ปราชญ์ชาวบ้าน การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านภาษาและวรรณกรรม “ภาษาเจ๊ะเห” ตำบลลำภู
ประวัติครูภูมิปัญญา ชื่อ นายสุรินทร์ สืบสุข เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย หมายเลขบัตรประชาชน ๓๙๖๐๑-๐๐๓๔๓-๙๔-๑ วัน เดือน ปีเกิด ๑๔ ตุลาคม ๒๔๙๒ อายุ ๖๐ ปี ภูมิลำเนา (บ้านเกิด) บ้านทุ่งงาย ที่อยู่ปัจจุบัน (ที่สามารถติดต่อได้) บ้านเลขที่ ๓๙ หมู่ที่ ๙ ตำบล ลำภู อำเภอ เมืองนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส รหัสไปรษณีย์ ๙๖๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๗๓๕๔ ๒๕๒๕ โทรศัพท์มือถือ ๐๘ ๖๗๔๘ ๙๙๑๑ สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านรามา โทรศัพท์. . วุฒิการศึกษา / ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ประวัติความเป็นมา ภาษาเจ๊ะเหหรือภาษาตากใบ คือความหมายอันเดียวกันนั้นคือเจ๊ะเหคือตำบลหนึ่งในอำเภอตากใบ คำว่าภาษาตากใบน่าจะเป็นคำสุภาพหรือเป็นการเรียกภาษาโดยรวมตั้งอำเภอตากใบว่าเป็นภาษาตากใบก่อนจะเรียนรู้เรื่องภาษาตากใบ เราต้องมารู้กันก่อนว่าคนลำภูมาจากไหน เกี่ยวพันกับภาษาอย่างไร คำว่าลำภูยังมีข้อโต้เถี่ยงกันว่ามาจากไหน คนบ้านลำภูคือใครคำว่าบ้านลำภูบางท่านบอกว่าเมือก่อนเขียนว่าบ้านลำพู เรียกตามชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งเป็นไม้ยื่นต้น ชอบขึ้นในที่ลุ่มน้ำขัง หรือเป็นป่าพรุน้ำอ่อย คำว่าลำพูคนรุ่นใหม่มองว่าไม่สวยงาม จึงได้เปลี่ยนมาเป็นบ้านลำภูโดยเหตุว่าบริเวณที่ตั้งบ้านลำภู เดิมมีภูมิประเทศเป็นเนินดินหรือภูมีป่าพรุ โดยร่วมผู้คนอพยพมาตั้งถิ่นฐานไม้ปราบเนินภูให้เป็นที่ราบหลายภูตั้งอยู่ริมคลอง เริ่มจากคลองบางเค็มจนถึงบ้านปรางหรือบริเวณวัดลำภูปัจจุบัน ผู้คนสมัยก่อนจะตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลอง แยกจากแม่น้ำบางนราเข้ามาคลองบางเค็ม คือบ้านบางเค็ม บ้านทุ่งบัว บ้านโคกโหนด บ้านลำภู บ้านปราง เลยไปถึงบ้านเขากง เมื่อประมาณพ.ศ. ๑๑๐๐ – ๑๓๐๐ ที่บ้านเขากงได้สร้างวัดเขากงขึ้นคราวเดียวกับพระธาตุเจดีย์ไชยา สุราษฎร์ธานี วัดเขากงตั้งอยู่บริเวณภูเขาเคี้ยง ๓ ลูก โดยมีเจดีย์อยู่บนยอดเขาทั้ง ๓ ลูก ตรงหน้าวัดจะมีท่าน้ำ เป็นท่าเรือสำหรับเดินทางไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ จนถึงตากใบเลยไป ประเทศมาลายา ทางแม่น้ำบางนราเพื่อออกทะเลอ่าวไทยก็ได้ จากการศึกษาประวัติหลวงพ่อเปาะเอาะห์ จันทูปโม วัดเขากงน่าจะสร้างชาไม่น้อยกว่า ๑๓๐๐ ปีแน่นอนและได้กลายเป็นวัดร้างมานานจนกระทั้งเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๔๒๑ หลวงพ่อเปาะเอาะห์ ได้ธุดงค์มาจากเมืองนครศรีธรรมราชมาพักเจดีย์บนเขา ๓ ลูก เป็นวัดร้างพร้อมด้วยเพื่อนลำพูนักธุดงค์ด้วยกัน ๓ รูป เห็นบริเวณวัดเขากงเงียบร่มรื่น จึงปักกรดทำนักปฏิบัติธรรมภาวนาอยู่ใกล้กับพุทธเจดีย์ เริ่มก็ออกบิณฑบาต แถวหมู่บ้านลำภู ปกติโคกโกปัจจุบัน ชาวพุทธในบ้านลำภู บ้านโคกโก เห็นท่าออกบิณฑบาตพร้อมด้วยเพื่อนธรรมทั้ง ๒ รูป จึงได้พร้อมใจกันนิมนต์อาราธนาให้ท่านอยู่ประจำที่วัดเขากง พร้อมทั้งได้สร้างเสนาสนะถวาย และฟื้นฟูวัดเขากงขึ้นใหม่อีกครั้งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๑ - ๒๔๓๕ หลวงพ่อเปาะเอาะห์ จันทูปโม ได้บวชเป็ฯพระภิกษุในพุทธศาสนา ณ วันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอตรงกับวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ฉายาว่าจันทูปโม บวชแล้วได้ออกธุดงค์ไปศึกษาธรรมที่เมืองนครศรีธรรมราช ขากลับได้ธุดงค์มาถึงบริเวณวัดเขากงได้จำพรรษาพัฒนาวัดเขากงอยู่ประมาณ ๑๐ ปีกว่า เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๓๕ หลวงพ่อเปาะเอาะห์ ก็ออกเดินธุดงค์อีกครั้ง เมื่อท่านธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ จนถึงรัฐกลันตันประเทศมาลายู ชาวบ้านได้นิมนต์ให้ท่านจำพรรษาที่วัดในรัฐกลันตัน จนกระทั้งหลวงพ่อได้มรณภาพ วัดเขาคงจึงขาดพระสงฆ์ และกลายเป็นวัดร้างอีกครั้งหนึ่ง ร้างอยู่นานถึง ๖๐ ปี ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๕ บริเวณบ้านเขากงได้มีประชาชนชาวพุทธได้มาตั้งรกรากสร้างบ้านเรือนอยู่ริมสายบางนรา – ระแงะ ทางทิศตะวันออกวัดเขากง ประมาณ ๓๐ ครัวเรือน ชาวพุทธบ้านเขากงได้นิมนต์พระภิกษุโต๊ะ พุทธสโร มาจำพรรษาโดยสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นใหม่ทางทิศตะวันออกภูเขา ๓ ลูก ที่ตั้งพุทธเจดีย์โบราณ พระภิกษุโต๊ะ พุทธสโร ได้บุกเบิกสร้างวัดเขากงยุคใหม่จากสำนักสงฆ์แล้วยกฐานะขึ้นเป็นวัดเขากงมาจนถึงทุกวันนี้ จากการศึกษาเรื่องราววัดเขากง ทำให้เราได้รู้ว่า ณ บริเวณบ้านลำภูแห่งนี้มีผู้อาศัยมานานแล้วไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี และผู้คนเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้อพยพมาจากเจ๊ะเหหรือตากใบ และน่าจะมาจากประเทศมารายาอีกทอดอาศัยอยู่ที่บ้านเก่าในประเทศมาลายาหรือที่รัฐกลันตัน และตาบูรู จากการศึกษาของผู้รู้พบว่าบริเวณบ้านบางเค็ม (หมู่ ๗ ตำบลลำภู) และบ้านทุ่งบัว (หมู่ ๙ ตำบลลำภู) ได้ขุดพบด้วยชามจีนสมัยโบราณสมัยราชวงศ์เหมิ่ง ตรงกับสมัยสุโขทัย พบเศษหม้อมัยชะเลียงรุ่นแรกประมาณ พ.ศ. ๑๖๐๐ – ๑๘๐๐ น่าจะเป็นยุคเดียวกับวัดเขากงยุคแรกก่อนจะสร้าง ด้วยเหตุที่ว่าการคมนาคมในสมัยนั้นได้อาศัยแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางในการติดต่อสงาดมกัน คือจากบ้านทุ่งบัวซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางนราจะมีสายคลองแยกจากบ้านทุ่งบัวไปทางทิศตะวันตก ๒ สายคือ สายที่หนึ่ง อยู่ทางด้านทิศเหนือของบ้านทุ่งบัวเข้าไปทางทิศตะวันตกคือคลองบางเค็ม คือแยกจากแม่น้ำบางนราเข้าไปประมาณ ๕๐๐ เมตร คลองบางเค็มจะแยกเป็นสองสาย คือด้านซ้ายมือจะแยกไปบ้านโคกโหนด บ้านลำภู บ้านปราง ส่วนแยกด้านขวามือจะขึ้นไปทางบ้านบูเกะกูนุง สายที่สองอยู่ทางทิศใต้ของบ้านทุ่งบัว คือแยกจากแม่น้ำบางนราเช่นเดียวกัน คลองรายนี้จะเล็กกว่าคลองบางเค็ม ปัจจุบันคลองรายนี้ตื่นเขิน เพราะได้อยู่บนทุ่งนาระหว่างบ้านทุ่งบัวกับบ้านทุ่งงาย การทำนาทำให้เกิดดินโคลนทับถมลงในคลอง เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๕ จากบ้านทุ่งบัวจะมีคลองผ่านทุ่งนาไปทางทิศตะวันตกผ่านบ้านทุ่งงาย ผ่านแม่ลำภูผ่านทุ่งชิด บ้านปลักชิด เข้าคลองแม่เน๊าะ ออกทุ่งงนาพรุใหญ่เข้าคลองแม่กง คือท่าน้ำหน้าวัดเขากงในอดีต เลี้ยงไปทางทิศใต้ขึ้นไปคลองโต๊ะกูแช (เกาะขุนช้าง) ขึ้นไปบ้านจะแอเกาะ บ้านมะนังตายอ คลองจะอยู่ทางทิศตะวันตกโรงเรียนบ้านมะนังกาหยีปัจจุบัน คลองสองสายจากบ้านทุ่งบัวนี้คือ เส้นทางคมนาคมของผู้อาศัยในตำบลลำภูซึ่งเชื่อว่าอพยพมาจากอำเภอตากใบ วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้ผู้รับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในวิธีการ ขั้นตอนการใช้ภาษาเจ๊ะเห อย่างถูกต้อง ๒. ผู้รับการอบรมสามารถใช้ภาษาเจ๊ะเห สนทนากับคนในท้องถิ่นได้ ๓. ผู้รับการฝึกอบรมนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปพัฒนาและต่อยอดความรู้จาการเรียนเรียนภาษาเจ๊ะเหในรูปแบบต่างๆได้ ๔. นำความรู้ที่ได้รับการอบรมไปถ่ายทอดให้กับลูกหลานรุ่นอื่นๆ ต่อไป