ประวัติค่ายสีหราชเดโชไชย
เดิมที่ดินบริเวณนี้เป็นที่ว่างเปล่า ซึ่งของกรมการสัตว์ทหารบก ขอสงวนใช้ที่ดินเมื่อปี ๒๕๐๓ เป็นพื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ และแปลงเลี้ยงสัตว์เพิ่มเติม จากแผนกผสมสัตว์ท่าพระ จังหวัดขอนแก่น มีขนาดพื้นที่ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่ เรียกว่า “ แปลงโคกหัวช้าง” ใน ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๓ จังหวัดขอนแก่น แจ้งว่ากรมที่ดินได้อนุมัติให้กรมการสัตว์ทหารบก ใช้ประโยชน์ในพื้นที่นี้ได้ กรมการสัตว์ทหารบก ส่งเรื่องนี้ให้หน่วยเหนือทราบ ครั้นเมื่อ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๐๖ ปลัดกกระทรวงกลาโหม มีหนังสือถึงคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติ เพื่อขอสงวนที่ดังกล่าวใช้ประโยชน์ โดยวัดขนาดพื้นที่ ได้ ๑,๑๙๘ ไร่ จนกระทั่ง ๙ กรกฎาคม ๒๕๐๗ ที่ประชุมของสานักงานคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติ ได้ลงมติให้ กองทัพบกใช้ประโยชน์ที่ขอสงวนไว้ได้ ซึ่งทางกองทัพบกโดย กรมยุทธโยธาทหารบก,จังหวัดทหารบกขอนแก่น และ กรมการสัตว์ทหารบก ร่วมกับพนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น ได้ดาเนินการปักหลักเขต กองทัพบก แล้วเสร็จเมื่อ ๗ เมษายน ๒๕๐๘ ต่อมาเมื่อ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๑๖ สานักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น เริ่มดาเนินทาการรังวัดที่ดิน เพื่อทาเอกสารสิทธิ์ จนกระทั่ง ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๓๒ กรมที่ดินได้ออกหนังสือสำคัญสาหรับที่หลวง เลขที่ ๔๐๘๒๔ มีเนื้อที่ ๑,๐๘๘ ไร่ ๑ งาน ๗๓.๓/๑๐ ตารางวา ใช้เวลาในการดาเนินการตั้งแต่รังวัดที่ดินจนถึงวันออกเอกสารสิทธิ์ทั้งสิ้น ๑๕ ปี ๗ เดือน และมีเนื้อที่ลดลงจากเดิม ที่ขอสงวนไว้ประมาณ ๑๐๙ ไร่ ๒ งาน ๒๖.๗/๑๐ ตารางวา ในปี ๒๕๒๕ กรมการบินพานิชย์ได้ขอใช้ที่ดินบางส่วนของค่าย เพื่อขยายทางวิ่งของสนามบินขอนแก่น จานวน ๒๘ ไร่ ๒ งาน ๒๐ ตารางวา อย่างไรก็ตามที่ดินส่วนนี้ ไม่กระทบกับที่ดินที่หน่วยขอสงวนไว้ใช้ เพราะอยู่ในส่วนที่ดินที่ลดลงไป และในปี ๒๕๓๐ กรมการบินพานิชย์พยายามขอใช้พื้นที่หน่วย เพื่อขยายทางวิ่งของสนามบินขอนแก่นอีก ๒๗๘ ไร่ ๑ งาน ๘๐ ตารางวา แต่กองทัพบกตอบขัดข้อง เนื่องจากจะทาให้พื้นที่ค่ายแบ่งเป็น ๒ ส่วน และไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ในปี ๒๕๒๙ หน่วยได้ทำการสำรวจรังวัดที่ดิน ของค่ายสีหราชเดโชไชยใหม่อีกครั้ง พบว่าแผนผังที่วาดใหม่มีรูปร่างต่างจากรูปแผนที่เดิมตาม หนังสือสำคัญสาหรับที่หลวงหลายจุด หน่วยจึงได้ร่วมกับ มณฑลทหารบกที่ ๒๓ ดาเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบเขตที่ดินให้ชัดเจน ในปี ๒๕๓๙ พบว่ามีความคลาดเคลื่อนกันทั้งทางทิศทาง ( มุม ) และระยะ ปี ๒๕๔๐ - ๒๕๔๑ ใช้แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ เปรียบเทียบกับรูปในแผนที่ใน หนังสือสำคัญสาหรับที่หลวง พบว่ามีความคลาดเคลื่อนจริงปี ๒๕๔๓ เริ่มทาการสำรวจใหม่ โดยไม่มีอ้างอิงเปรียบเทียบ กับข้อมูลการสำรวจปี ๒๕๑๖ แต่ใช้วิธีชี้เขตร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่หน่วย กับเจ้าของที่ดินข้างเคียง แล้วขึ้นรูปแผนที่ใหม่ เพื่อขอแก้ไขในหนังสือสำคัญสาหรับที่หลวง ให้ตรงความเป็นจริงในปัจจุบัน ซึ่งผลการรังวัดพบว่าเหลือที่ดินจริง