ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 46' 31.9634"
18.7755454
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 14' 28.3924"
99.2412201
เลขที่ : 173187
สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง
เสนอโดย kasorn วันที่ 13 ธันวาคม 2555
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 14 ธันวาคม 2555
จังหวัด : เชียงใหม่
0 665
รายละเอียด

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์Derris scandens Benth.ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เรียกว่า เครือตาปา (โคราช), เครือเขาหนัง, เถาวัลย์เปรียง (ไทยภาคกลาง) เป็นพืชในวงศ์ : PAPILIONEAE เป็นพรรณไม้เถา ชอบเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ใบ เป็นใบประกอบ ลักษณะจะเป็นใบกลม และเล็กคล้ายใบของต้นอันชัน ใบจะหนาและแข็ง มีใบย่อยอยู่ ประมาณ 7 ใบ ดอกจะออกเป็นช่อสีขาวห้อยลง ส่วนกลีบรองดอกเป็นสีม่วงดำ ตรงปลายกลีบดอกนั้นจะเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ ดอกนั้นจะออกดกมาก และจะส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ เมล็ด (ผล) ผลนั้นจะออกเป็นฝักแบนเล็ก ๆ ภายในจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2-4 เมล็ด พรรณไม้นี้ขึ้นง่าย มักขึ้นเองตามชายป่า และที่โล่งทั่ว ๆ ไป เนื้อไม้ในเถานั้นจะเป็นวง ๆ คล้ายเถาคันแดงเป็นพรรณไม้ที่มีมากที่สุดในประเทศไทย ใช้กันทุกจังหวัด

ส่วนเถาและราก ใช้เป็นยามีสรรพคุณดังนี้ เถา นำมากินจะมีรสเฝื่อนเอียนเล็กน้อย ใช้เป็นยาถ่ายเสมหะ ลงสู่ทวารหนัก ถ่ายเส้นและกษัย ถ่ายเส้นทำให้เส้นอ่อนและหย่อนดี รักษาเส้นเอ็นขอด รักษาปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคบิด โรคไอ โรคหวัด ใช้เถานำมาหั่นตาก แล้วคั่วไฟชงน้ำกิน แทนน้ำชา ทำให้เส้นหย่อนรักษาอาการเมื่อยขบ ส่วนใหญ่แล้วมักนิยมใช้เถาวัลย์เปรียงแดง เพราะมีเนื้อไม้เป็นสีแดงเรื่อ ๆ ราก จะมีสารพวก flavonol ที่มีชื่อว่า scadenin, nallanin ใช้เป็นยาเบื่อปลา แต่ไม่มีคุณสมบัติในการใช้เป็นยาฆ่าแมลง ในตำรับยาไทยนั้นเขาใช้เป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ และขับปัสสาวะ เถาวัลย์เปรียงเป็นยาสมุนไพรที่คนไทยรู้จักการใช้ประโยชน์มาเนิ่นนาน เป็นสมุนไพรที่พบทั่วไปทุกภาค สรรพคุณของยาที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์คือแก้อาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว บำรุงกำลัง จึงมักนำมาต้มดื่ม หรือนำมาดองเหล้า คนเฒ่าคนแก่ คนที่ทำงานแบกหามหนัก หรือชาวไร่ชาวนา จึงมักมีเถาวัลย์เปรียงติดบ้านไว้ต้ม แต่ส่วนมากมักจะเน้นทางยาดองเหล้ามากกว่าเพื่อใช้แก้ไขอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการวิจัยสมุนไพรตัวนี้จนสำเร็จผล และพบว่า สรรพคุณตามที่วิจัยพบนั้นสอดรับกับภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านที่ใช้ ประโยชน์ในการแก้ปวดเมื่อย แก้การอักเสบของกล้ามเนื้อ ผลการทดลองระบุว่า สารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบแผนปัจจุบันได้ ที่สำคัญไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบันที่มีสารสเตียรอยด์ ถือเป็นยาสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้แม่ออน
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑ บ้านสหกรณ์ ๑
ตำบล บ้านสหกรณ์ อำเภอ แม่ออน จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้แม่ออน
บุคคลอ้างอิง kasorn puttachat อีเมล์ kasorn@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน culture office mae on
เลขที่ ๑๓๕ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล บ้านสหกรณ์ อำเภอ แม่ออน จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50130
โทรศัพท์ ๐๘๑-๘๗๔๑๓๘๖
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่