ผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมือง ผ้าย้อมคราม โดยกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านนายาง
บ้านนายาง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา : เนื่องจากผ้าฝ้ายย้อมครามเป็นการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษจะมีความรู้ความสามารถที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาแต่ครั้ง ปู ย่า ตา ยาย โดยการทอผ้าด้วยมือไว้ใช้เองและเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูไท บ้านนายาง ซึ่งเรียกว่าผ้าฝ้ายย้อมครามซึ่งแต่เดิมจะเย็บด้วยมือ เป็นเสื้อผ้าสวมใส่สำหรับผู้หญิงส่วนผู้ชายจะทอเป็นผ้าขาวม้าใส่นุ่งแบบโจงกะเบน หรือผ้าเตี่ยว การทอผ้าฝ้ายได้จากนวลของดอกฝ้ายที่บานเต็มที่นำมากรอหือเข็นเป็นเส้นฝ้าย และย้อมน้ำคราม และนำมาทอเป็นผ้า สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันจึงเกิดการรวมกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติขึ้นเพื่อทอผ้าจำหน่ายเป็นรายได้เสริมจุนเจือครอบครัวอีกทางหนึ่งได้แก่ ผ้าพื้นเมือง ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าพันคอ ผ้ามัดหมี่ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ
วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตผ้าพื้นย้อมคราม
ในการผลิต ผ้าย้อมคราม ต้องอาศัยวัสดุที่สำคัญ ๆ ดังนี้
๑. ฝ้าย ถือว่าเป็นวัสดุหลักในการผลิตผ้าย้อมคราม ฝ้ายที่ผลิตจะเป็นการปลูกของชาวบ้านและกลุ่มสมาชิกสตรีทอผ้า ฝ้ายที่ได้จะได้มาจากนวลฝ้ายที่บานเต็มที่แล้ว เก็บนวลฝ้ายที่ปลูกในไร่ ดอกฝ้ายที่บานเต็มที่จะแตกเป็นฝ้ายสีขาวเก็บมาจากต้นฝ้ายแล้วจึงจะนำมาตีฝ้ายให้ละเอียดแล้วค่อยปั่นเป็นฝ้าย
ภาพที่ ๑ ฝ้าย
๒. ต้นคราม ครามเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือครามบ้านและครามป่า แต่ที่ใช้ทำครามเป็นครามบ้าน ครามป่าไม่ใช้เพราะย้อมผ้าไม่ได้ ครามบ้านมีขนาดสูงตั้งแต่ 1 เมตร ถึง 1 เมตรครึ่งลักษณะของใบเล็กคล้ายๆ ใบมะขามเมื่อครามอายุได้ประมาณ 3 เดือนครามก็จะออกดอกแสดงว่าครามแก่เต็มที่แล้ว ตัดต้นครามมาม้วนและมัดเป็นฟ่อนๆ นำเอาไปแช่น้ำไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ประมาณ 2 – 3 วันจนใบครามเปื่อย จากนั้นแก้มัดครามหลุดออกจากลำต้นนำลำต้นออกทิ้ง เอาปูนขาวในอัตราส่วนพอเหมาะกันกับน้ำที่แช่ครามใส่ผสมลงไปในภาชนะนั้นแทนต้นคราม นำเอาขี้เถ้า (ได้จากเหง้ากล้วยเผาจนดำ) มาผสมลงไป 2 – 3 คืนจนกว่าน้ำที่กวนใส รินน้ำที่ใส่ออกให้หมดให้เหลือเนื้อครามก็จะได้น้ำสีตามสีต้องการ (ถ้าจะให้เนื้อครามนี้ละเอียดควรใช้ผ้าขาวบางกรองอีกทีหนึ่ง) เมื่อได้น้ำสีแล้วนำฝ้ายไปขยำในหม้อคราม ให้น้ำสีกินเข้าไปในเนื้อฝ้าย เมื่อเห็นว่าได้สีตามต้องการแล้วจึงเอาขึ้นจากหม้อครามบิดให้หมาดนำไปล้างในน้ำสะอาดนำไปเข้าราวแตกแดดให้แห้ง
ภาพที่ ๒ ต้นคราม
๓. กะเผดตีฝ้าย มีลักษณะเป็นไม้คล้ายคันธนูมีเส้นเอ็นมัดทั้งสองด้านให้ตึง จะมีไม้เล็กๆ ขนาดสั้นๆ ไว้สำหรับใช้ตีฝ้ายให้ละเอียด โดยการนำฝ้ายที่เก็บจากต้นตากให้แห้งจึงนำฝ้ายมาใส่ในกระบุงจึงใช้กะเผดและไม้ดีดดีดให้ฝ้ายละเอียด
ภาพที่ ๓ กะเผดตีฝ้าย
5. กะบุงใส่ฝ้าย ไว้สำหรับใส่ฝ้ายที่ตากให้แห้งเพื่อใช้เป็นที่รองฝ้ายไม่ให้เปื้อนและไม่ให้ฝ้ายปลิวในระหว่างที่ใช้กะเผดตีฝ้ายใช้ตีฝ้ายให้ละเอียด
ภาพที่ ๓.๑ ที่ใส่ฝ้ายสำหรับตี
๖. แป้นม้วนฝ้าย (ล่อฝ้าย) และไม้ม้วนฝ้าย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับม้วนฝ้ายที่ตีให้ละเอียดเรียบร้อยแล้วเพื่อม้วนให้ฝ้ายเป็นหลอดยาว สำหรับที่จะปั่นให้เป็นเส้นด้ายต่อไป
ภาพที่ ๖ แป้นม้วนและไม้ม้วนฝ้าย
๗. เครื่องกรอฝ้าย ใช้สำหรับกรอฝ้ายให้เป็นเส้นด้ายโดยการใช้ฝ้ายที่ม้วนมากรอยืดให้เส้นด้ายเป็นเส้นยาวๆ ด้ายที่สำเร็จก็จะเป็นเส้นด้ายที่ยาวเป็นม้วน
ภาพที่ ๗ เครื่องกรอฝ้าย
๘. ขาเปียฝ้าย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเรียงเส้นด้ายให้เป็นม้วนไว้ใช้สำหรับทอหรือมัดหมี่
ภาพที่ ๘ ขาเปียฝ้าย
๙. กงและขากง เป็นอุปกรณ์ที่จะม้วนฝ้ายเพื่อที่จะนำฝ้ายที่ม้วนไปทอ
ภาพที่ ๙ กงและขากง
๑๐. อักกวักฝ้ายและไม้คอนอัก (หางเห็น)
ภาพที่ ๑๐ อักกวักฝ้าย (หางเห็น)
๑๑. หลา ใช้สำหรับปั่นฝ้ายที่อักกวักฝ้ายใส่ไว้ในหลอดเอาไว้สำหรับทอผ้าเป็นผืน
ภาพที่ ๑๑ หลา
๑๒. หม้อ ใช้สำหรับทำน้ำครามไว้ย้อมผ้าคราม
ภาพที่ ๑๒ หม้อ
๑๓. กี่ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการทอผ้า กี่เป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมเป็นแบบในการทอผ้าเป็นผืนใช้ด้ายที่ทำเป็นแบบเสร็จแล้วมาวางพาดพร้อมที่จะทำเป็นผืนผ้า
๑๔. หูกทอผ้า เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการทอผ้า ผ้าที่จะสำเร็จได้จะต้องใช้หูกในการกระทบฝ้ายให้ชิดกันทำให้ฝ้ายเป็นรูปร่างตามที่เรามัดหมี่ไว้
๒ ขั้นตอนการทำผ้า
๑. นำฝ้ายดิบจากต้นฝ้ายที่พร้อมจะทำเส้นด้าย นำมาตากแดดให้แห้ง
๒. นำฝ้ายที่ได้มาดีดเพื่อให้ฝ้ายละเอียด
ภาพที่ ๒ การตีฝ้าย
๓. เมื่อได้ฝ้ายจากการตีให้ละเอียดแล้วนำฝ้ายที่ได้มาม้วนให้เป็นม้วนเล็กๆ
ภาพที่ ๓.๑ ฝ้ายที่กำลังจะม้วน ภาพที่ ๓.๒ ฝ้ายที่ม้วนใกล้เสร็จ
ภาพที่ ๓.๓ ฝ้ายที่ม้วนเสร็จแล้ว
๔. นำฝ้ายที่ม้วนเสร็จแล้วมาปั่น หรือกรอฝ้ายให้เป็นเส้นด้าย
ภาพที่ ๔.๑ ฝ้ายที่กรอเป็นเส้นด้าย ภาพที่ ๔.๒ การกรอฝ้ายเป็นเส้นด้าย
๕. เมื่อปั่นฝ้ายเป็นเส้นด้ายมากพอแล้วจะใช้ขาเปียฝ้ายมาเปียฝ้ายเพื่อจะเรียงด้ายให้เป็นระเบียบและทำเป็นม้วนใหญ่ไว้สำหรับใช้งานต่อไป
ภาพที่ ๕ การเปียฝ้าย
๖. เมื่อเปียฝ้ายเสร็จเรียบร้อยแล้วจะนำฝ้ายที่ได้มาม้วนกันเป็นม้วนหนึ่ง ด้ายที่ได้จะนำไปมัดหมี่หรือย้อมครามเลยก็ได้หรือจะเก็บด้ายไว้ก่อนก็ได้ถ้ายังไม่ได้ทำอะไร สำหรับด้ายที่จะนำไปทำเป็นผ้าจะต้องนำฝ้ายที่ย้อมครามหรือมัดหมี่มาใส่ไว้ที่กง เพื่อที่ใช้อักนั้นกวักฝ้ายไว้ก่อน
ภาพที่ ๖.๑ นำฝ้ายมาใส่ไว้ในกง ภาพที่ ๖.๒ นำอักมากวักฝ้าย
๗. เมื่อกวักฝ้ายหมดม้วนหนึ่งแล้วก็จะเป็นขั้นตอนการใช้หลาปั่นด้ายใส่หลอด โดยการใส่หลอดเข้าไปตรงเหล็กแหลมๆ ของหลา จากนั้นน้ำด้ายจากอักมาปั่นใส่หลอดให้เต็มหลอด แล้วค่อยเก็บไว้ไปทอผ้า
ภาพที่ ๗.๑ ปั่นฝ้ายใส่หลอด ภาพที่ ๗.๒ ฝ้ายที่ปั่นใส่หลอดเรียบร้อยแล้ว
๘. นำด้ายที่ปั่นใส่หลอดแล้วมาทอผ้าโดยการใส่หลอดด้ายในกระสวย จากนั้นคนทอผ้าจะใช้กระสวยสอดเข้าไปในผ้าที่อยู่ในกี่การบังคับจะใช้เท้าซึ่งจะใช้เชือกดึงผ้าให้เป็นช่องเพื่อที่จะสอดกระสวยเข้าไปในผ้าได้เมื่อสอดผ่านผ้าแล้วกะจะใช้หูกตำผ้าให้แนบสนิทกันทอไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดหลอดด้ายและจนกว่าแบบของผ้าจะหมดก็จะได้ผืนผ้าหนึ่งผืน พร้อมที่จะนำผ้าไปตัดเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่างๆ
ภาพที่ ๘.๑ ผ้าที่มัดหมี่และย้อมคราม ภาพที่ ๘.๒ ภาพผ้าที่ทอเสร็จไม่ได้ย้อมคราม
ภาพที่ ๘.๓ กระโปรงจากผ้าย้อมคราม
การดูแลรักษา
๑. ควรซักด้วยมือ ถ้าซักด้วยเครื่องซักผ้าควรใช้ความเร็วในการซักปกติ
๒. ควรใช้ผงซักผ้าธรรมดา
๓. ซักเสร็จแล้วควรใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มด้วย
๔. ควรตากในที่ร่ม
๕. การรีดผ้าควรใช้ไฟพอประมาณ
๖. ควรเก็บในตู้ทึบแสงไม่ควรเป็นตู้กระจกใส เพราะแสงจะทำให้ผ้าเสียหาย
๗. ตั้งตู้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวกและใส่การบูร ไปในตู้เสื้อผ้า
สถานที่จำหน่าย
๑. ร้านสินค้า OTOP ชั้นใต้ดินตลาดอินโดจีน จังหวัดมุกดาหาร
๒. งานแสดงสินค้าทั่วไป
ขั้นตอน และวิธีการทำน้ำครามย้อมผ้า
วิธีทำหม้อคราม
๑. ส่วนผสม
- น้ำเปล่า ๔ ขัน
- น้ำดั่ง (ขี้เถ้า) ๒ ขัน
- ปูนขาว ๒ ช้อนโต๊ะ
- น้ำคราม ๔ ขีด
- ถัง หรือ หม้อ ๑ ใบ
- เหล้าขาว ๑ – ๒ ช้อนโต๊ะ
๒. ขั้นตอนวิธีทำ
ขั้นที่ ๑ นำน้ำเปล่า น้ำดั่ง ปูนขาว และน้ำคราม ตามอัตราส่วนที่กำหนด เทรวมลงในถัง
ผสมให้เข้ากัน
ขั้นที่ ๒ เติมน้ำปากหม้อคราม (น้ำเชื้อ) แล้วปล่อยทิ้งไว้
ขั้นที่ ๓ หลังจากนั้นทุกเช้า ให้ตักน้ำในถังน้ำครามขึ้น และเทลงหลายๆ ครั้ง เป็นการผสมให้เข้ากัน
ยิ่งขึ้น หรือ ภาษาถิ่น เรียกว่า โจก โดยทำทุกเช้า และ เย็น (โจกเช้า – โจกเย็น) ทุกวัน
ติดต่อกัน ประมาณ ๗ วัน
ขั้นที่ ๔ เมื่อครบกำหนด ๗ วัน ให้สังเกตน้ำในถัง หรือ หม้อครามจะเป็น สีเหลือง แสดงว่า เป็น
เป็นน้ำครามที่สมบูรณ์ หรือ เรียกว่า หม้อสุก พร้อมที่จะย้อมผ้าฝ้ายได้
**********************************
บุคลากร / ผู้ที่ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ดีเด่นประเภทผ้าพื้นเมือง