เมื่อปี พ.ศ. 2404 มีนายฮ้อย ขายวัว ขายควาย จากอุบลราชธานีเดินทางหาทำเลเลี้ยงสัตว์เนื่องจากที่จังหวัดอุบลราชธานีเกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาลสัตว์เลี้ยงไม่มีอาหารกิน โดยเดินทางมาที่บ้านตาลเนิ้ง บ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ บ้านม่วง อำเภอพังโคน สำหรับครอบครัว นายทองใบ และนายโว นามวันดี นายเจ้อ นายสาย นายตัน ได้แยกเดินทางผ่านอำเภอพังโคนมาตามลำน้ำห้วยแคนจนถึงบ้านขัวสูงเห็นสภาพภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์มีทำเลดีเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์จึงตั้งหลักปักฐานอยู่ข้างลำห้วยแคน ตั้งชื่อหมู่บ้านห้วยแคน ต่อมาเห็นสะพานไม้สูง (ขัว) ข้ามลำน้ำยามจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านขัวสูง” ตามชื่อสะพานไม้ที่เห็นจนถึงปัจจุบัน เมื่อบ้านขัวสูงมีประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงขอแยกหมู่บ้านเพิ่มอีกบ้านหนึ่ง คือ “บ้านขัวสูงสวรรค์ หมู่ 13
สาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านขัวสูงสวรรค์ คือ บริเวณทางทิศเหนือติดกับลำน้ำยาม ขนาดกว้างใหญ่และมีถนนสาย พังโคน - บึงกาฬ ในอดีตต้องใช้ไม้จำนวนมากในการก่อสร้างสะพานและต้องสร้างบ้านให้สูง เพราะแม่น้ำมีขนาดกว้างมาก ซึ่งในภาษาอีสาน เรียกว่า “ขัว” จึงได้ชื่อว่า บ้านขัวสูง แต่เนื่องจากบ้านขัวสูง หมู่ 5 เดิมมีอยู่แล้ว จึงเพิ่มคำว่า “สวรรค์” ต่อท้าย จึงมีชื่อว่า “บ้านขัวสูงสวรรค์” มาจนถึงวันนี้
ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน นายสายันต์ บุตรเพ็ง
ทิศเหนือ ติดกับบ้านคอนสาย ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอวานรนิวาส
ทิศใต้ ติดกับบ้านหัวนา ตำบลศรีวิชัย อำเภอวานรนิวาส
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านนาเกษตร ตำบลศรีวิชัย อำเภอวานรนิวาส
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านขัวสูง หมู่ 5 ตำบลศรีวิชัย อำเภอวานรนิวาส
จำนวนประชากร/จำนวนครัวเรือน
q จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 79 ครัวเรือน
q จำนวนประชากรทั้งหมด 337 คน แยกเป็นเพศชาย 167 คน และเพศหญิง 170 คน
(ที่มา จากข้อมูล จปฐ. ปี 2550 )
สภาพทางสังคม
ประชาชนบ้านขัวสูงสวรรค์ส่วนใหญ่ใช้ภาษาถิ่นเป็นภาษาลาว นับถือศาสนาพุทธทั้งหมด
สำหรับเรื่องการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถม โดยจากการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ปี 2550 เมื่อนำข้อมูลด้านการศึกษามาพิจารณาปรากฏว่ามีผู้ที่เรียนในระดับประถมมากถึงร้อย 50.19 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
สภาพทางเศรษฐกิจ
q ข้อมูลการประกอบอาชีพ
อาชีพหลักของประชาชนบ้านขัวสูงสวรรค์ คือ การทำนา อาชีพรอง คือ การรับจ้าง อาชีพเสริม ได้แก่ เลี้ยงสัตว์ เมื่อนำข้อมูลการประกอบอาชีพจากการสำรวจข้อมูลจปฐ. ปี 2550 โดยนับเฉพาะผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป ไม่นับนักเรียนนักศึกษา จำนวน 145 คน ปรากฏว่าส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำนา 100 คน ( 45 %) รองลงมา คือ รับจ้าง 50 คน (21%) เลี้ยงสัตว์ 20 คน (24%) และค้าขาย 10 คน(10%) ตามลำดับ