โดยทั่วไปจะพบคำว่า กลองปูจา แต่ภาษาทางเหนือออกเสียงว่าปู๋จา หรือปู่จา ซึ่งหมายถึงบูชา และเสียงทางภาคเหนือโดยรวมคือ ก๋องปู๋จา ซึ่งหมายถึงชุดกลองทางเหนือประกอบด้วยกลองที่มีขนาดใหญ่ขึงด้วยหนังสองหน้า ลักษณะการตรึงหนังใช้หมุดไม้ (แส้ไม้) สำหรับกลองเล็กในชุดมี 3 ใบ ขึงด้วยหนังสองหน้าและตรึงด้วยหมุดไม้เช่นกัน (กลองหลายชนิดจะตรึงหนังด้วยเชือกหนังอย่างกลองแขก) รูปร่างลักษณะแต่เดิมนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏว่าเป็นอย่างไรแน่แต่ปัจจุบันเป็นกลองที่ตั้งอยู่กับที่ขนาดใหญ่มาก ชุดหนึ่งมี 4 ใบ คือ กลองแม่หรือกลองใหญ่หรือกลองตั้ง หรือกลองต้าง แล้วแต่ท้องถิ่นต่างๆจะเรียก ซึ่งกลองมีขนาดหน้ากว้างประมาณ 80 ซ.ม. ขึ้นไป แล้วแต่จะหาไม้ได้ซึ่งบางแห่งอาจกว้างขนาด 115 ซ.ม. ความยาวประมาณ 150-200 ซ.ม. ทำด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งอื่นๆที่มีขนาดใหญ่เช่นไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้มะค่า ฯลฯ ขุดทะลุเป็นทรงกระบอกมีเหงือกกลองเพื่ออุ้มเสียงให้กังวานเจาะรู-ระบายเสียงหัวใจกลองทั้งสองด้านด้วยหนังวัวหรือหนังควาย สลักหรือหมุดทำด้วยไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ตึงหนังหน้ากลองไม่ให้หย่อน ก๋องปู่จาเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี เป็นกลองมีลักษณะเป็นกลองสองหน้าขนาดใหญ่ ตัวกลองใช้ไม้จริง เช่น ไม้สัก ไม้ขนุน ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ชิงชัง ขุดเป็นโพรงขึ้นหน้าด้วยหนัง ใช้หมุดหรือภาษาพื้นบ้านเรียกว่าแส้เป็นตัวขึงหนังหน้ากลองให้ตึง หน้ากว้างประมาณ 90 ซ.ม. ขึ้นไป ยาวประมาณ 1.5 เมตร ขนาดไม่แน่นอนแล้วแต่ไม้ที่จะทำ ก่อนหุ้มกลองต้องทำการบรรจุหัวใจกลองไว้ข้างในตัวกลอง แล้วจึงหุ้มกลองด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ใช้น้ำแห้งลงอักขระโบราณ คาถาเมตตามหานิยม ผ้ายันต์ และของมีค่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ บรรจุรวมลงไปในน้ำเต้าแล้วนำไปแขวนไว้ในตัวกลองใบใหญ่ ส่วนกลองใบเล็กอีก 3 ใบ ที่เรียกว่ากลองลูกตุ๊บนั้นทำเหมือนกับกลองใบใหญ่แต่ข้างในตัวกลองไม่มีการบรรจุหัวใจกลอง มีขนาดหน้ากว้าง 12-18 นิ้ว ความยาวของกลองลูกตุ๊บ 18-24 นิ้ว กลองลูกตุ๊บเป็นกลองขนาดเล็กทำด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งอื่นๆ มีความกว้างประมาณ 20-30 ซ.ม. ยาวประมาณ 50-60 ซ.ม. แล้วแต่ความเหมาะสมกับกลองแม่ วิธีทำรูปร่างองค์ประกอบต่างๆเหมือนกับกลองแม่แต่ขนาดเล็กกว่า ซึ่งเท่าที่สังเกตตามสถานที่ต่างกลองลูกตุ๊บจะไม่ได้ใส่หัวใจกลองเหมือนกับกลองแม่ กลองลูกตุ๊บจะวางตั้งจะวางตั้งซ้อนกันด้านซ้ายของกลองแม่ใช้ตีประสานเสียงใส่ลีลาการตีให้สัมพันธ์กับกลองแม่ เสียงจะมีขนาดเล็กแหลงลงหลั่นกันไปตามขนาดของกลองและตามความต้องกันของเสียงที่แต่ละท้องถิ่นต้องการ