ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 57' 21.1971"
15.955888082660106
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 7' 10.3645"
104.11954568559426
เลขที่ : 166386
การทอเสื่อกก
เสนอโดย ยโสธร วันที่ 30 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ยโสธร วันที่ 19 ธันวาคม 2555
จังหวัด : ยโสธร
0 1464
รายละเอียด

การทอเสื่อกก เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในชนบทภาคอีสานที่รักษาสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ซึ่งนางซาที่พันธ์ศรี ที่มีอาชีพทอเสื่อกกก็ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจากมารดา โดยทอมาแล้วประมาณ ๔๐ ปี

การทอเสื่อกก สามารถทอเพื่อใช้เป็นของฝากให้กับญาติพี่น้องได้เป็นอย่างดี และยังสามารถทอเพื่อจำหน่ายได้ ราคาผืนละ ๘๐๐ - ๙๐๐ บาท ต่อผืน สำหรับลานเสื่อกกสามารถเลือกได้ตามที่ต้องการ และมีลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น

วิธีการทอเสื่อกก
ขั้นตอนที่ 1 การสอยต้นกก

1. ตัดต้นกกสด
2. คัดเลือกต้นกกที่มีขนาดเท่ากันไว้ด้วยกัน
3. นำต้นกกที่คัดแล้วมาสอยเป็นเส้นเล็กโดยใช้มีดปลายแหลมคม(มีดแกะสลัก)
4. นำเส้นกกที่สอยแล้วมาผึ่งแดด ให้แห้ง(ถ้าเป็นไปได้ต้องเป็นแดดที่กล้าจัด)
5. นำเส้นกกสอยที่ตากแห้งแล้วมากมัดเป็นมัด ๆ รอการย้อมสี

ขั้นตอนที่ 2 การย้อมสี

1. เลือกซื้อสีสำหรับย้อมกกสี่ต่าง ๆ ที่มีสีสันสวยงาม เช่น สีแดง สีชมพู สีเหลือง สีม่วง สีดำ สีเขียว เป็นต้น
2. ก่อไฟโดยไฟที่ใช้ต้องสม่ำเสมอ
3. นำปี๊ป หรือกระทะใส่น้ำพอประมาณท่วมเส้นกกนำมาตั้งบนเตารอให้น้ำเดือด
4. พอน้ำเดือดก็นำสีที่เลือกมาเทลง
5. นำเส้นกกที่คัดเลือกแล้วลงย้อมจนเพียงพอที่จะใช้ในการทอ
6. นำเส้นกกที่ย้อมสีแล้วลงล้างในน้ำเปล่าแล้วนำไปตากแดดที่จัดจนแห้ง
7. นำเส้นกกที่ย้อมสีตากแห้งแล้วมากเก็บมัดรวมกัน โดยแยกเป็นสี แต่ละสี


ขั้นตอนที่ 3 การทอเสื่อกกลายขิด ลายพื้นบ้านและลายบา
1. กางโฮงที่ทำสำเร็จรูปแล้วมากาง (โฮงที่ใช้ขนาดทอคนเดียว)
2. นำเชือกในลอนสำหรับทอเสื่อมาโยงใส่ฟืมจนเสร็จ
3. ฟืมที่ใช้ต้องมีขนาดเท่ากับเส้นกกและฟืมแต่ละฟืมก็อาจจะใช้ทอลายไม่เหมือนกัน4. นำเส้นกกที่ย้อมสีตามจนแห้งแล้วนำมาทอเสื่อลายขิดตามต้องการซึ่งมีหลายลายด้วย
5. นำเส้นกกที่สอยและย้อมสีแล้วเลือกว่าจะใช้สีใดบ้างที่จะทอเสื่อ
6. เลือกลายแล้วเริ่มทอจนเป็นแผ่น
7. พอทอเสร็จก็ตัดแล้วหลังจากนั้นก็นำไปตากแดดเพื่อให้สีไม่ออก
8. หลังจากนั้นก็นำมาเก็บในที่ร่ม


ขั้นตอนที่ 4 การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกลายต่าง ๆ
1. เสื่อที่พิมพ์แล้วนำมาเย็บต่อเป็นผืนโดยใช้จักรเย็บ
2. ออกแบบผลิตภัณฑ์
2.1 ออกแบบกระเป๋าต่างๆ
2.2 ออกแบบที่รองจาน
2.3 ออกแบบที่รองถาด
2.4 ออกแบบที่รองโต๊ะ
2.5 ออกแบบที่แขวนฝาผนัง
2.6 ออกแบบกล่องใส่กระดาษทิชชู
2.7 ออกแบบที่รองแก้ว
3. นำกระดาษแข็งที่เตรียมไว้แล้วมาตัดแบบตามที่ออกแบบ
4. นำเสื่อที่ทอไว้แล้วมาตัดตามแบบที่ออกไว้5
5. นำเสื่อที่ตัดเอาไว้ตามแบบแล้วนำมาเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้ออกแบบเอาไว้

สถานที่ตั้ง
บ้านคำครตา
เลขที่ ๑๕/๓ หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ ๓ บ้านคำครตา
ตำบล ดงมะไฟ อำเภอ ทรายมูล จังหวัด ยโสธร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอทรายมูล
บุคคลอ้างอิง นายบุญจันทร์ ป้องศรี
ชื่อที่ทำงาน ที่ทำการผู้
เลขที่ ที่ทำการผู หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ ๓ บ้านคำครตา
ตำบล ดงมะไฟ อำเภอ ทรายมูล จังหวัด ยโสธร รหัสไปรษณีย์ 35170
โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๖๖๑๖
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่