ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 9' 35.3945"
17.1598318
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 9' 45.6718"
104.1626866
เลขที่ : 172469
พระใหม่โปรยทาน
เสนอโดย ชมรมคนรักวัฒนธรรมไทยสกลนคร วันที่ 9 ธันวาคม 2555
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 9 ธันวาคม 2555
จังหวัด : สกลนคร
0 412
รายละเอียด

ในวันอุปสมบท
ครั้นรุ่งเช้า เจ้าภาพจึงจัดแจงตั้งขบวนแห่นำนาคไปวัด มีการถวายภัตตาหารเช้าหรือภัตตาหารเพลแก่พระที่วัด ต่อจากนั้นจึงแห่นาครอบโลสถ์ ๓ รอบ โดยมีคนกางร่มหรือกลดบังแดดให้
ในขบวนแห่นี้ ให้เจ้านาคถือดอกไม้ธูปเทียนพนมไว้ในมือ มารดาอุ้มไตร บิดาสะพายบาตร สำหรับหมอนนั้นนิยมให้คนรักหรือแฟนเจ้านาคเป็นคนอุ้ม ชาวบ้านมักจะคอยดูว่าสาวคนไหนจะเป็นคนอุ้มหมอนให้เจ้านาค ส่วนข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ นั้นผู้มาร่วมงานก็แบ่งกันถือ คนเฒ่าคนแก่ที่มาร่วมอนุโมทนามักจะเข้ามาสับเปลี่ยนกันถือไตรและบาตร เชื่อกันว่าได้บุญมาก
การวันทาเสมา และโปรยทาน
เมื่อเวียนรอบโบสถ์ครบ ๓ รอบแล้ว ก่อนเข้าโบสถ์เจ้านาคต้องจุดธูปวันทาเสมาแล้วจึงโปรยทาน ต่อจากนั้นจึงพาตัวเจ้านาคเข้าโบสถ์

การนำนาคเข้าโบสถ์
เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตามความเชื่อเกี่ยวกับโชคลาง คือเมื่อวันทาเสมาแล้ว ต้องรีบนำเจ้านาคเข้าโบสถ์ ไม่ควรชักช้าโอ้เอ้ เพื่อป้องกันเหตุร้ายหรือเภทภัยที่อาจทำให้ไม่สามารถบวชได้ เช่น มีมารคอยผจญมาคอยขัดขวาง บรรดาญาติพี่น้องจะต้องช่วยกันอุ้มนาคเข้าโบสถ์โดยไม่ให้เท้าของเจ้านาคเหยียบธรณีประตูโบสถ์ หลังจากนำนาคเข้าโบสถ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่างก็มีความสบายอกสบายใจเพราะเท่ากับทุกสิ่งทุกอย่างผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
การโปรยทาน หมายถึง การสละเงินทองทรัพย์สมบัติเป็นทานแก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน โดยถือคติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสละราชย์สมบัติออกผนวช ไม่ปรารถนาแม้ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน การโปรยทานก่อนเข้าโบสถ์เป็นการแสดงว่าต่อจากนี้ไปนาคได้สละสมบัติทุกอย่างแล้ว เพื่อดำเนินชีวิตตามแบบอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนั้น การโปรยทานยังเป็นการสอนคนให้รู้จักเสียสละโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น

สถานที่ตั้ง
วัดสะพานคำ
ถนน เจริญเมือง
ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พระอาจารย์มหาคาวี สร้อยสาคำ(ญาณสาโร)วัดสะพานคำ
บุคคลอ้างอิง ชมรมคนรักวัฒนธรรมไทย สกลนคร อีเมล์ sathap_ws@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
ถนน ศูนย์ราชการ
ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000
โทรศัพท์ 042-716247
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่