ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 30' 36.0119"
15.5100033
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 30' 22.2397"
104.5061777
เลขที่ : 159215
ขันหมากเบ็ง
เสนอโดย sasiwan2555 วันที่ 20 กันยายน 2555
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 20 กันยายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
1 3711
รายละเอียด

ขันหมากเบ็ง หรือ ขันหมากเบญจ์ คือพานพุ่มดอกไม้ที่ใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรม และบูชาพระรัตนตรัยในวันอุโบสถ หรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการนำไปบูชาวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยนำไปวางไว้ตามเสารั้ววัด หรือหลักเส (ธาตุ ทำด้วยไม้แก่น แกะสลักสวยงามเจาะให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาดสี่นิ้วฟุต สำหรับบรรจุอัฐิ) ซึ่งนิยมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และ
วันสงกรานต์

ลักษณะ

ขันหมากเบ็ง คือกรวย หรือ ซวย ใบตองที่ประกอบขึ้นเป็นสี่เหลี่ยมสันฐานกลมและประดับด้วยดอกไม้หรือเครื่องบูชา 5 อย่าง ได้แก่ หมาก พลู ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกไม้ อย่างละ 5 คู่ ใช้ใบตองทำเป็นซวย (กรวย) – บายศรี ใช้ใบตองรีดซ้อนกันให้เป็นรูปคล้ายเจดีย์ ทำเป็นสี่มุมรวมทั้งตรงกลางเป็น 5 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว สูง 6- 8 นิ้ว ประดับประตูด้วยเครื่อง 5 อย่าง ดังได้กล่าวแล้ว ไว้บนยอดแหลมของบายศรี-กรวย-ซวย เรียงลดหลั่นลงมาตามลำดับเพื่อความสวยงาม
ดอกไม้ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มักจะเป็นดอกไม้ขาวเช่น ดอกดาวเรือง (จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง) ดอกสามปีบ่อเหนี่ยว(ดอกบายไม่รู้โรย) เชื่อว่าจะทำให้อายุมั่น ขวัญยืน แต่ปัจจุบันเห็นนิยมใช้ดอกรัก (ทำให้เกิดความรัก) แต่ห้ามใช้ดอกสีขาวอย่างดอกจำปา(ดอกลีลาวดี) และที่สำคัญไม่ควรใช้ดอกไม้แดง เพราะถ้าหากใช้ดอกไม้แดงจะเป็นเครื่องบูชาผีไทขันหมากเบ็งที่นิยมทำและใช้ในการประกอบพิธีกรรมทั้งทางพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ

วัตถุประสงค์และการนำไปใช้

-ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย
-ใช้เป็นเครื่องสักการะอยู่ในเครื่องพลีกรรม ไหว้ครู บอกผี (เซ่นสรวงดวงวิญญาณ)
-บูชาวิญญาณบรรพบุรุษ โดยนำไปบูชาตามหลักเส (ธาตุ) ที่บรรจุอัฐิ (กระดูก)
-เป็นเครื่องให้พิจารณาเตือนคนได้ พิจารณาเบญจขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
รูป คือ ร่างที่คลุมรวมกันไว้ด้วยธาตุ 4 อันเป็นส่วนที่ปรากฏด้วยตา
เวทนา การเสวยอารมณ์ รู้สึกสุขเดือดร้อน เจ็บ แค้นใจ เบิกบาน เฉยๆ
สัญญา รู้และจำอารมณ์ที่ผ่านอวัยวะทั้ง 6 เข้ามาแล้วบันทึกไว้ในใจ
สังขาร สภาวะปรุงแต่งวิญญาณ ผู้ก่อกรรมเกิดรูปนามติดต่อไป
วิญญาณ รู้แจ้งอารมณ์ภายในที่สัมผัสปัจจัยภายนอก


นอกจากใช้ขันหมากเบ็ง เป็นเครื่องสักการระบูชาพระรัตนตรัยแล้ว ยังใช้ในการกราบไหว้ผู้ที่เคารพอย่างสูงอีกด้วย โดยมีเหตุผลว่า
-การกราบโดยทั่วไป เป็น “ นามธรรม ” (เพราะเมื่อกราบเสร็จเหตุการณ์ก็ผ่านไป)
- การกราบบูชาด้วยขันหมากเบ็ง เป็น “ รูปธรรม ” เพื่อให้การกราบคงอยู่ในรูปขันหมากเบ็ง
ดังนั้น การกราบบูชาด้วยขันหมากเบ็ง จึงเสมือนการกราบด้วยเบ็ญจางคประดิษฐ์ เป็นเครื่อง
เบ็ญจขันธ์
เวลาหลายปีที่ผ่านมา ชาวอุบลฯ ได้ใช้ขันธ์หมากเบ็งเพื่อสักการบูชา ตามความหมายดังกล่าวข้างต้น ในงานต่างๆ เช่น
-สักการะเทียนหลวงพระราชทาน งานประเพณีแห่เทียนพรรษา
-การบวงสรวงสักการะพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ผู้สร้างเมืองอุบล/เจ้าเมืองคนแรก
-ถวายสักการะ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์

- งานพิธีบายศรีเฉลิมพระขวัญฯภาพจำลองเคลื่อนที่ งานแห่เทียนพรรษาฯ
นอกจากนี้ยังใช้ขันหมากเบ็ง เป็นเครื่องสักการบูชาในวาระสำคัญต่างๆ อีกด้วย อาจจะกล่าวโดยสรุปด้วยได้ว่า “ การบายศรีสู่ขวัญ ” และการสักการบูชาด้วย “ ขันหมากเบ็ง” ชาวอีสานได้ยึดถือเป็นประเพณี และปฏิบัติสืบเนื่องมาตลอดถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ทรงคุณค่ายิ่งของชาวอีสาน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ชำนาญการในการจัดทำ “ พานบายศรี ” หรือ “ พาขวัญ ” และ “ ขันหมากเบ็ง” มีจำนวนน้อย และอายุมากแล้ว ควรที่จะมีการสืบทอดจัดกิจกรรม “ การพัฒนาอาชีพบายศรีอีสานแบบบูรณาการสู่ชุมชน ” เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานโดยนำมาประยุกต์กับศิลปะยุคใหม่ให้เกิดความประณีตสวยงาม อ่อนช้อย สร้างอาชีพ ให้เกิดรายได้แบบยั่งยืน เป็นการส่งเสริม
“ วัฒนธรรมาชีพ ” ก่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ตลอดไป

อานิสงส์การถวายหมากเบ็งบูชา

คำว่า หมากเบ็ง หมายถึง เครื่องเซ่นต่างๆ ที่ใช้ในพิธียกครู หรือไหว้ครู บูชาเทพเจ้าที่สูงสุด ประกอบไปด้วยดอกไม้ หมากพลูเป็นต้นแต่เดิมประเพณีนี้เป็นของพราหมณ์อินเดีย เมื่อไทยเรารับเอาวัฒนธรรมต่างๆที่ปนมากับพระพุทธศาสนาในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ ราชคฤห์ ทรงราปรภพระเจ้าพิมพิสาร ผู้ทรงถวายหมากเบ็งบูชา โดยเป็นใจความว่าในสมัยหนึ่งพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงตบแต่งดอกไม้ของหอมและขันหมากเบ็งมีข้าวพันก้อนเป็นต้นด้วบความประณีต เสด็จไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
เมื่อถวายเสร็จแล้วพระองค์ได้กราบทูลถามถึงอานิสงส์ของการถวายหมากเบ็งบูชาว่ามีเป็นประการใดพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “ดูกรมหาบพิตร การบูชาด้วยหมากเบ็งนั้น มีอานิสงส์เป็นลำดับชั้นตามขั้น หมากเบ็งคือ เมื่อสิ้นชีวิตแล้วจะไปอุบัติในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช เมื่อเครื่องจากสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชแล้วก็ไปอุบัติขึ้นในชั้นดุสิต เมื่อเคลื่อนจากชั้นดุสิตแล้วจะไปอุบัติชั้นยามา เมื่อเคลื่อนจากชั้นยามาแล้วจะไปอุบัติชั้นนิมมานรดี เมื่อเคลื่อนจากชั้นนิมมานรดีแล้วจะไปอุบัติขึ้นในชั้นปรนิมมิตวสวัตดี จนถึงชั้นกามาวจรภพเป็นที่สุด เสวยทิพยสมบัติอยู่ในเทวโลก นาน 9 ล้านปี มีนางเทพธิดาแวดล้อมเป็นบริวารมีวิมานอันงามวิจิตร และเมื่อมาเกิดในแดนมนุษย์ จะมีรูปร่างสิริโฉมงดงามยิ่งนัก ด้วยประการฉะนี้

สถานที่ตั้ง
กลุ่มแม่บ้าน บ้านโนนรัง
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านโนนรัง
ตำบล โนนรัง อำเภอ เขื่องใน จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
กลุ่มแม่บ้าน บ้านโนนรัง
บุคคลอ้างอิง ศศิวัณย์ เฉลิมศิริหล้า อีเมล์ sasiwan1@hotmail.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเขื่องใน อีเมล์ sasiwan1@hotmail.co.th
ตำบล เขื่องใน อำเภอ เขื่องใน จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34150
โทรศัพท์ 085-9297894
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่