การตัดจุกและการไว้จุก
เป็นความเชื่อที่สืบเนื่องมาจากการโกนผมไฟและความเชื่อเรื่องขวัญ จึงมีการไว้จุกหรือผมแกละ การไว้จุกเป็นเครื่องหมายบอกสถานภาพการเป็นเด็ก และเพื่อผู้ใหญ่เมตตาให้ความอนุเคราะห์ตามควรแก่วัย จนอายุย่างเข้าวัยหนุ่มวัยสาว (ชาย ๑๒ ปี) หญิง ๑๑ ปี จึงจัดพิธีโกนจุกหรือตัดจุกชาวบ้านท่าแคบางส่วนยังให้บุตรหลานของตนไว้จุกกันอยู่
การพาบุตรหลานมาตัดจุกในพิธีกรรมของโนราโรงครูก็เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่เด็กคนนั้นโดยที่พ่อแม่ไม่ต้องประกอบพิธีตัดจุกที่บ้าน และเชื่อว่าพิธีกรรมโนราโรงครูเป็นพิธีกรรมที่มีความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านบางคนก็เป็นลูกหลานของตายายโนราจึงปรารถนาให้บุตรหลานได้ตัดจุกจากครูโนรา และยังเชื่อต่อไปอีกว่าโนราผู้ใหญ่ผู้เป็นหัวหน้าคณะในโนราโรงครูเป็นผู้มีอำนาจเร้นลับทางไสยศาสตร์ มีคาถาอาคมการไว้จุกนอกจากจะปฏิบัติตามประเพณีนิยมแล้วส่วนหนึ่งมาจากการบนบานเนื่องจากเกิดอาการป่วยไข้ หรือประสบเหตุ ร้ายต่าง ๆ พ่อแม่จึงได้บนขอความช่วยเหลือจากครูหมอหรือตายายโนราโดยให้เด็กไว้จุกเป็นทานบนเมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ก็จะพามาตัดจุกกับโนโรงครูเพื่อเป็นการแก้บนด้วยบอกจากนี้การตัดจุกยังเป็นพิธีกรรมอีกส่วนหนึ่งของการครอบเทริดหรือผูกผ้าใหญ่ของโนรา
ซึ่งนิยมทำพิธีตัดจุกก่อนแล้วจึงครอบเทริดหรือผูกผ้าใหญ่ตัดจุกจะทำพิธีในตอนเช้าของวันพฤหัสบดี พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะต้องเตรียม พานดอกไม้ เทียน หมากพลู เงิน ๑๒ บาท มามอบให้โนราใหญ่พร้อมกับตัวเด็ก เมื่อเริ่มพิธีก็จะให้เด็กนั่งลงบนผ้าขาวโนราใหญ่และครูหมอโนราที่สำคัญ ๆ ในร่างทรง เช่น ตาม่วงทอง ขุนศรีศรัทธา ก็จะร่ายรำโดยขุนศรีศรัทธาถือไม้หวายเฆี่ยนพราย โนราใหญ่หรือตาม่วงทองพร้อมกับน้ำมนต์ประพรมที่ศีรษะเด็กจากนั้นเอามือจับที่จุกของเด็ก บริกรรมคาถาแล้วจึงเอากริชตัดจุกของเด็กพอเป็นพิธี เสร็จแล้วประพรมน้ำมนตรีอีกครั้งมอบเด็กให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองพาเด็กไปโกนผมหรือตัดผมจริงอีกครั้งหนึ่ง เป็นเสร็จพิธีการตัดจุก