พระปรมัตถ์ เป็นธรรมคัมภีร์หนึ่งพุทธศาสนิกชนอ่านและฟังกันทั่วไป มีหลายสำนวนที่ถอดออกเป็นพากย์ไทย ได้พบเห็นโดยมากเป็นร้อยแก้ว พระธรรมกถึกนำมาแสดงเทศนาในทำนองธรรมวัตร์ ความที่ถอดออกฟังเข้าใจยากง่ายไม่เหมือนกันเพราะมีหลายสำนวน แต่คงมีอรรถรสนัยเดียวกัน
ฉบับที่จัดพิมพ์ขึ้นนี้ รู้สึกว่าท่านผู้ทอดออกสู่ภาษาไทยได้พยายามประพันธ์โดยรักษาความสำคัญไว้อย่างถ้วนถี่ และสรรใช้คำพื้นๆ คล้ายคำประพันธ์ที่เป็นมาตรฐานในแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นในยุคเก่า มีทำนองลีลาเหมาะเจาะสมจะเป็นมุขปาฐะ เห็นว่าจะเป็นหนังสือที่ชวนอ่านเช่นบทอาขยานอื่นๆ ที่ท่องกันขึ้นใจได้ง่าย
หนังสือที่ชอบใจของชาวชนบท มักเป็นหนังสือบทกลอนที่สำนวนเบาๆ ฉะนั้นผู้ประพันธ์พระปรมัตถ์นี้คงมีปรารถนาให้ฉบับของท่านเป็นที่สบอารมณ์ของชาวชนบทยิ่งกว่าชนผู้ใกล้เสียงเพลงเสียงสังคีตที่ครื้นเครงอยู่ไม่มีเวลาสงบ
การอ่านการฟังสุภาษิตที่เป็นร้อยแก้ว มักผิดกว่าอ่านหรือฟังสุภาษิตที่ประพันธ์เป็นโคลงหรือกลอน ฉันใดก็ดี การอ่านหรือฟังบทธรรมคำสอนในพระศาสนาที่ได้ประพันธ์เป็นสำนวนร้อยกรองเช่นนี้ ก็คงชวนอ่านชวนฟังยิ่งกว่าร้อยแก้ว และจะขึ้นใจคล่องปากแก่ผู้อ่าน ชวนให้อ่านยิ่งขึ้น
คำสอนในพระปรมัตถ์ดำเนินไปตามหลักธรรมดา เช่นการสอนให้รู้คุณของบิดามารดาผู้บุพพการี รู้รักษาสังวรในกายวาจาตลอดจนถึงชั้นควบคุมจิตารมณ์ ใช้ถ้วยคำและสำนวนง่ายๆ ฟังเข้าใจได้ทันที แต่เมื่อเก็บมาตรึกตรองตามโอวาทนั้นๆ แล้ว ก็ยิ่งเห็นประโยชน์กว้างขวางลึกซึ้งต่อไปอีก บทความเหล่านี้มีอุทาหรณ์ที่เป็นเรื่องสะเทือนใจ คำสอนชนิดนี้ย่อมทรงอิทธิพลทำให้ผู้อ่านผู้ฟังเกิดศรัทธาและวิจารณญาณเจริญสติปัญญาขึ้นตามลำดับ
ความสำคัญ (ความสำคัญต่อวัฒนธรรมด้านใด)..ด้านบทธรรมคำสอนในพระศาสนา ให้รู้จักคุณของบิดามารดา รู้จักรักษาสังวรในกายวาจาตลอดจนถึงชั้นควบคุมจิตารมณ์
ลักษณะของสิ่งของ(เช่น รูปทรง ขนาด ตำหนิ ลวดลาย)...หนังสือพิมพ์ด้วยกระดาษปรู๊ฟ สีน้ำตาลเข้ม ขนาด 13x18 ซ.ม. หน้าปกเป็นภาพสีพิมพ์ด้วยอักษรสีขาว ในตัวเล่มพิมพ์ตัวอักษรสีดำ เนื้อหามีจำนวน 89 หน้า
ไม่รวมปก ราคา ๕ บาท
สถาปัตยกรรม(ยุคสมัย,วัสดุที่ใช้)จัดพิมพ์ พ.ศ.2494 โรงพิมพ์ศิลปาบรรณาการ ตึกเลขที่ 79 เชิงสะพานข้างโรงสี ถนนอัษฎางค์ หลังกระทรวงกลาโหม พระนคร