มาทำเป็นตูบแบบคอกควาย มุงหลังคาด้วยหญ้าแฝก ฝาสร้างด้วยไม้ไผ่ โต๊ะนั่งนักเรียนก็ไม้ไผ่ทั้งสิ้น ก็พอเป็นโรงเรียนได้ ก็เปิดเรียนขึ้นเมื่อ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๐๑ มีนักเรียน ชาย – หญิง รวม ๔๕ คน หาครูมาสอน ครูคนแรกคือ อาจารย์ผล เป็นคนมาจากลำพูน เมื่อมีโรงเรียนแล้ว ชาวบ้านก็สบายใจและยินดีหาที่สุดไม่ได้ ต่อมาก็ประชุมกันอีกปรึกษาหารือทั้งหมู่บ้าน แล้วพร้อมใจกันว่าเราไม่มีวัดเราน่าจะหาที่ตั้งวัด เพราะเราไปทำบุญที่วัดศรีบุญยืน ต้องตื่นแต่เช้า เพราะถ้าเราตื่นสายจะไม่ทัน ดังนั้นเราจะหาที่ใดดีที่พอจะเหมาะสร้างเป็นวัดได้ พ่อหนานตา ภิระบรรณ์ ยกมือขึ้นว่า”ผมมีที่สันดอนที่ทางตะวันตก พอจะถวายเป็นที่ของวัดได้” ก็ตกลงกันไปดู ก็เห็นเหมาะสมดี ก็พร้อมใจกันพัฒนา ที่ พ่อหนานตา แม่คำแปง ภิระบรรณ์ ถวายขึ้นเป็นที่วัด ก็มาสร้างกุฏิ สร้างศาลาทำบุญ เรียกว่าวิหารไม้ไผ่ ฝาไม้ไผ่ ตอนนั้นคณะสงฆ์ยังไม่มีกฎห้ามใครจะตั้งวัดที่ใดก็ได้ เราก็ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ ก็ไปนิมนต์พระคำแหว้น คณ, ธิโย จากวัดศรีบุญยืนมาอยู่ ทางคณะสงฆ์ให้หาชื่อวัด เราพร้อมใจกันว่าวัดจองเรามีต้นโพธิ (ไม้สลี) มาก ก็เลยตั้งชื่อว่า “วัดสันสลี” และหมู่บ้านว่า “บ้านสันสลี” ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ ต่อมาเทื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ บ้านสันสลี ทางทิศตะวันตกก็แยกหมู่บ้านไปเข้ากับ บ้านป่าก๋อยเขตแม่สาย สมัยนั้นยังเป็นตำบลโป่งผาอยู่ ต่อมาก็เปลี่ยนเป็น ตำบลห้วยไคร้ ถึง พ.ศ. ๒๕๒๒ บ้านสันสลีเขตแม่สาย ก็ได้ตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้น คนแรกคือ พ่อหลวงพุฒ สุมัชยา เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๑๕ ตำบลห้วยไคร้ เป็นจนมาถึง พ.ศ. ๒๕๒๗ ก็ลาออก ก็ได้แต่ตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นมาใหม่ คนที่ ๒ คือ พ่อหลวงสวัสดิ์ ปันเขื่อนขัติ แล้วก็เปลี่ยนจากตำบลห้วยไคร้มาเป็นตำบลบ้านด้าย พ่อหลวงสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งจนกระทั่งปลดเกษียน แล้วมาตั้งพ่อหลวงคนใหม่ คนที่ ๓ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ คือ พ่อหลวงมานพ สุริยาศักดิ์ ก็ได้ดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน ทิศตะวันตก คือ แม่สาย ทิศตะวันออก คือ เชียงแสน ทั้ง ๒ ทิศนี้ คือพี่น้องกัน เดิมมาจากที่เดียวกัน บ้านเดียวกัน ไม่ขัดแย้งอะไรกันเลย เมื่อก่อนนั้นบ้านสันสลีเขตเชียงเสน ขึ้นอยู่กับ หมู่ ๑๘ ศรีบุญยืน มีพ่อหนานทิพย์ เตมีศักดิ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน หลังจากนั้นบ้านสันสลีก็แยกมาตั้งผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๑ คือ พ่อหลวงบุญมี ชัยยา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ บ้านของเราเป็นหมู่ที่ ๑๘ ตำบลป่าสัก เมื่อผู้ใหญ่บ้านได้ลาออกไป จึงได้แต่งตั้งขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ ก็ได้ตั้งพ่อหลวงอิ่นแก้ว กัลยาณะกูล เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑๘ แล้วผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๒ ก็ได้ลาออกไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ จึงได้แต่งตั้ง พ่อหลวงสุพัฒน์ ขาเลศักดิ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๓ ก็เปลี่ยนจากหมู่ ๑๘ มาเป็นหมู่ ๔ จากตำบลป่าสักมาเป็นตำบลศรีดอนมูล เมื่อพ่อหลวงสุพัฒน์ ขาเลศักดิ์ได้ลาออกไป ก็มาตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นใหม่เป็นคนที่ ๔ คือ พ่อหลวงเจริญ ทาเจริญศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ มาจนถึง พ.ศ. ๒๕๕๐ ก็ได้มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๕ ขึ้นมา คือ นายสิทธิเดช อุดมเดช ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งเรื่อยมา เมื่อบ้านสันสลีของเราเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ก็มีการสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นภายในหมู่บ้าน เช่น ฉางข้างและร้านค้าสาธิต แล้วหาที่สร้างอนามัยขึ้นในหมู่บ้านสันสลีของเรา ให้บริการชุมชน ในละแวกนี้ แล้วมีศูนย์ประชุมของหมู่บ้านขึ้นอีก แล้วช่วยกันสร้างวัดของเราให้เทียบเท่าบ้านอื่น
คำสำคัญ
อื่นๆ
หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
หมู่บ้านสันสลี
หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล ศรีดอนมูล อำเภอ เชียงแสน จังหวัด เชียงราย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางสาวทัศนีย์ ดอนเนตร
บุคคลอ้างอิง นายสิทธิเดช อุดมเดช
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย อีเมล์ chiangrai@m_culture.go.th
เลขที่ ๖๒๓ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล ริมกก อำเภอ เมืองเชียงราย จังหวัด เชียงราย
โทรศัพท์ ๐๕๓-๑๕๐๑๖๙ โทรสาร ๐๕๓-๑๕๐๑๗๐
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/chiangrai/v2010/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่