ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 28' 59.9999"
16.4833333
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 31' 12"
99.5200000
เลขที่ : 79585
ตัดกระดาษภูมิปัญญาไทย
เสนอโดย มัทนาวดี กลิ่นหอม วันที่ 27 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย กำแพงเพชร วันที่ 31 พฤษภาคม 2554
จังหวัด : กำแพงเพชร
0 1680
รายละเอียด
ในกระบวนการ เทคนิค วิธีการตัดกระดาษให้เป็นตุงไส้หมูนั้น ในสมัยก่อน สล่าจะใช้กระดาษสาสีขาว ตุงไส้หมูที่ได้ในสมัยก่อนจึงมีแต่สีขาวตามสีกระดาษสา ต่อมา เมื่อมีกระดาษว่าวสีต่างๆ เข้ามา รวมทั้งกระดาษสาก็มีการผลิตให้มีสีต่างๆ มากมาย ทำให้ตุงไส้หมูมีสีสันสลับกันอย่างสวยงามมากขึ้น นอกจากนี้อุปกรณ์ในการตัดกระดาษ แต่เดิมมีเพียงกรรไกรธรรมดา ต่อมาก็มีกรรไกรฟันหยักที่เมื่อตัดกระดาษแล้ว จะทำให้รอยตัดนั้นเป็นรอยหยักสลับฟันปลา โดยเฉพาะชายตุง ทำให้เกิดความสวยงามเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ วัสดุอื่นๆ ที่ผลิตขึ้นในสมัยปัจจุบัน เช่น แผ่นพลาสติกสีต่างๆ ก็สามารถนำมาตัดเป็นตุงไส้หมูได้ โดยเฉพาะในกรณีจะนำตุงไส้หมูไปใช้ในงานตกแต่งอื่นๆ ที่ต้องการความคงทน เนื่องจากตุงไส้หมูที่ทำด้วยกระดาษนั้น ฉีกขาดง่าย และหากแขวนไว้หลายวัน ตุงอาจจะเหี่ยว ฟีบ ไม่สวยงาม หากถูกน้ำ หรือฝน ก็จะทำให้ตุงไส้หมูเสียหายได้ แต่จนถึงปัจจุบันนี้ ชาวล้านนาก็ยังคงใช้วัสดุที่เป็นกระดาษสา หรือกระดาษว่าว ตัดเป็นตุงไส้หมูในการประกอบพิธีฯ ไม่นิยมใช้วัสดุที่เป็นพลาสติก เนื่องจากเห็นว่าการใช้ตุงกระดาษยังมีความเหมาะสมมากกว่าตุงพลาสติก ต่างบอกว่า “มันบ่เปิง” (มันไม่เหมาะสม) นั่นเอง สำหรับกระบวนการถ่ายทอดศิลปะการตัดกระดาษเป็นตุงไส้หมูนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นการถ่ายทอดความรู้และทักษะอย่างไม่เป็นทางการ กล่าวคือ สล่าซึ่งเป็นคนเฒ่าคนแก่ จะสอนลูกหลานแบบตัวต่อตัว กระบวนการถ่ายทอดก็จะเกิดตามธรรมชาติในช่วงประเพณี ปี๋ใหม่เมืองหรือสงกรานต์ หรือวันแต่งดาเตรียมทำบุญต่างๆ ที่ผู้เฒ่าผู้แก่จะตัดตุงไส้หมูในวันแต่งดา ลูกหลานเห็นก็มาเล่นบ้าง มาขอเรียนตัดบ้างด้วยความสนใจ เมื่อตัดเป็นแล้วก็จะกลายเป็นทักษะติดตัวไปเอง ในปัจจุบัน องค์กรทางศิลปวัฒนธรรม เช่น โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญา จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ สภาวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง ได้จัดให้มีกิจกรรมสอนการตัดกระดาษเป็นตุงไส้หมูด้วย การปรับใช้กับชีวิตประจำวัน ในส่วนของการนำตุงไส้หมูไปใช้ในด้านอื่น ปัจจุบันจะพบว่ามีการนำตุงไส้หมู ไปประดับสถานที่ให้เกิดความสวยงาม และได้บรรยากาศของงานประเพณีพื้นเมือง หรือบรรยากาศล้านนา นอกจากนี้ รูปแบบของตุงไส้หมูยังสวยงาม ทำให้นักออกแบบนำไปเป็นแนวความคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น โคมไฟ และออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และออกแบบเครื่องประดับ เป็นต้น ลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ การตัดกระดาษให้เป็นตุงไส้หมู มีลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ทางภูมิปัญญาคือ ลวดลายที่ตัดเป็นลายเชิงของตุงไส้หมู เป็นลักษณะคล้ายกลีบดอกบัว ซึ่งชาวพุทธใช้ดอกบัว ในการบูชาพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเกี่ยวเนื่องถึงคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เปรียบคนเหมือนดอกบัวสี่เหล่า นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าจะปรากฏลักษณะของการตัดกระดาษ ให้เป็นลวดลายแบบตุงไส้หมูนี้ในกลุ่มชนอื่นๆในภูมิภาคต่างๆของไทยนอกจากในดินแดนล้านนา แต่เป็นแค่เพียงการใช้ประโยชน์ในเชิงตกแต่งสถานที่เท่านั้น ไม่ได้แฝงด้วยคติความเชื่อเกี่ยวกับอนิสงค์ของการตานตุงใส้หมู จึงนับว่าเป็นเอกลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชาวล้านนาอย่างแท้จริง [แก้ไข] ภูมิปัญญามีคุณค่าอย่างไร คุณค่าของภูมิปัญญาล้านนา ศิลปะการตัดกระดาษให้เป็นตุงไส้หมูนี้ ถือได้ว่า มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะเป็นภูมิปัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ในขั้นตอนการตัดกระดาษให้เป็นตุงไส้หมูนั้น ปราชญ์ชาวล้านนาผู้ที่คิดค้นวิธีการตัดกระดาษนี้เป็นคนแรกถือได้ว่าเป็น ผู้ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างลึกซึ้ง ภูมิปัญญาสะท้อนวิถีชีวิตอย่างไร ชนชาวล้านนา มีวิถีชีวิตผูกพันกับพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาและศิลปะต่างๆ ที่พบ ในดินแดนล้านนาที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาที่เราเรียกว่า “พุทธศิลป์” ล้วนมีคุณค่ายิ่ง สล่า หรือช่างชาวล้านนา จะตั้งอกตั้งใจสร้างงานพุทธศิลป์เหล่านี้โดยทั้งผู้สร้างและผู้มีส่วนร่วม ในงานดังกล่าวล้วนตั้งใจถวายเป็นพุทธบูชา อุทิศถวายแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และที่สุดของความตั้งใจคือ เพื่อนิพพาน ดังที่เราจะพบจารึกต่างๆ ที่เกี่ยวกับการถวายทานนั้น จึงส่งผลต่อการดำรงรักษาประเพณีที่ดีงามของชาวล้านนา “ตุงไส้หมู” จึงเป็นเครื่องประกอบพิธีทำบุญในวันปี๋ใหม่ (สงกรานต์) ที่ชาวล้านนาจำเป็นจะต้องใช้ในการประกอบพิธีในวันสงกรานต์ซึ่งจะขาดเสียไม่ได้
สถานที่ตั้ง
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายสันติ อภัยราช
บุคคลอ้างอิง นายสันติ อภัยราช
ชื่อที่ทำงาน สนง.วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร รหัสไปรษณีย์ 62000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่