ชื่อ นายคำ บัวจูม
ประวัติส่วนตัว เกิดวันที่ - 2471 อายุ 84 ปี ทีอยู่ปัจจุบันเลขที่ 34 หมู่ที่ 5 บ้านนาเจริญใน ตำบลคันไร่ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 34350 โทรศัพท์ 085-7668602
ความสำคัญ เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านงานจักสาน จากไม้ไผ่ หวาย ปาน และงานไม้ เช่น เครื่องมือหากิน เครื่องมือดักนก กรงนกเขา แกะสลักงานไม้ ปลัดขิก เรียนรู้จากพี่ชายในสมัยเป็นเด็ก ประกอบเป็นอาชีพ จำหน่ายตามขนาดของงานจักสาน ส่วนปลัดขิกที่ทำจากดอกรัก ไม้ยม จำหน่ายในราคาอันละ 20-100 บาท
ประวัติความเป็นมาของปลัดขิก ตำราการสร้างปลัดขิกของอาจารย์หนึ่งท่านว่าให้เอาแก่นคูณ (คูณเป็นชื่อเรียกไม้ชนิดหนึ่งของจังหวัดภาคเหนือ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า CASSLA FISTULA, LINN, เนื้อไม้สีแดงแกมเหลือง รสฝาดใช้กินแทนสีเสียดและใช้ฟอกหนัง) มาแกะเป็นรูปปลัดขิกเมื่อแต่งเป็นรูปปลักขิกเมื่อแต่เป็นอันดีแล้วจึงลง อะ, อุ, มะ ตรง ประธานปลัดขิก (อะ, อุ, มะ ประกอบเป็นเสียงว่า “โอม” ใช้เป็นคำที่นมัสการพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามคือ พระพรหม พระวิษณุนารายณ์ และพระศิวะอิศวร) ต่อมาจึงลงหัวใจโจรคือ กันหะเนหะ ที่ตัวปลัดขิก เสร็จแล้วท่านมีวิธีกรรมให้ตั้งจิตเป็นสมาธิ เสกด้วยพระคาถาตามคัมภีร์มีกำหนดเสกกี่เที่ยวกี่หนตามกำลังวันที่ทำปลัดขิกนั้น
เมื่อปลัดขิกสำเร็จตามตำรับนี้แล้วจะมีสรรพคุณทางป้องกันโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ยังปรากฏพระคณาจารย์เจ้าอีกรูปหนึ่งคือหลวงพ่ออี๋แห่งวัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรีปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋มีทหารเรือหลายคนได้ประสบอภินิหารมาแล้ว คือสามารถป้องกันภัยจากฉลามเสือร้ายของทะเลได้โดยเจ้าปลาผู้ชอบบริโภคเนื้อมนุษย์นั้น ไม่กล้าย่างกรายเข้ามาใกล้ผู้มีปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋เลย ปัจจุบันเป็นที่นิยมหากันมากทั้งของสองอาจารย์ดังกล่าวนั้น
การที่เกจิอาจารย์ท่านกำหนดเอาอักขระหัวใจโจรคือ กันหะ เนหะ เป็นคาถาจำหลักลงบนตัววัสดุอาถรรพณ์ปลัดขิกนั้น สันนิษฐานว่าท่านจะถือเป็นเคล็ดว่าโจรนั้นเป็นผู้ฆ่าเป็นผู้ทำลายแต่ฝ่ายเดียว การที่จะแก้อาถรรพณ์ทางเจ็บป่วย และเสนียดจัญไรที่มองไม่เห็นตัวที่จะมาสู่ด้านต่าง ๆ ทุกทางนั้น ต้องอาศัยการฆ่า การทำลายสิ่งนั้นด้วยหัวใจของโจร ประกอบกับการปลูกเสกด้วยอาคมอันมีถ้อยคำพิสดารหลายอย่างหลายวิธีด้วยกัน วัสดุอาถรรพณ์หรือท่านปลัดขิกนั้นจึงมีสรรพคุณขลังเป็นที่นิยมของชนทั่วไปปรากฏว่าปลัดขิกของหลวงพ่ออาจารย์ผู้มีชื่อเสียงที่ออกนามข้างต้นนั้นซื้อหากันด้วยราคาสูง
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล นางภัคจิรา มูลศรี นักวิชการวัฒนธรรมชำนาญการ