ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 25' 5.6172"
17.4182270
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 6' 35.572"
104.1098811
เลขที่ : 164127
การทำผ้าย้อมคราม
เสนอโดย นครพนม วันที่ 12 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย นครพนม วันที่ 12 ตุลาคม 2555
จังหวัด : นครพนม
1 705
รายละเอียด

1. เก็บเกี่ยวใบครามที่มีอายุประมาณ 4 เดือน (หรือสังเกตที่ปลายใบครามจะมีหยดหรือชาวบ้านเรียกว่าแต้มมีสีน้ำเงิน)

2. นำใบครามแช่หรือหมักในถังภาชนะหรือโอ่ง ไห แช่ประมาณ 24 ชั่วโมง ( 1 คืน ) เพื่อให้ใบครามยุ่ย อิ่มตัว และสามารถปั้นเอาน้ำครามจากใบครามได้

3.ปั้นน้ำออกจากใบคราม ( ปั้นคราม ) จะได้น้ำครามสีน้ำเงิน

4. นำปูนขาวหรือปูนแดง (ปูนสำหรับกินหมาก) มาผสมกับน้ำใบคราม (ปูนที่นำมาผสมโดยประมาณขึ้นอยู่กับความชำนาญของช่างฝีมือพื้นบ้านถ้าส่วนผสมได้ที่น้ำใบครามจะมีสีน้ำเงิน( ชาวบ้านเรียกว่าหม้อมา ) แต่ถ้าปูนนำมาผสมมากไปน้ำใบครามจะออกเทา ๆ

5.ผสมน้ำดั่งกับน้ำเบือกเก่าที่เก็บไว้ ปริมาณ 1 ถ้วย ต่อน้ำเบือกปริมาณ 2 อุ้งมือ ( 1 ต่อครึ่งถ้วย) ผสมให้เข้ากันโดยการรินหรือเทเท่านั้น

6.ผสมน้ำโซ่ลงในหม้อคราม ปริมาณ 2 ถ้วย และผสมให้เข้ากัน โดยการรินหรือการเทผสมเท่านั้น

7.น้ำครามที่ได้จากการผสม ปูนแดง น้ำดั่งและน้ำโช่แล้วจะเป็นน้ำครามที่พร้อมจะย้อมสีครามต่อไป ชาวบ้านจะเรียกว่าน้ำหม้อ

8.ก่อนการย้อมผ้าคราม ชาวบ้านจะเก็บน้ำครามไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อเป็นน้ำเชื้อสีครามของหม้อครามต่อไป ขั้นตอนนี้จะทำในทุกๆหม้อที่มีการย้อมผ้า (ถ้ามีหลายหม้อ หรือหลายปาก ) และเทกลับเข้าไว้ที่หม้อเหมือนเดิม โดยทำการผสมโดยการรินหรือเทเหมือนเดิม ด้วยความรู้สึกที่ว่าเมื่อมีการย้อมผ้าในหม้อครามแล้ว จะทำให้สีที่อยู่ในหม้อครามถูกดูดซับไป ทำให้สีจางลง จึงมีการเพิ่มน้ำสี (น้ำหม้อ )กลับคืนที่หม้อเดิม

9.การย้อมคราม จะนำผ้าที่ผ่านการแช่หรือหมัก นำมาทุบให้เนื้อฝ้ายแตกตัวแล้ว มาย้อมลงในหม้อคราม บิดให้แห้งและทำความสะอาดด้วยน้ำที่ผสมนำยาปรับผ้านุ่ม และสีกันตกอีกครั้งหนึ่งนำผ้าที่ผ่านการล้างทำความสะอาดแล้วไปตากหรือผึ่งแดดให้แห้ง ก่อนที่จะนำไปสู่ขบวนการกวักด้วยอักและปั่นเป็นเส้นด้ายด้วยหลาต่อไป

10.น้ำครามที่ผ่านการย้อมสี ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อให้น้ำใบครามตกตะกอนชาวบ้านจะเทส่วนที่เป็นน้ำใสทิ้งไป จะเก็บรวมกันไว้เฉพาะน้ำที่ตกตะกอนเท่านั้น ชาวบ้านเรียกน้ำนี้ว่าน้ำเบือก น้ำเบือกเป็นน้ำครามที่ตะตะกอนและผ่านการย้อมสีแล้ว จะเป็นตะกอนน้ำที่มีคุณค่ามากในการทำน้ำย้อมผ้าคราม และซื้อขายกันในราคาสูง ถ้าไม่มีน้ำเบือกหรือน้ำเชื้อ จะทำให้เสียเวลาในการย้อมสีมาก ต้องนำใบครามมาหมักทำน้ำเบือกใหม่โดยแช่ใบครามทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือนจึงจะเป็นน้ำเบือกที่พร้อมใช้งาน

11.น้ำฝ้ายที่ตากแห้งแล้วมาปั่นด้วยอัก และหลาเพื่อให้เป็นเส้นด้ายต่อไป การย้อมสีผ้าฝ้าย จะมี 2 ลักษณะ ได้แก่ การย้อมสีพื้น และการย้อมสีมัดหมี่

สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านโนนสะอาด
ตำบล นางัว อำเภอ นาหว้า จังหวัด นครพนม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บ้านโนนสะอาด ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม
ถนน อภิบาลบัญชา
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครพนม จังหวัด นครพนม รหัสไปรษณีย์ 48000
โทรศัพท์ 042516050 โทรสาร 042516187
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่