ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 30' 36.9266"
18.5102574
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 52' 57.7308"
98.8827030
เลขที่ : 197981
ประเพณีถวายข้าวแช่ แห่หงส์ ธงประขาบ บ้านบ่อคาว
เสนอโดย ลำพูน วันที่ 7 กรกฎาคม 2566
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 7 กรกฎาคม 2566
จังหวัด : ลำพูน
0 248
รายละเอียด

งานบุญถวายข้าวแช่ แห่หงส์ ธงประขาบ บ้านบ่อคาว ตำบลหนองดู่ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จัดขึ้นประมาณวันที่ 13 เมษายนของทุกปี งานแห่หงส์ธงตะขาบ ซึ่งชาวมอญมีความเชื่อว่า “ตะขาบเป็นสัตว์ที่มีพิษแต่รักสงบ และพิษของตะขาบนั้นมีไว้ป้องกันตัวเอง” โดยได้รับการสนับสนุน ร่วมมือจากชาวบ้านโดยเชื่อว่าการทำบุญไม้ค้ำ จะได้ค้ำจุนพุทธศาสนาและจะทำให้ชีวิตเรายืนยาว มีกิจการมั่นคง หน้าที่การงานเจริญยิ่งยิ่งขึ้นไป

ข้าวแช่มอญ (เปิงด้าจก์)

ข้าวแช่ เป็นอาหารที่มีต้นกําเนิดมาจากชาวมอญ ถือเอาข้าวแช่ เป็นอาหารสําคัญในประเพณีวันสงกรานต์ โดยกำหนดจัด วันที่ 13 เมษายน ของทุกๆ ปี หรือวันมหาสงกรานต์จะต้องจัดข้าวแช่ครบชุดไปถวายพระ และถวายแด่เทพีสงกรานต์เพื่อความเป็นสิริมงคล และเมื่อชาวมอญอพยพเข้ามายังประเทศไทย ประเพณีข้าวแช่ในวันสงกรานต์จึงตามติดชาวมอญมายังประเทศไทยด้วย ทำให้ชาวไทยเริ่มรู้จักข้าวแช่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ที่มาของธงตะขาบ

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัม โพธิญาณแล้ว ทรงรําลึกถึงพระมารดาซึ่งดับขันธ์ขึ้นไปสู่ดาวดึงส์ เทวโลก พระองค์ปรารถนาที่จะโปรดพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง จึงเสด็จขึ้นไปจําพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และแสดงธรรมดังกล่าว จนพระมารดาได้ สําเร็จพระโสดาปัตติผลเบื้องต้น เมื่อการแสดงพระธรรมเทศนาครบ ๓ เดือน (หนึ่งไตรมาส) พระมารดาบรรลุธรรมชั้นพรหมวิหารสุขากาโม ส่วนเทพทั้งหลายที่ได้มีโอกาสฟังธรรมในครั้งนี้ก็พาบรรลุโสดาปัตติผล เช่นกัน เมื่อครบไตรมาสแล้ว พระพุทธองค์ก็เสด็จกลับมายังมนุษย์โลก เมื่อวันแรม ๑ ค่ํา เดือน ๑๑ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี ในครั้งนั้น ได้มีมวลเทพพระอินทร์ พระพรหม ได้เนรมิตให้เกิดเป็นบันไดเงิน บันไดทองรองรับ บ้างก็ถือเครื่องสูงอันประกอบด้วยราชวัตร ฉัตร ธง และเครื่องดนตรี ดีด สี ตี เปา มาประโคมส่วนมวลมนุษย์ ในโลกที่เลื่อมใสในพระองค์ต่างพากันดีใจ น่าอาหารมาใส่บาตรแต่ เนื่องด้วยจํานวนคนที่ไปใส่บาตรนั้น มีจํานวนมากไม่สามารถนํา อาหารเข้าไปถึงพระองค์ได้ จึงท่าเป็นข้าวต้มมัดเล็ก ๆ แล้วโยนใส่ บาตร จึงเกิดเป็นประเพณีใส่บาตรข้าวต้มลูกโยน ตั้งแต่ครั้งนั้นมา

เสาหงส์

ประเพณีการสร้างเสาหงส์นั้น เป็น ประเพณีที่พบเห็นได้ทั่วไปตามชุมชนชาวมอญ ในเมืองไทย ทุกวันนี้ยังพบว่ามีปรากฏใน เมืองมอญ (ประเทศพม่า) บ้างในบางวัด เช่น วัดเกาะซั่ว วัดธอมแหมะซะ เมืองมะละแหม่ง แต่เดิมชาวมอญมีคติการสร้างเสาธงเป็นการสร้างเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าตามตํานาน ในพุทธประวัติแต่เดิมที่ว่า มีชาวบ้านป่าที่ ยากจนเข็ญใจ ต้องการบูชาพระพุทธคุณ จึงได้กระทําไปตามอัตภาพของตน ด้วยการนำผ้าห่มนอนเก่าๆ ของตน ผูกและชักขึ้นเหนือยอดเสา และเกิด อานิสงค์ผลบุญ ครั้นสิ้นชีวิตลงได้ไปเกิดเป็นพระราชาผู้มีทั้งรูปสมบัติ และทรัพย์สมบัติในภพชาติต่อมา จากตํานานดังกล่าวจึงมี ประเพณีการสร้างเสาธงสืบมาจนปัจจุบัน“เสาหงส์” สําหรับวัดมอญในเมืองไทยทุกวันนี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามีกันแทบทุกวัด ถึงแม้บางคนจะกล่าวว่า “เสาหงส์” มีแต่ในเมืองไทยเท่านั้น เพราะคนมอญในเมืองไทยสร้างขึ้นเพื่อรําลึกถึงเมืองหงสาวดี เมื่อต้องจากบ้านทั้งเมืองไปอยู่เมืองไทย และเพิ่งจะมีขึ้นเมื่อราวร้อยกว่าปีมานี้เอง โดยยกเอาบทพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ที่ตอบถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ถึงความเป็นมาของการสร้างเสาหงส์

สถานที่ตั้ง
ตำบล บ้านเรือน อำเภอ ป่าซาง จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายบพิตร วิทยาวิโรจน์ อีเมล์ culturelamphun@gmail.com
ตำบล เวียงยอง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000
โทรศัพท์ 0 5351 0243 โทรสาร 0 5351 0244
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่