ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 56' 51.4597"
8.9476277
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 59' 41.9546"
98.9949874
เลขที่ : 112913
ถ้ำเบื้องแบบ
เสนอโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 11 กันยายน 2554
อนุมัติโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 12 มิถุนายน 2555
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
1 389
รายละเอียด

ถ้ำเบื้องแบบ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านทำเนียบ ถ้ำเบื้องแบบเป็นเพิงผาและถ้ำในเขาหินปูนลูกโดด สูงประมาณ๕๐ เมตร แหล่งโบราณคดีอยู่ห่างจากคลองมะเลาะประมาณ ๑๓๐ เมตร โพรงถ้ำและเพิงผาพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ มีอยู่ ๓ จุด คือ ๑. ถ้ำบน (ถ้ำเบื้องบน) เป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่ที่สุด หลังคาถ้ำสูงจากระดับพื้นดินล่าง ๑๒ เมตร ๒. ถ้ำล่าง (ถ้ำเบื้องแบบ ๒) เป็นเพิงผากึ่งโพรงถ้ำ สูงจากระดับพื้นดินล่าง ๒ เมตร ถ้ำหลังเขา (ถ้ำเบื้องแบบ ๓) เป็นเพิงผาเพดานต่ำสูงจากระดับพื้นดินล่าง ๑๕ เมตร ถ้ำเบื้องแบบทั้ง ๓ ตำแหน่งพบหลักฐานการอยู่อาศัยประกอบกิจกรรมสองช่วงสมัย จากร่องรอยการทับถมของชั้นดินและโบราณวัตถุที่พบคือชั้นดินผิวหน้าพบหลักฐานของสมัยประวัติศาสตร์(รัตนโกสินทร์)และชั้นร่องรอยหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้แก่โครงกระดูกมนุษย์ กระดูกและฟันสัตว์ เปลือกหอยเศษภาชนะดินเผาหยาบเผาด้วยอุณหภูมิต่ำลายเชือกทาบ ประเภทหม้อก้นกลม หม้อสามขา หม้อมีสัน ภาชนะรูปจอกปาก
ผาย แท่นผิงด้วยรูปเขาสัตว์ แท่นรองหม้อ ลูกกระสุนดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะแบบฮัวบิเนียน เครื่องมือสะเก็ดหินแบบใบมีดขนาดเล็ก แกนหินรูปแท่งสี่เหลี่ยม ค้อน ทั่ง หินลับเครื่องมือขวานหินขัด ขวานหินยาว สิ่วหินขัด หินทุบเปลือกไม้เพื่อทำผ้า กำไลหินและถ่าน มีอายุประมาณ๖,๕๐๐-๔,๗๐๐ ปีมาแล้ว ขวานหิน สมัยก่อนประวัติศาสตร์และยุคหินใหม่อาวุธหรือเครื่องมือที่ใช้จะทำด้วยหินและที่นิยมทำกัน คือขวานหิน ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กันและรูปร่างส่วนใหญ่เป็นขวานหินที่มีรูปเรียวปลายผายแบบหนึ่งหับแบบที่เรียกว่าขวานหินมีบ่า

คำสำคัญ
ถ้ำเบื้องแบบ
หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 3
ตำบล บ้านทำเนียบ อำเภอ คีรีรัฐนิคม จังหวัด สุราษฎร์ธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายสมชาย ไชยยศ
ตำบล บ้านทำเนียบ อำเภอ คีรีรัฐนิคม จังหวัด สุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84180
โทรศัพท์ 0872738352
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่