ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 7' 2.7581"
15.1174328
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 36' 40.9928"
103.6113869
เลขที่ : 96372
ภูมิปัญญาการตีเหล็ก
เสนอโดย vannatit kitdee วันที่ 12 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย สุรินทร์ วันที่ 25 มกราคม 2555
จังหวัด : สุรินทร์
1 1800
รายละเอียด

อาชีพตีเหล็ก (ตำต๊ะ ภาษากูย/กวย) เดิมชาวกูย/กวยใช้เหล็กทำมีด ทำอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้ต่างๆ ทำตะขอช้าง เนื่องจากชาวยกูย/กวยมีความสามารถในการเลี้ยงช้าง และจับช้าง ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นทำอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้ต่างๆ เพราะมีคนนิยมใช้มากขึ้น เช่น มีดอีโต้ มีดปลายแหลม มีดปังตอ มีดเหลาตอก ดาบโบราณ สิ่ว ขวาน จอบ เสียม ปัจจุบันสามารถดัดแปลงเป็นอุปกรณ์ต่างๆได้ทุกชนิดตามความต้องการของลูกค้า โดยอุปกรณ์จากครอบครัวนายสวัสดิ์ จินดาศรี ยังรักษามาตรฐานและคุณภาพดีเสมอมา จึงมีผู้นิยมมาใช้บริการเป็นประจำเสมอ ตีเหล็ก หรือ ตำต๊ะ ( ภาษากูย/กวย) ชาวกูย /กวยหมู่ที่ ๔ บ้านโพธิ์งาม (แยกมาจากขมิ้นเดิม หมู่ที่ ๑) ตำบลเป็นสุข อำเภอจอมพระ มีอาชีพตีเหล็กสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษเกือบทุกครัวเรือน ปัจจุบันยังเหลือเพียงครอบครัวเดียวคือ ครอบครัวนายสวัสดิ์ จินดาศรี อายุ ๖๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๖ บ้านโพธิ์งาม หมู่ที่ ๔ ตำบลเป็นสุข อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ นายสวัสดิ์ จินดาศรี ได้รับการสืบทอดอาชีพตีเหล็กมาจากพ่อ คือ นายมี จินดาศรี มาตั้งแต่อายุประมาณ ๑๐ ขวบ มีอาชีพตีเหล็กมาตั้งแต่เป็นเด็ก ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นใด จึงเป็นช่างตีเหล็กจนชำนาญและมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน นายสวัสดิ์ได้ฝึกสอนลูกหลานให้เรียนรู้วิธีการตีเหล็กและสืบทอดอาชีพนี้แทนพ่อ ครอบครัวจึงมีอาชีพหลักคือการเป็นช่างตีเหล็ก ส่วนการทำนานั้น นายสวัสดิ์ให้ลูกๆและญาติๆช่วยดูแลแทน อุปกรณ์ประกอบการตีเหล็ก ๑.เหล็ก เหล็กที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น มีด จอบ เสียมที่ชำรุดต่างๆ ต่อมา (พ.ศ.๒๔๙๗) เมื่อมีพ่อค้านำแท่งเหล็กมาขาย ก็ใช้แท่งเหล็กมาตีรีดเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมาประเทศไทยมีการนำรถบรรทุกมาใช้ ช่างตีเหล็กจึงสามารถหาซื้อเหล็กแหนบจากตลาดหรือชาวบ้านมาใช้ตีเหล็กได้ ๒.ถ่าน ถ่านเป็นวัสดุที่สำคัญในการตีเหล็ก จึงต้องเลือกไม้ที่แข็งและ มีคุณภาพดี ไม้ที่เหมาะสำหรับเผาเป็นถ่านตีเหล็กที่ดีได้แก่ ไม้พันชาด ไม้พะยอม ไม้ตะเคียน ฯลฯ ในอดีตสามารถหาไม้เหล่านี้ได้ง่ายจากป่าหรือหัวไร่ปลายนา ปัจจุบันหายากมาก ๓.เครื่องเป่าลมไฟฟ้า ในสมัยก่อน ช่างตีเหล็กจะใช้เครื่องสูบลม สำหรับสูบลมเข้าไปในเบ้าหลอมสำหรับใส่ถ่านเพื่อเผาเหล็กให้อ่อนเพื่อจะได้ตีง่าย ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาคือเครื่องเป่าลมไฟฟ้ามาใช้แทน ๔.คีมจับเหล็ก ใช้สำหรับคีบ หรือจับเหล็กที่เผาจนอ่อนแล้วนำมาตี หรือสำหรับพลิกกลับเหล็กเพื่อตีให้เข้ารูปร่าง ๕.ค้อนตีเหล็ก ใช้สำหรับตีรีดเหล็กให้ได้รูปตามต้องการ ๖.ทั่ง ใช้สำหรับรองตีเหล็ก ๗.ไฟเบอร์ตะไบ เป็นอุปกรณ์สมัยใหม่ แทนตะไบเหล็กแบบแต่ก่อน ใช้สำหรับตกแต่งมีด หรือเหล็กที่ตีแล้วให้สวยงาม ๘.เหล็กเจียระไน ใช้สำหรับตกแต่งมีด หรือเหล็กที่ตีแล้วให้สวยงาม ขั้นตอนการตีเหล็ก เมื่อช่างตีเหล็กมีอุปกรณ์ต่างๆครบถ้วนแล้ว ช่างตีเหล็กและลูกมือจะติดไฟ โดยใช้ถ่านที่เตรียมไว้กับเบ้าหลอมเหล็ก เมื่อถ่านร้อนแดงแล้ว จะใช้แท่งเหล็กที่เตรียมไว้เผาจนเหล็กร้อนแดง ช่างจะใช้คีมหนีบแท่งเหล็กตีลงบนแท่งเหล็กที่ยึดไว้กับท่อนไม้ ถ้าเป็นเครื่องมือขนาดเล็ก ช่างจะตีคนเดียว เครื่องมือบางชนิดต้องมีลูกมือช่วย เช่น ดาบ พร้า ฯลฯ เป็นเครื่องมือที่มีขนาดใหญ่และหนา เครื่องใช้ต่างๆเมื่อตีขึ้นรูปแล้วต้องเผาไฟอีก ๑-๒ ครั้ง เพื่อตีให้ได้ชนิดของเครื่องใช้ ตามต้องการ เมื่อขึ้นรูปได้ตามความต้องการแล้ว ช่างจะนำเครื่องมือลงชุบ (จุ่ม)ในน้ำ เมื่อจุ่มเครื่องเหล็กประมาณ ๒-๓ นาที ช่างจะคีบเหล็กขึ้นมาตกแต่งโดยใช้ตะไบไฟเบอร์ไฟฟ้าตะไบ จนเป็นที่พอใจของช่าง บางครั้งจะใช้ตะไบมือ ตะไบให้เครื่องมือปราณีตและสวยงามเป็นครั้งสุดท้าย ช่างตีเหล็กจะใช้เหล็กที่เป็นสัญลักษณ์ของตนเองเคาะลงไปที่ใดที่หนึ่ง เพื่อให้รู้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากฝีมือของตนเอง

สถานที่ตั้ง
อำเภอจอมพระ
ตำบล จอมพระ อำเภอ จอมพระ จังหวัด สุรินทร์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมอำเภอจอมพระ
บุคคลอ้างอิง นายสนาน สุขสนิท
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
เลขที่ 796 หมู่ที่/หมู่บ้าน 20 ถนน เลี่ยงเมือง
ตำบล นอกเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32000
โทรศัพท์ 044712854 โทรสาร 044512030
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่