ตำนานผีฟ้าการฟ้อนรำตำนานผีฟ้า (หมอลำเญา) ที่เป็นเอกลักษณ์พื้นบ้านอีสาน คือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวอีสาน เป็นภูมิปัญญาแห่งบรรพชน ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา จวบจนปัจจุบัน ชนชาติใดมีประเพณี-ดนตรี มีการฟ้อนรำ – การละเล่น ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ชนชาตินั้นมีวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง บทความเกี่ยวกับการฟ้อนรำตำนานการลำผีฟ้า (ลำหมอเญา) พื้นบ้านอีสานนี้ โดยมากได้รับความอนุเคราะห์ ข้อมูล และรูปภาพจาก แม่ครู บุคคลใกล้ชิดแม่ครู กระทั้งจากหลายๆฝ่าย ข้าพเจ้าในนาม “เลขาธิการสภาวัฒนธรรมตำบลผึ่งแดด” ขอแสดงความขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ ในส่วนการฟ้อนรำตำนานผีฟ้า ( หมอเญา) ของชาวตำบลผึ่งแดดนั้น ข้าพเจ้าอาศรัยความเข้าใจน้อยนิดอาจจะขาดไปบางช่วง บางตอน เพื่อรวบรวมข้อมูล และเรียบเรียงขึ้นมา ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ที่จะรวบรวมศิลวัฒนธรรม – ประเพณี ด้านการฟ้อนรำ “การลำตำนานผีฟ้า” ของชาวตำบลผึ่งแดดในเชิงข้อมูล เพื่อจูงใจให้ได้ศึกษาค้นคว้านำไปอ้างอิงเผยแพร่ได้อย่างถูกต้องเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม – ประเพณี - เอกลักษณ์ของท้องถิ่น ภูมิปัญญาของชาวอีสาน และชาวตำบลผึ่งแดด สืบไป ตำนานผีฟ้า ผีฟ้า (หมอเหยา) ผีฟ้า คือคำเรียก เทวดา ของชาวไทยในภาคอีสาน และภาคเหนือ เป็นการบูชาแบบพื้นบ้านที่มีการนับถือผีกัน คนที่เป็นร่างทรงของผีฟ้าจะสืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นในลูกๆ ที่เป็นผู้หญิง เมื่อมีคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ชาวบ้านมักนำมาให้ผีฟ้าเสี่ยงทาย และช่วยรักษา ผีฟ้าจึงเป็นประเพณีอีกอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องของไสยศาสตร์ และการทรงเจ้าเข้าผีของสังคมดั้งเดิมของคนไทยตำนานผีฟ้าชาวอีสานมีความเชื่อถือต่อ "ผี" มาก เพราะมีความเชื่อว่าเหตุที่เกิดเภทภัยเจ็บไข้ได้ป่วย น้ำท่วม ฝนแล้งนาล่ม หรือพืชพันธุ์ ธัญญาหารเหี่ยวแห้ง เป็นสิ่งที่เกิดมาจากอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของผีสางเทวดาทั้งสิ้น พวกเขาจึงเซ่นไหว้บวงสรวงผีต่างๆ และมีสิ่งที่หน้าสังเกตคือ ทุกครั้งที่มีการเซ่นไหว้เป็นประจำทุกๆ ฤดูกาล แล้วจะเกิดแต่ความสุขไปทั่ว ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยก็หาย ข้าวกล้าในนาก็อุดม สมบูรณ์ดี และการที่มีคติความเชื่อดังกล่าวนี้ ก็ทำให้เกิดประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีหลายลักษณะและพิธีบูชา “ผีฟ้า” และ “ผีน้ำ”ก็เป็นอีกพิธีหนึ่ง “ผีฟ้า หรือ ผีแถน ”นั้น ชาวอีสานมีความเชื่อว่าเป็นเทวดามากกว่าเป็นผี ผีฟ้าจึงเป็นผีที่อยู่ระดับสูงกว่าผีชนิด อื่นๆ ส่วน แถน นั้น มีความเชื่อว่าเป็นคำเรียกรวมถึงเทวดา และแถนที่ใหญ่ที่สุดคือ "แถนหลวง" ซึ่ง เชื่อว่าเป็นพระอินทร์ ผีฟ้าหรือผีแถนนั้นแต่ละพื้นที่มีการเรียกที่แตกต่างกันไป และมีความเชื่อว่า ผีฟ้า นั้นสามารถที่จะ ดับยุคเข็ญหรือทำลายล้างอุปสรรคทั้งปวงได้ และสามารถที่จะช่วยเหลือมนุษย์ที่เดือดร้อนได้ การที่มนุษย์เกิดการเจ็บป่วยนั้นเนื่องจากไปละเมิดต่อผี การละเมิดต่อบรรพบุรุษ การรักษาต้องมีการเชิญผีฟ้ามาสิงสถิตอยู่ในร่างของคนทรง เรียกว่า "ผีฟ้า นางเทียน" ในการลำผีฟ้าของชาวอีสานนั้นมีองค์ประกอบ ทั้งหมด ๔ ส่วนคือ หมอลำ ผีฟ้า หมอแคน ผู้ป่วย และเครื่องคาย หมอลำผีฟ้า จะ เป็นผู้หญิงที่มีอายุหรือบางท้องถิ่นจะเป็นผู้หญิงสาว โดยเฉพาะที่ตำบลผึ่งแดดและจะต้องสืบเชื้อสายมาจาก กลุ่มหมอลำผีเท่านั้น แต่ที่จริงผีฟ้าสามารถสิงได้ทั้งหญิง ชาย และเด็ก โดยไม่จำกัดอายุ หมอแคน (หมอม้า) จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการเป่าแคนมาเป็นอย่างดี เพราะในการประกอบพิธีจะต้องใช้ ๔ เวลานาน จะต้องมีการเป่าอยู่ตลอดเวลา ส่วนผู้ป่วยนั้น จะต้องแต่งกายตามที่ได้กำหนดไว้ คือ มัดผ้าสีแดงที่ศรีษะ มีผ้าไหมหรือผ้าขาวม้าพาดบ่า มีดอกจำปาขาว-แดง ซึ่งตัดร้อยเป็นพวงทัดหู ผู้ป่วยนั้นสามารถที่จะฟ้อนรำกับหมอลำได้.. และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ เครื่องคาย เป็นสิ่งที่อัญเชิญครูอาจารย์ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมาช่วยเหลือ รักษาผู้ป่วยในการรำผีฟ้านั้น จะมีความแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เมื่อครูบาเก่าเข้าสิงร่าง ผู้ทำพิธีจะต้องสวมผ้าซิ่นทับผ้าที่สวมอยู่ (กรณีที่ผู้ป่วยเป็นชาย) หรือถ้าผู้ป่วยเป็นผู้หญิงครูบาจะสวมผ้าแพรหรือผ้าฝ้าย โดยสวมทับผ้านุ่งเดิม ซึ่งจะจัดไว้อยู่ใกล้เครื่องคาย ในการรักษาทุกคนจะต้องฟ้อนรำ กันทุกคน และขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยต้องการดูการฟ้อนรำก็จะทำหน้าที่ต่อไป แต่ถ้าไม่ต้องการ ครูบาก็จะนำเครื่องคายขึ้นไปเก็บบนหิ้ง และจะมาร่วมกันรับประทานอาหารความ เชื่อของชาวอีสานเชื่อว่า ผีฟ้าสามารถที่จะกำหนดการเกิดการตายของมนุษย์ได้ การที่มนุษย์ตายไปขวัญจะออกจากร่าง เพื่อไปพบบรรพชน แต่ขวัญจะไม่แตกดับเหมือนร่าง เป็นเพียงการจากไปของร่างแต่วิญญาณยังคงอยู่กับผู้มีชีวิต สาเหตุที่มีการฟ้อนรำกันนั้น ก็เพื่อเป็นการทำให้คนไข้มีพลังจิตในการต่อสู้กับการเจ็บป่วย มีอารมณ์ผ่อนคลาย ความตึงเครียด จิตใจปลอดโปร่ง ไร้วิตกกังวล และสร้างจิตสำนึกด้านความกตัญญู เป็นคตินิยมของวัฒนธรรมไทย ซึ่งได้สืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็น ประเพณี จะเห็นว่าผีฟ้านั้น เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์ โดยมีคติเตือนใจว่า "คนไม่เห็น ผีเห็น" สำหรับ ทุกวันนี้ การรำผีฟ้าของบางจังหวัดดูจะเสื่อมคลายลงไป เพราะความเจริญเทคโนโลยี แต่สำหรับชาวบ้านผึ่งแดด ชาวตำบลผึ่งแดดยังยึดมั่นและยึดถืออย่างเหนียวแน่ กระทั้งนำพามาสู่การเป็น “ตำนานการฟ้อนรำ - การลำผีฟ้า ”ชาวอีสานบางกลุ่ม การกระทำพิธีกรรมเกี่ยวกับผีฟ้า ไม่ใช่เป็นสิ่งงมงายเหลวไหลหรือไร้สาระสิ้นเชิง เสียทีเดียว. ๕ ทำเนียบนามครูผู้สืบทอดภูมิปัญญาตำนานลำผีฟ้า ที่ให้ข้อมูล ลำดับที่ ชื่อ -- สกุล บ้านเลขที่ หมู่ที่ อายุ ข้อมูลทั่วไป หมายเหตุ ๑.คุณย่าเขียน สุพร ๖ - แม่ครูใหญ่ ( เสียชีวิตแล้ว ) ๔๐ ปี ๒.คุณย่าจอน สุพร ๗๙ ๒๙๔ แม่ครู (ตำนานลำผีฟ้า) ผู้สืบทอด ๓.คุณยายสีดา สุพร ๗๘ ๒ ๘๗ ผู้ร่วมประกอบพิธีกรรม ผู้ให้ข้อมูล ๔.คุณแม่วาสนา สุพร ๓๒ ๒ ๖๗ ผู้ร่วมประกอบพิธีกรรม ผู้ให้ข้อมูล ๕.คุณลุงฉวี ราชวงค์ ๒๗ ๒ ๕๗ หมอแคน (หมอม้า) ผู้ให้ข้อมูล ๖.ชาวบ้านผึ่งแดด ๑-๒ ผู้ร่วมเสวนา (ตำนานลำผีฟ้า) ผู้ให้ข้อมูล “ตำนานการลำผีฟ้า” ของชาวบ้านผึ่งแดด หมู่ที่ ๑ – ๒ และชาวตำบลผึ่งแดด แม่ครูจอน สุพร จะเป็นผู้บอกกล่าวถึงเรื่องราวการขอขมาต่อผีฟ้า – ผีแถน – ผีฟ้า และกำหนดการบวงสรวงประมาณในขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ (เดือนเมษายน) หรือไม่เกิน ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี ก่อนการต้อนรับตรุษสงกรานต์ (วันปีใหม่ของชาวไทย) พอถึงช่วงบวงสรวงบูชาก็จะมีการเตรียมพิธี ลูกแม่หมอ ลูกแม่ครูจอนก็จะทยอยกันมาตั้งแต่เช้าเพื่อมาตั้งเครื่องคายประกอบพิธีบวงสรวงบูชาผีฟ้า หรือผีแถน ผีน้ำ อันประกอบไปด้วย “ หมอนคริบ ๑ ลูก เงินค่าตั้งคาย ๔ บาท ๔ สตางค์ ไข่ไก่บ้าน ๑ ฟอง ดอกจำปาเล็ก( ลั่นทม) เทียน ผ้าซิ่น ๑ ผืน ผ้าขาวม้า ๑ ผืน ( ซิ่นผืนแพร่วา) ประกอบกันเป็นขัน ๕ ” มาตั้งเครื่องคายในวันนั้น พร้อมกับการร่วมประกอบพิธี อัญเชิญผีฟ้า หรือ ผีแถน และผีน้ำมาสิงสถิต (เข้าทรง) เพื่อเป็นการขอขมาบวงสรวง และบูชา เริ่มการลำผีฟ้าตลอดทั้งวัน จนพิธีกรรมไปเสร็จสิ้นอาประมาณ ๑๙.๐๐ นาฬิกา ก็จะบอกกล่าวลาส่งผีทั้งหลายกลับไปที่เดิม กล่าวคำบอกลาครู สู่ขวัญ ผู้แขน ให้กันและกัน บอกกล่าวกันว่า.. “ ให้อยู่ดีมีแฮงเด้อ”............ ประวัติความเป็นมาของบ้านผึ่งแดด หมู่ที่ ๑-๒( หอปู่ตา ปู่เจ้าเหมคักดิ์หลักบ้านหลักเมือง) .............ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมา บ้านผึ่งแดด หมู่ที่ ๑ – ๒ ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ก่อตั้งเมื่อประมาณ ๒๗๘ ปีถึงปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๕ เป็นชาวลาวโซ่ (หรือลาวซ่ง) อพยพมาจากสองหมู่บ้าน กลุ่มหนึ่งอพยพมาจากบ้านเดื่อวัวแดง แขวงจำปาสัก ประเทศลาว และอพยพมาจากบ้านตากแดด แขวงสวรรณเขต ประเทศลาว กลุ่มแรกโดยการนำของนายวงค์จันทรา สุพร เป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้านพร้อมกับกลุ่มที่ สอง คนกลุ่มใหญ่อยู่กันเป็นหมู่คณะย่อมเกิดปัญหา กลุ่มที่สองจึงได้แยกตัวเองอกไปทางทิศตะวันตกประมาณ ห้ากิโลเมตรและได้แยกกันตั้งหมู่บ้าน โดยตั้งชื่อหมู่บ้านเดิม ว่า บ้านตากแดด กลุ่มที่สองตั้งชื่อว่า บ้านหัวขัว ชาวบ้านสมัยก่อนมักเรียกว่า “ ตากแดด หัวขัว” หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อใหม่บ้าน บ้านผึ่งแดด และได้ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลผึ่งแดดจนถึงปัจจุบัน มีผู้นำปกครองหมู่บ้านตั้งแต่อดีด จนถึงปัจจุบัน ดังนี้ ๑. นายวงค์จันทรา สุพร (กำนันตำบลผึ่งแดดคนแรก) ๒. นายแก้ว ศรีหาวงค์ (กำนันตำบลผึ่งแดด) ๓. นายสุวรรณะ สุพร (กำนันตำบลผึ่งแดด) ๔. นายสงค์ จันทรสาขา (กำนันตำบลผึ่งแดด) ๕. นายโสม สุพร (กำนันตำบลผึ่งแดด) ๖. นายออ่นดี ไวว่อง (ผู้ใหญ่บ้าน) ๗. นายดำรงศักดิ์ สุพร (ผู้ใหญ่บ้าน) ๘. นายสุรชาติ สุพร (กำนันตำบลผึ่งแดด ตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ – ปัจจุบัน