ประมาณ พ.ศ. ๑๗๐๒ พระเจ้าไชยศิริ ได้พ่ายแพ้เสียเมืองแก่เจ้าเสือขวานฟ้าแห่งอาณาจักรมา
แล้วได้พาข้าราชการบริวารแห่งหนึ่ง มาตั้งถิ่นฐานนอยู่ที่ดงวัง (ที่ตั้งอนุสาวรีย์ปัจจุบัน) และได้สร้างคุ้มตลอด
วัดอาราม ปกครองเมืองวังตั้งแต่นั้นมา เจ้าพ่อพญาวังเป็นนักรบผู้กล้าหาญชัยอยู่อย่างคงกะพัน ต่อมามีโจรมาปล้นเมืองวัง ล้อมจับตัวพญาวังได้หัวหน้าโจรได้สั่งให้ประหารชีวิตเพราะกลัวเป็นภัยภายหลัง แต่พวกโจรไม่สามารถทำให้เจ้าพ่อพญาวังสิ้นพระชนม์ได้ เพราะบรรดาศาสตราวุธ ทั้งหลายไม่อาจจะคายผิวหนังของ
พญาวังได้ แต่แล้วในที่สุดพวกโจรก็ทำพิธีล้างอาถรรพ์ และประหารชีวิตเจ้าพ่อพญาวังจนได้ เมื่อพญาวังสิ้นพระชนม์เมืองวังก็แตก ประชาชนกระจัดกระจาย แยกย้ายกันหลบหนีพวกโจร เมืองวังถูกเผาจนเหลือแต่ซาก และถูกทิ้งให้รกร้างปรักหักพัง ให้เป็นอนุสรณ์ที่ดงวังแต่นั้นมา เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๖
ชาวอำเภอวังเหนือได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาดงวัง และหล่อรูปเหมือนพญาวัง โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบทำด้วยโลหะ และได้นำมาประดิษฐานไว้ ณ ศาลเจ้าพ่อพญาวัง เพื่อเป็นที่เคารพสักการบูชา
ของชาววังเหนือต่อไป