ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 39' 20.9999"
13.6558333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 16' 4.0001"
100.2677778
เลขที่ : 95018
การสนตะพายควายหรือวัว
เสนอโดย admin group วันที่ 10 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย สมุทรสาคร วันที่ 30 มิถุนายน 2564
จังหวัด : สมุทรสาคร
0 2666
รายละเอียด

การสนตะพายควายหรือวัว

- เมื่อวัวหรือควายอายุประมาณ 1-2 ปี ชาวนาจับควายผูกติดกับต้นไม้ใช้ไม้ไผ่ขนาดเท่านิ้วก้อยเสี้ยมปลายให้แหลม ที่ทำความสะอาดแล้ว แทงเข้าไปที่เนื้อเยื่อด้านในปลายจมูกของควายให้ทะลุถึงกันของช่องจมูกทั้งสอง จากนั้นประมาณ 30 วัน แผงจากรอยเจาะทะลุหาย ชาวนาใช้เชือกขนาดเท่านิ้วก้อยร้อยรูจมูกควายอ้อมมาทางด้านหลังเขาของควายผูกเชือกพอหลวม ๆ เชือกนี้เรียกว่าเชือกตะพายควาย เชือกตะพายควายจะติดอยู่กับควายตลอดเวลา หากเชือกขาดชาวนาจะใส่เส้นใหม่แทน เมื่อเวลาใช้งานชาวนาจะนำเชือกอีกเส้นหนึ่งมาผูกกับเชือกตะพายควายเชือกที่ผูกจะอยู่ทางด้านขวาหรือซ้ายด้านใดด้านหนึ่งหากอยู่ทางด้านซ้าย เมื่อชาวนาดึงเชือกควายจะเลี้ยงไปทางซ้าย หากชาวนาตะหวัดเชือกไปทางขวา ควายก็จะหันไปทางขวา ชาวนาจะใช้คำว่า “ถาด”หมายถึง เลี้ยวไปทางขวาและใช้คำว่า “ทูน” หมายความว่าให้เลี้ยวไปทางซ้ายการตอนควาย- ควายตัวผู้หากไม่ตอนเมื่อเป็นหนุ่มจะขวิดกันเพื่อแย่งตัวเมีย ควายใช้งานจำเป็นที่จะต้องตอน เพราะควายที่ไม่ได้ตอนจะไม่ค่อยเชื่อฟังคำสั่ง ส่วนควายตัวเมียไม่ต้องตอน การตอนควายจะเริ่มเมื่อควายมีอายุได้ 2-3 ปี ชาวนาจะมัดขาทั้ง 4 ของควายให้ติดกันดึงเชือกให้ควายล้มลงนอนกับพื้นมัดขาควายทั้ง 4 ไว้กับต้นไม้ใช้ไม้กระดานรองลูกอันฑะและใช้ไม้อีกอันหนึ่งทุบตีที่ลูกอันฑะจนลูกอันฑะของควายแตก การตอนควายตัวผู้นับว่าทรมานพอสมควร แต่ก็มีเพียงครั้งเดียวในชีวิตของควาย

แหล่งอ้างอิงข้อมูลพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน - จัดทำขึ้นเพื่องานด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย โดย... พล.ต.ต.ไพฑูรย์ เพิ่มศิริวิศาล… หมู่ที่ 6 ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 ซอย - ถนน -
อำเภอ กระทุ่มแบน จังหวัด สมุทรสาคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่