พิธีกวนข้าวทิพย์ เป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ
เพื่อระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหตุการณ์ที่นางสุชาดาได้กวนข้าวทิพย์ ในวันขึ้น 14 ค่ำ แล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ 1 วัน โดยถือว่ามีผลานิสงฆ์มาก ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงพร้อมใจกันกวนข้าวทิพย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
ของที่นิยมนำมาใช้ในการกวนได้แก่ นม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล ข้าวตอก ข้าวเม่า ธัญพืช
ต่างๆ ที่คั่วสุก ถั่ว งา ข้าวลูกเดือย เผือก มัน เมล็ดบัว มะพร้าวแก่ มะพร้่าวอ่อน ผลไม้สด ผลไม้แห้ง เช่น มะม่วง กล้วย ทุเรียน ละมุด ลำไย ส้ม ขนุน เป็นต้น ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมเท่าที่จะหาได้หรือปรับปรุงให้มีรสชาติหอมหวาน อร่อยตามความต้องการในแต่ละท้องถิ่น
ในพิธีกวนข้าวทิพย์ต้องจัดเตรียมสิ่งสำคัญ ดังนี้ ปลูกโรงพิธีขึ้น 1 หลัง ให้กว้างใหญ่พอ
สมควร เพื่อตั้งโต๊ะบูชาพระพุทธรูป อาสนสงฆ์ โต๊ะบูชาเทวรูป และที่ซึ่งผู้เข้าร่วมพิธี คือ พราหมณ์ (ผู้ที่มีความรู้ในพิธีกรรม) เทพยดา นางฟ้า นางสุชาดา สาวพรหมจารี ทายก ทายิกา ฯลฯ และก่อเตาตั้งกะทะกวนภายในโรงพิธี จัดหาพายสำกวนกะทะละ 3 เล่ม พิธีกวนข้าวทิพย์ นิยมทำพิธีที่วัด จะทำพิธีตอนเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เมื่อก่อนจะถึงเวลากวน จะมีพิธีพราหมณ์และพิธีสงฆ์รวมกัน และจะทำพิธีกวนจนเสร็จในวันเดียว พอรุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะทำพิธีถวายเป็นพุทธบูชา ถวายพระสงฆ์และแจกจ่ายผู้ร่วมพิธีหรือบุคคลทั่วไป
ข้าวทิพย์มธุปายาสนี้เชื่อกันว่า เมื่อทำครบถ้วนตามพิธีแล้ว จะเป็นสิริมงคลแก่ผู้ทำและผู้
บริโภค ผู้ที่ได้บริโภคข้าวทิพย์แล้วจะประสบสิ่งที่เป็นมงคล
โดย วัฒนธรรมอำเภอลาดบัวหลวง