ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 25' 41.8094"
18.4282804
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 47' 9.3448"
98.7859291
เลขที่ : 130531
พัดใบตาลโบราณ (ศรีนวล เหล่าญาณะ)
เสนอโดย kunniga วันที่ 10 เมษายน 2555
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 11 เมษายน 2555
จังหวัด : ลำพูน
0 1735
รายละเอียด

พัดใบตาลโบราณ เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน เนื่องจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือมีต้นตาลอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งขนาดของใบตาลมีขนาดใหญ่ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย การทำพัดจากใบตาล เริ่มต้นในยุคสมัยไหน ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อกันมาว่า ในอดีตบรรพบุรุษปู่ย่าตายายก็ได้ใช้พัดจากใบตาลมาเนิ่นนานแล้ว หลักฐานที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ในยุคที่ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ท่านยังมีชีวิตอยู่ ครูบาเจ้าท่านก็มีพัดใบตาลเป็นเสมือนสิ่งของเครื่องใช้ประจำตัวท่าน ทว่าปัจจุบันยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาแทนที่ ความนิยมในพัดใบตาลจึงลดน้อยลงไปเนื่องจากพัดลมถูกนำมาใช้มากขึ้น พัดใบตาลจึงกลายเป็นของหายาก คนที่จะสืบสานในการทำพัดใบตาลก็ลดน้อยถอยลงทุกวัน
อุปกรณ์/วัสดุ/สื่อ/วัตถุดิบ ในการผลิตผลงาน

๑. ใบตาลที่ผึ่งแดดแห้งแล้ว

๒. มีด

๓. ด้ายและเข็มเบอร์ ๙ –๑๐

๔. ไม้ไผ่สำหรับทำด้ามพัด

๕. พู่กันและสีน้ำมัน

ขั้นตอนในการผลิตผลงาน

ขั้นตอนของการทำพัดใบตาล เริ่มจากการหาใบตาลยอดอ่อน ที่มีสีขาวหรือสีเขียวอ่อน ๆ จากนั้นนำมาตัดปลายใบออกให้มีรูปคล้ายพัด แล้วนำไม้มาเหลาเป็นซี่เล็ก ๆ นำมาหนีบติดรอบขอบพัด แล้วจึงนำเชือกมาเย็บให้แน่นอีกทีหนึ่ง จากนั้นก็ถึงขั้นตอนของการติดด้ามพัด โดยจะใช้ไม้ไผ่นำมาเหลาเป็นด้าม ตอกตะปูติดกับใบพัด เมื่อได้เป็นพัดใบตาลแล้ว จึงนำไปตากแดดเพื่อให้ใบตาลแห้ง สัก ๑- ๒ วัน หากวันไหนแดดแรง ก็ตากเพียง ๑ วันเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ใบตาลแห้งเกินไป ซึ่งจะทำให้พัดกรอบและหักง่าย

สถานที่ตั้ง
บ้านหนองยวง
เลขที่ ๘๑ หมู่ที่/หมู่บ้าน
จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน (อำเภอเวียงหนองล่อง)
เลขที่ ๓๓ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล เวียงยอง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000
โทรศัพท์ 053510243 โทรสาร 053510244
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่