ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 49' 18.5909"
17.8218308
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 33' 39.047"
102.5608464
เลขที่ : 160472
ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม
เสนอโดย หนองคาย วันที่ 24 กันยายน 2555
อนุมัติโดย หนองคาย วันที่ 24 กันยายน 2555
จังหวัด : หนองคาย
0 795
รายละเอียด

ญวนคนญวนหรือคนไทยเชื้อสายเวียดนามส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่อำเภอท่าบ่อ อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์และประเทศเวียดนาม คราวแรกน่าจะเป็นการอพยพในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อครั้งที่ไทยทำสงครามกับเวียดนามคงมีการกวาดต้อนเอาพลเมืองญวนมายังฝั่งไทยบ้าง ต่อมาคงมีชาวญวนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเวียงจันทน์มากในสมัยรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสได้เวียงจันทน์และล้านช้างเป็นเมืองขึ้น พระกุประดิษฐ์บดี (ชาลี, สาลี) เจ้าเมืองจันทบุรี (เวียงจันทน์) จึงพาราษฎรอพยพมาอยู่ที่บ้านท่าบ่อเกลือเป็นเมืองท่าบ่อเกลือหรืออำเภอท่าบ่อ ในปัจจุบันและสุดท้ายในช่วงสงครามอินโดจีนราษฎรเมืองเวียงจันทน์หลบหนีภัยสงครามในเวียงจันทน์และเวียดนามมาอาศัยอยู่ทางฝั่งเมืองหนองคายมากขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒

ดังนั้น ตัวเมืองท่าบ่อปัจจุบันซึ่งได้ชื่อว่ามีครอบครัวชาวญวนอยู่อาศัยหนาแน่นมากที่สุดและยังรักษา ขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้อย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะภาษาพูดซึ่งต่างกับภาษาถิ่นอีสานทั่วไป ยังคงเป็นภาษาที่คนญวนใช้พูดคุยกันในกลุ่มชาวญวนด้วยกันเอง เด็กหนุ่มสาวก็ยังคงพูดญวนเช่นเดียวกับปู่ย่า ตายาย ผิดแต่ว่าถ้าหนุ่มสาวชาวญวนพูดคุยกันเองจะใช้ภาษาถิ่นไทอีสานหรือพูดไทยภาคกลางแทน

คำที่ใช้เรียกอาหารญวนก็คงได้รับการเรียกขานกันอยู่ในปัจจุบัน เพราะอาหารญวนมีลักษณะที่เหมือนอาหารอีสาน ทั้งยังเป็นที่นิยมซื้อหารับประทานกันโดยทั่วไปโดยเฉพาะในเขตอำเภอท่าบ่อ เช่น บั่นแบ๋ว กะญอ ข้าวเปียกญวน เป็นต้น

หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
ตำบลท่าบ่อ
ตำบล ท่าบ่อ อำเภอ ท่าบ่อ จังหวัด หนองคาย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคล
บุคคลอ้างอิง นายสุรศักดิ์ โสตะวงศ์
ชื่อที่ทำงาน เทศบาลตำบลเมืองท่าบ่อ
ตำบล ท่าบ่อ อำเภอ ท่าบ่อ จังหวัด หนองคาย รหัสไปรษณีย์ 43110
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่