บายศรีเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับชาวไทยตั้งแต่โบราณมาจนถึงบัดนี้ นับแต่แรกเกิดจนเติบใหญ่ เราจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่าง ๆ ซึ่งต้องมีบายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้น ๆ บายศรี เป็นคำเขมร แปลว่าข้าวสุกบายศรี ภาษาถิ่นอิสาน แปลว่า สัมผัส จับต้องบายศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลีว่า สิริ แปลว่า มิ่งขวัญ เมื่อรวมความคำว่า บายศรี แปลว่าข้าวขวัญ หรือสิ่งที่นำให้สัมผัสกับความดีงาม ตามความหมาย ของชาวอิสาน ดังนั้น บายศรีคือภาชนะที่ตกแต่งสวยงามเป็นพิเศษเพื่อเป็นความสวยงาม สำหรับใส่อาหารคาวหวานในพิธีสังเวยบูชา พิธีทำขวัญต่าง ๆ ทั้งพระราชพิธีและพิธีของราษฎร บายศรีของหลวง มี ๓ ชนิด คือ ๑. บายศรีสำรับเล็ก มีชั้นแก้ว ๓ ชั้น กันบานทอง ๓ ชั้น และพานเงินซ้อนกัน ๓ ชั้น เป็นขนาดเล็ก ตั้งบายศรีแก้วไว้กลาง บายศรีทองอยู่ข้างขวา บายศรีเงินอยู่ข้างซ้ายของผู้ทำขวัญ (เข้าของขวัญ) สำหรับทำขวัญในงานเล็กน้อย ๒. บายศรีสำรับใหญ่ มีลักษณะเหมือนกันแต่ขนาดใหญ่ สำหรับทำขวัญสมโภชน์ในการอย่างใหญ่ มีชุดละ ๕ ชั้น ๓. บายศรีตองลองทองขาว คือบายศรีใหญ่ แต่เปลี่ยนแป้นไม้ของชั้นและแกนไม้เป็นทองขาวเท่านั้น บายศรีนี้ดูเหมือนจะเป็น ๗ ชั้น มีคู่หนึ่งจะใช้อย่างไรบอกไม่ถูก ใช้เติมกับบายศรีสำรับใหญ่ก็มี แต่ตั้งไว้ต่างหากไม่เข้ากัน บายศรีที่ใช้ในพิธีของราษฎร บายศรีของราษฎรนั้น มีมาตั้งแต่ขนาดเล็กขึ้นไปถึงขนาดใหญ่ โดยปกติใช้ใบตองตานีมาพับ และเย็บเป็นแบบต่าง ๆ บางครั้งหาใบตองได้ยาก ช่างทำบายศรีไม่ค่อยจะมีเวลา หมอทำขวัญจึงได้คิดตัดแปลงใช้ไม้มาแกะสลักฉลุลวดลายเป็นบายศรีถาวร คิดค่าเช่าในราคาถูก ๆ มาในปัจจุบันนี้ มีผู้คิดทำบายศรีกระดาษสีขาวใบตอง บายศรีกระดาษเงิน บายศรีกระดาษทอง และบายศรีผ้า (ผ้าแพร ผ้าตาด ผ้าต่วน) เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องการหกช่างทำบายศรียาก และไม่ค่อยจะมีเวลาในการประดิษฐ์เช่นปัจจุบัน แต่ความเหมาะสมและสวยงามแล้ว บายศรีตองตานียังคงสวยงามกว่า และใส่อาหาร ขนม ผลไม้ได้ดีกว่าวัสดุอื่น ๆ