ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 42' 0.8546"
16.7002374
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 32' 7.4972"
98.5354159
เลขที่ : 16713
แหล่ส่างลอง
เสนอโดย Manop Chuenphakdi วันที่ 21 มกราคม 2554
อนุมัติโดย Takculture วันที่ 1 ธันวาคม 2554
จังหวัด : ตาก
1 238
รายละเอียด

แหล่ เป็นภาษาไทใหญ่ว่าหมายถึง แห่ ส่างลอง หมายถึง ลูกแก้ว ชาวไทใหญ่และชาวไทยผู้นับถือพุทธศาสนาในเขตอำเภอแม่สอด มักจะบวชเณรลูกหรือหลานของตนเองในช่วงปิดภาคเรียนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกๆ ปี เนื่องจากว่างจากการทำงานและลูกหลานไม่ได้ไปโรงเรียน ทั้งต้องการให้ลูกหลานมีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าในช่วงปิดเทอม การจัดงานบวชลูกแก้ว (แหล่ส่างลอง)) นั้น ถือว่าผู้ที่บวชลูกชายตนเองจะได้บุญหรืออานิสงส์มากถึง ๗ กัลป์ ถ้าบวชลูกชายคนอื่นจะได้บุญ ๔ กัลป์ และถ้าได้บวชลูกชายตนเองเป็นพระภิกษุ จะได้บุญ ๑๖ กัลป์ ถ้าบวชลูกชายคนอื่นเป็นภิกษุจะได้บุญ ๘ กัลป์ จึงมักจะมีผู้ที่มีฐานะดีหลายคนนิยมหาเด็กผู้ชายมาบวช โดยจะไปทาบทามจากผู้ปกครองที่มีฐานะยากจนและถือเป็นการสร้างบุญกุศลร่วมกัน ลักษณะการบวชเณรของชาวแม่สอดจะมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ๑) แบบข่านหลิบ (บวชแบบเรียบง่าย) คือผู้ที่ตกลงใจบวช พ่อแม่ผู้อุปถัมภ์ก็จะนำผู้ที่จะบวชไปโกนหัวนุ่งผ้าขาวพร้อมด้วยสำรับกับข้าวแบบข้าวหม้อแกงหม้อ ไปวัดให้กับพระภิกษุสงฆ์ทำพิธีบวชเณรให้ก็เป็นอันเสร็จ ๒) การบวชเณรโดยมีการแหล่ส่างลอง (แห่ลูกแก้ว)ซึ่งจะมีการแต่งตัวให้กับลูกแก้วอย่างสวยงาม มีการตกแต่งปะรำพิธี โดยแต่งตัวให้เด็กในลักษณะของส่างลองอย่างสวยงามเมื่อพร้อมกันหมดแล้วส่างลองทั้งหมดก็จะไปรับศีลจากพระ จากนั้นก็จะนำส่างลองขี่คอ(ถ้าเด็กตัวเล็ก) ขี่ม้า ขี่ช้าง นั่งรถ ที่ตกแต่งอย่างสวยงามแห่แหนไปรอบตัวเมืองแม่สอด ขบวนแห่จะมีการละเล่น มีดนตรีของพม่าประกอบการแห่อย่างครึกครื้น มีการเอาส่างลองเดินพร้อมกับโปรยข้าวตอกดอกไม้อย่างสนุกสนาน ขบวนส่างลองจะถูกนำไปยังบ้านของพ่อแม่หรือผู้ที่บวชเพื่อให้ดูตัว (ส่างลองจะไม่กราบไหว้ผู้บวชให้นอกจากพ่อแม่เท่านั้น เพราะถือว่าส่างลองคือเจ้าชายผู้มีบุญอันยิ่งใหญ่มีศักดิ์สูงมาก) แล้วจะแห่ส่างลองไปยังศาลเจ้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ที่ตลาดเหนือของอำเภอแม่สอดแล้วจึงแห่กลับมาที่วัด ถ้าต้องการแห่หลายรอบก็ใช้เวลา ๒ วัน ถ้าแห่รอบเดียวก็ใช้เวลา ๑ วัน เมื่อมาถึงวัดก็จะนำส่างลองไปโกนผม อาบน้ำแต่งตัวด้วยผ้าขาว แล้วจัดสำรับกับข้าวด้วยอาหาร ๑๒ อย่าง ขาดเกินไม่ได้ เสร็จแล้วจึงมีการทำขวัญแล้วทำการบวชเณร การบวชมักนิยมบวชกันตอนเย็น หรือไม่ก็ตอนเช้า เมื่อบวชเณรแล้วก็จะมีการฉลองโดยการถวายภัตตาหารแก่พระใหม่และพระภิกษุของวัดทั้งหมด ตลอดจนมีการเลี้ยงผู้มาร่วมงานอย่างเต็มที่รับฟังธรรมะ จึงเป็นอันเสร็จพิธี

สถานที่ตั้ง
บ้านท่าสายลวด
ตำบล ท่าสายลวด อำเภอ แม่สอด จังหวัด ตาก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เทศบาลตำบลท่าสายลวด
บุคคลอ้างอิง นากยกเทศมนตรีตำบลท่าสายลวด
ชื่อที่ทำงาน เทศบาลตำบลท่าสายลวด
ตำบล ท่าสายลวด อำเภอ แม่สอด จังหวัด ตาก
โทรศัพท์ 055563043 โทรสาร 055563169
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่