ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 17' 26.8606"
18.2907946
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 30' 56.8246"
99.5157846
เลขที่ : 128033
วัดม่อนพระยาแช่
เสนอโดย ลำปาง วันที่ 20 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย ลำปาง วันที่ 2 กรกฎาคม 2564
จังหวัด : ลำปาง
1 1519
รายละเอียด

มีพระเจดีย์ตั้งอยู่บนเนินเขาที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของจังหวัดลำปางได้อย่างชัดเจน ทางวัดได้พัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและร่วมกับสำนักงานป่าไม้เขตลำปางจัดให้เป็น วนอุทยานม่อนพญาแช่ เลยวัดขึ้นไปจนถึงที่ตั้งที่ทำการวนอุทยานเป็นจุดชมวิวและเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทางวนอุทยานได้จัดให้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ และสามารถพักแรมได้ แต่ต้องไปเป็นหมู่คณะโดยติดต่อล่วงหน้าที่ โทร. ๐๘ ๙๙๙๘ ๒๑๘๒ ตำบลพิชัย บนถนนสายลำปาง-งาว ห่างจากตัวเมือง ๕ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๑ และเลี้ยวขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ ๖๐๕ อีก ๑ กิโลเมตร มีพระเจดีย์ตั้งอยู่บนเนินเขาที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของจังหวัดลำปางได้อย่างชัดเจน ทางวัดได้พัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและร่วมกับสำนักงานป่าไม้เขตลำปางจัดให้เป็น วนอุทยานม่อนพญาแช่ เลยวัดขึ้นไปจนถึงที่ตั้งที่ทำการวนอุทยานเป็นจุดชมวิวและเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทางวนอุทยานได้จัดให้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ และสามารถพักแรมได้ แต่ต้องไปเป็นหมู่คณะโดยติดต่อล่วงหน้าที่ โทร. ๐๘ ๙๙๙๘ ๒๑๘๒ วัดม่อนพระยาแช่ มีประวัติเกี่ยวพันกับเมือง โดยมีตำนานท้องถิ่นที่เกี่ยวกับฤาษีที่อาศัยอยู่บนยอดเขาบรรพตเจดีย์องค์เดิมซึ่งถูกทำลายเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ปัจจุบันได้รับการบูรณะให้ดีขึ้นกว่าเก่า ลักษณะเจดีย์เป็นศิลปะแบบพม่า ฐานสี่เหลี่ยมมีฐานปัทม์ย่อเก็จ องค์ระฆังปล้องไฉนชะลูดขึ้นไปคล้ายรูปสามเหลี่ยม ยอดเจดีย์มีฉัตรทองเหลืองปิดทองฉลุลวดลาย มีซุ้มพระพุทธรูปประดิษฐานทั้ง ๔ ด้าน วัดนี้เป็นปูชนียสถานอันเก่าแก่ของจังหวัดลำปาง มีประวัติความเป็นมาตามที่นักปราชญ์ได้จารึกลงในใบลานไว้มีดังนี้ ในกาลครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาเทศนาสั่งสอนสัตว์โลกลุมาถึงกุกกุตตะนครในเมืองเวียงดิน (ปัจจุบัน คือวัดศรีล้อม) พร้อมด้วยพระฤาษี ๕ องค์ได้ติดตามอุปฐากพระองค์มาแต่ลังกาทวีป พระองค์ทรงฉันภัตตาหาร ณ ที่นั้น เมื่อทรงฉันเสร็จแล้ว ก็ทรงบ้วนพระโอษฐ์ (บ้วนปาก) พระฤาษีทั้ง ๕ ได้นำเอาภาชนะแก้วผลึกมารองรับ ในทันใดนั้นเองน้ำบ้วนพระโอษฐ์ก็เกิดกระด้างกลายเป็นพระธาตุแข็งขึ้นมา พระฤาษีทั้ง ๕ เห็นดังนั้นก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่งนัก จึงเกิดความเลื่อมใสและมีความปิติยินดียิ่ง จึงทูลถามพระพุทธองค์ว่า ภันเต ภควา ข้าแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ภาชนะแก้วผลึกที่เต็มไปด้วยพระธาตุนี้ จะให้พวกข้าพระองค์นำไปประดิษฐาน ณ ที่ตรงไหน จึงจะสมควร พระพุทธองค์จึงทรงพิจารณาส่องญาณเล็งเห็นว่าต่อไปข้างหน้าสถานที่นี้จะเป็นบ้านเมืองมีผู้คนมากมาย พระพุทธองค์ทรงใคร่ครวญที่จะให้เป็นประโยชน์และเป็นที่พึ่งแก่คนทั้งปวง จึงตรัสแก่พระฤาษีทั้ง ๕ ว่า ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองนี้มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า เขลางค์บรรพต สมควรที่ท่านทั้งหลายจะเอาพระธาตุนี้ไปบรรจุไว้ ณ ที่นั้น ครั้นแล้วพระองค์ทรงอธิษฐานถอดเอาพระนขา (เล็บ) และพระเกศา (ผม) ให้แก่พระฤาษีทั้ง ๕ เพื่อเอาไปบรรจุไว้ด้วยกัน และเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้คนซึ่งมีความเลื่อมใสได้สักการะบูชาต่อไป เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว พระฤาษีทั้ง ๕ พร้อมด้วยพระอินทร์ก็รับเอาพระธาตุจากพระหัตถ์พระพุทธองค์ แล้วก็ทูลลามุ่งหน้าไปสู่เขลางค์บรรพตม่อนพระยาแช่ พระอินทร์ได้เนรมิตสถานที่บรรจุพระธาตุอยู่บนภูเขาสูงเป็นช่องลึก ๑๐๐ วา กว้าง ๘ ศอก ส่วนพระฤาษีทั้ง ๕ ก็ผลัดเปลี่ยนกันอุปฐากรักษาพระเจดีย์ในที่ต่างๆดังนี้ พระฤาษีองค์ที่ ๑ เป็นผู้พี่ให้รักษายังต้นศรีมหาโพธิ์ วัดศรีล้อม พระฤาษีองค์ที่ ๒ ให้รักษายังพระมหาชินะธาตุเจ้า วัดม่อนคีรีชัย พระฤาษีองค์ที่ ๓ ให้รักษายังพระมหาชินะธาตุเจ้า พระธาตุดอยแล พระฤาษีองค์ที่ ๔ ให้รักษายังพระมหาชินะธาตุเจ้า วัดพระธาตุดอยสุเทพ พระฤาษีองค์ที่ ๕ ให้รักษายังพระมหาชินะธาตุเจ้า ดอยยัสสะกิตติ(เขลางค์บรรพต วัดม่อนพระยาแช่) พระฤาษีองค์ที่ ๕ นามว่า สุพรหมฤาษี น้องสุดท้องนั้นท่านเป็นผู้มีวิชาปัญญาอันเฉลียวฉลาดยิ่งนัก มีความสามารถทำทองได้และรู้จักวิธีผสมยาสามารถชุบคนแก่ให้กลายเป็นคนหนุ่มได้ ในขณะนั้น ยังมีพระยาลัวะคนหนึ่ง ชื่อพระยาวุฑโฒ มีอายุได้ ๑๐๐ ปี อยู่ขุนแม่ระมิงค์เชียงใหม่ ได้ทราบข่าวจากพรานป่าว่า พระฤาษีน้องสุดท้องท่านมีความสามารถชุบคนแก่ให้กลายเป็นคนหนุ่มได้ พระยาวุฑโฒก็มีใจอยากจะเป็นหนุ่มจึงสั่งให้เตรียมไพร่พลโยธาและให้พรานป่าเป็นผู้นำทาง ใช้เวลาเดินทางประมาณครึ่งเดือนจึงเดินทางมาถึงวัดม่อนพระยาแช่ พอมาถึงพระฤาษีจึงถามว่า พระองค์เสด็จมาที่นี้ด้วยมีธุระประสงค์สิ่งใด พระยาวุฑโฒตอบว่า ข้าพเจ้าทราบว่าท่านสามารถชุบคนแก่ให้กลายเป็นคนหนุ่มได้ พอวันรุ่งขึ้นพระฤาษีก็จัดแจงผสมยาขนานต่างๆรวมได้ ๔ ขนานใส่หม้อดินต้มทิ้งไว้ให้เย็น แล้วพระฤาษีจึงบอกให้พระยาวุฑโฒลงไปนอนในอ่างยา พระยาวุฑโฒเห็นดังนั้นก็เกิดความกลัวไม่ยอมลงขอให้พระฤาษีทดลองให้ดูก่อน ก่อนจะลงท่านพระฤาษีก็ได้อธิบายให้พระยาวุฑโฒรู้จักวิธีผสมยาจนเป็นที่เข้าใจโดยให้ใส่ยาเป็นระยะ พระฤาษีได้อธิบายให้พระยาวุฑโฒ ถึง ๒-๓ ครั้ง จนเข้าใจแล้ว พระฤาษีก็ลงนอนในอ่างยาแล้วสลบละลายกลายเป็นน้ำไป พระยาวุฑโฒก็เอายาขนานที่ ๑ ใส่ลงไปน้ำนั้นก็ขุ่นมัวเหมือนข้าวยาคู แล้วก็เอายาขนานที่ ๒ ใส่ลงไปพระฤาษีก็ไหวตัวดิ้นเป็นเกลียวเหมือนงูเกี้ยวกันชูคอขึ้นมาเหมือนงูเห่า พระยาวุฑโฒเห็นดังนั้นก็ตกใจกลัวจนตัวสั่นก็เกิดความประหม่าเลยหยิบยาผิดหยิบเอายาขนานที่ ๔ ใส่ลงไป เนื้อตัวพระฤาษีก็เกิดกระด้างไปเลยไม่ไหวติงกาย พระยาวุฑโฒก็เอายาขนานที่ ๓ ใส่ลงไปอีก พระฤาษีก็แน่นิ่งไปไม่ไหวติงกายแต่ประการใดเป็นอันว่าพระฤาษีสิ้นใจตายอยู่ ณ ที่นั้น พระยาวุโฒเห็นดังนั้นก็มีความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกลับไปถึงบ้านแล้วก็เกิดโรคาพาธมีอาการกระวนกระวาย จิตใจก็ระลึกถึงแต่เหตุการณ์ที่ได้กระทำมานั้นจิตใจคิดอยากกลับมายังที่อยู่ของพระฤาษีตลอดเวลา ในที่สุดก็เดินทางกลับมายังดอยยัสสะกิตติ(เขลางค์บรรพต) เมื่อมาถึงแล้วก็ให้คนตักน้ำใส่อ่างยาแล้วตนเองก็นอนแช่ก็รู้สึกว่าสบาย พอลุกขึ้นจากอ่างยาก็ร้อนกระสับกระส่าย ทำอยู่อย่างนี้หลายครั้งจนทนไม่ไหวก็บอกเสนาว่า เรานี้เห็นจะมีชีวิตอยู่ต่อไปไม่รอดแล้วเวลาเราตายไปแล้วขอให้เอาศพไปเผาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ครั้นสั่งเสร็จแล้วก็สิ้นใจตาย สถานที่ที่พระยาวุฑโฒนอนแช่ตายอยู่นั้น จึงเรียกว่า ม่อนพระยาแช่ มาจนถึงทุกวันนี้ วัดม่อนพระยาแช่ตั้งอยู่บนภูเขาสูงชื่อม่อนไก่เขี่ย หรือดอยยัสสะกิตติ หรือเขลางค์บรรพต สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๑ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดมีเนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระธาตุม่อนพระยาแช่ด้วย องค์พระธาตุและพระอุโบสถตั้งอยู่บนภูเขาสูง ต้องเดินขึ้นบันได ๕๘๕ ขั้น รถยนต์ขึ้นไม่ได้ สำนักงานชลประทาน (ลำปาง) ได้สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ขึ้นที่ด้านหลังวัดเพื่อกักเก็บน้ำใว้ใช้ในวัดด้วย วัดม่อนพระยาแช่เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง เป็นสถานที่เงียบสงบ ร่มรื่น และจะมีสภาพบรรยากาศในแต่ละฤดูที่เปลี่ยนไปไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะมีตะไคร่น้ำขึ้นอยู่ทั่วไปเหมาะจะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ที่ไม่ไกลจากตัวเมืองลำปางมากนัก กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ ๒๔๗๘

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดม่อนพระยาแช่
ตำบล พิชัย อำเภอ เมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง
บุคคลอ้างอิง ศุขฐิ์เกษม ฝั้นคำอ้าย
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง อีเมล์ culture_lampang@hotmail.com
เลขที่ 409 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ถนน พระเจ้าทันใจ
ตำบล ต้นธงชัย อำเภอ เมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง รหัสไปรษณีย์ 52000
โทรศัพท์ 054228763 โทรสาร 054824182
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/lampang/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่