ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 58' 46.42"
14.9795611
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 33' 56.9236"
101.5658121
เลขที่ : 168964
ภูมิปัญญาการเพาะเห็ดฟาง บ้านซับชุมพล
เสนอโดย am(Pornthip) วันที่ 26 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย นครราชสีมา วันที่ 6 ธันวาคม 2555
จังหวัด : นครราชสีมา
0 1170
รายละเอียด

เห็ดฟาง เป็นพืชอาหารชนิดหนึ่งที่ชาวไทยนิยมรับประทานกันมากและทั่วไปเป็นพืชที่มีรสชาติดี แล้วยังมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด และมีคุณสมบัติทางยารักษาโรคบางอย่างได้ ผู้ที่รับประทานเห็ดฟางเป็นประจำ จะทำให้กรดไขมันในเส้นเลือดไม่สูงหรือต่ำเกินไป คุณค่าทางอาหารของเห็ดฟาง เห็ดจะมีเกลือแร่โปรตีนสูง เมื่อเทียบกับผักชนิดต่าง ๆ

ขั้นตอนการผลิต

๑) การเตรียมโรงเรือน

- สร้างโรงเรือน ใช้ผ้าเขียวคลุมโรงเรือนและคลุมด้วยแสลนทับอีกชั้น

- ด้านในทำชั้นวางเป็นฝั่งละ ๓ แถว แถวละ ๔ ชั้น โดยการใช้ไม้รวกปูพื้นแต่ละชั้น

๒) กระบวนการ/ชั้นตอนในการเพาะเห็ดฟาง

- นำผ้าพลาสติกปูรองพื้น เพื่อใช้สำหรับรองพื้นในการผสมเชื้อเห็ด

- นำกากเปลือกมันสำปะหลัง กากน้ำตาล กากแป้ง ผสมกับปุ๋ยขี้วัว ปุ๋ยหัววัวคันไถ ปุ๋ยยูเรีย วิตามิน สำหรับหมัก อาหารแดง อาหารเหลือง คลุกเคล้าให้เข้ากัน (พักไว้)

- แยกกองหมักออก เป็น ๒ กอง

- รดน้ำบนกองหมัก ที่ ๑ นำปูนขาวโรย แล้วนำฟางคลุมทับ เดิมกากเปลือกมันที่พักไว้ โรยรำอ่อนคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำปูนขาวโรย แล้วนำฟางคลุมทับ

- เดิมกากเปลือกมันที่พักไว้ โรยรำอ่อน คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำปูนขาวโรย แล้วนำฟางคลุมทับ อีกครั้ง

- รดด้วย EM ที่ผสมน้ำแล้ว คลุมด้วยผ้ายาง และหมักทิ้งไว้ ประมาณ ๑๕ วัน

- นำฟางข้าวปูรองพื้น ในโรงเรือน แต่ละชั้นความหนา ๔ – ๕ นิ้ว

- นำกากเปลือกมันที่หมักไว้ โรยทับบนฟางข้าว ความหนา ๔ – ๕ นิ้ว สังเกตดูหากส่วนผสมที่หมักไว้แห้ง ให้ทำการรดน้ำพอชุ่ม

- ใช้ไอน้ำจากเตาอบไอน้ำ โดยต่อท่อเข้าไปในโรงเรือน รักษาอุณหภูมิที่ ๔๕ องศา นาน ๒๔ ชั่วโมง

- ใช้ไอน้ำจากเตาอบไอน้ำเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ อบให้ได้อุณหภูมิ ๗๐ องศา นาน ๖ ชั่วโมง

- พักไว้ ๑ วัน โดยรักษาอุณหภูมิประมาณ ๓๕ องศา

- นำเชื้อเห็ดฟางไปโรยบนชั้นที่เตรียมไว้แล้ว ( ๑ ชั้น / ๒๐ ก้อน ) รดน้ำพอประมาณ

- ปิดโรงเรือนรักษาอุณหภูมิประมาณ ๓๒ – ๓๘ องศา นาน ๓ วัน

- เปิดโรงเรือนระบายอากาศ จะเห็นใยเห็ดขึ้นฟู เดินบนชั้นเพาะเห็ด รักษาอุณหภูมิประมาณ

๓๒ – ๓๘ องศา นาน ๒ วัน

- ระบายอากาศเพิ่ม ฉีดน้ำที่ผสมวิตามินสำหรับตัดใยเพื่อให้เส้นใยยุบตัวลง และเพื่อช่วยลดอุณหภูมิ

ปิดโรงเรือนทิ้งไว้ ๓ วัน รักษาอุณหภูมิ 28-32องศาเซลเซียส

- เห็ดจะเริ่มออกดอก รักษาอุณหภูมิ 28-32องศาเซลเซียสไปเรื่อย ๆ จนเก็บดอกหมด (ในช่วงนี้ให้เริ่มสังเกตอากาศ ถ้าร้อนก็ให้ระบายอากาศออกบ้าง เพราะถ้าร้อนมากเห็ดจะเน่า)

- เมื่อเก็บเห็ดฟางหมดแล้วก็เก็บวัสดุที่ใช้แล้วออก

- ล้างทำความสะอาดโรงเรือนเห็ด โรยปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อ แล้วจึงลงเห็ดฟางรุ่นใหม่
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

๑. ควบคุมอุณหภูมิของโรงเรือนเห็ดฟางให้เหมาะสม

๒. วัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟางจะต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ / ฤดูกาลต่าง

๓. โรงเรือนที่เพาะเห็ดฟางจะต้องพักบ้าง และทำความสะอาด ประมาณ ๕ – ๗ วัน


เทคนิคการเพาะเห็ดฟางให้ดอกโต สมบูรณ์ :

๑. ช่วงการเตรียมเชื้อเห็ดฟาง ให้ขยี้เชื้อเห็ดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วใส่ในภาชนะ ทุกๆ ๑ กิโลกรัมให้ผสมฮอร์โมนผง(สีขาว) จำนวน ๑ ฝา / ก้อนเชื้อเห็ด ๓ ก้อน คนให้เข้ากัน ก่อนนำก้อนเชื้อเห็ดฟางไปใช้เพาะ จะช่วยให้เชื้อราเห็ดเดินดีแข็งแรง

๒. ในช่วงขั้นตอนที่ทำการเพาะเห็ด หลังจากนำเชื้อเห็ดใส่กับฟางหรือวัสดุเพาะอื่นๆแล้วตามปกติจะต้องใช้น้ำเปล่ารดด้วยให้ชุ่ม ให้ผสมอาหารเสริม (ฮอร์โมนเร่งใย) ๑ ฝา ลงในน้ำเปล่า ๕ ลิตร คนให้เข้ากัน แล้วใช้น้ำดังกล่าวรดแทนการใช้น้ำเปล่าจำนวน ๑ ครั้ง จะเป็นตัวช่วยเสริมความแข็งแรงเชื้อราเห็ด และช่วยให้ดอกเห็ดสมบูรณ์โตเร็ว

สถานที่ตั้ง
กลุ่มการเพาะเห็ดฟาง บ้านซับชุมพล
เลขที่ 343/2 หมู่ที่/หมู่บ้าน 9
ตำบล หนองหญ้าขาว อำเภอ สีคิ้ว จังหวัด นครราชสีมา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางปอน แดงจันทึก
ชื่อที่ทำงาน ประธานกลุ่มเพาะเห็ดฟางบ้านซับชุมพล
เลขที่ 343/2 หมู่ที่/หมู่บ้าน 9
ตำบล หนองหญ้าขาว อำเภอ สีคิ้ว จังหวัด นครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30140
โทรศัพท์ 0856312937
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่