ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 21' 7.9999"
14.3522222
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 34' 36.0001"
100.5766667
เลขที่ : 139563
เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี
เสนอโดย chaosam วันที่ 16 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 13 สิงหาคม 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 1374
รายละเอียด

ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดง ลักษณะรูปทรงตัวหม้อกลม ฐานมีเชิง ขอบปากมีเชิง

ปากบานและฐานชำรุดแหว่งหายไป ฐานต่อด้วยการติดกับตัวหม้อ สมัยก่อนประวัติศาสตร์

วัฒนธรรมบ้านเชียง

ประวัติและตำนาน นางเรณู นันทวิสิทธิ์ อยู่บ้านเลขที่ ๑๖๓ ตำบลไผ่ลิง อำเภอ

พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บอกว่าชาวบ้านตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาร

จังหวัดอุดรธานี ได้ขุดพบตามบ้านเรือนและได้นำมามอบให้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ และนำมามอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาเมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๓๕

เครื่องปั้นดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (วัฒนธรรมบ้านเชียง)

เครื่องปั้นดินเผาเป็นศิลปหัตถกรรมที่ควบคู่กับสังคมมนุษย์มาเป็นเวลานาน ในประเทศไทย

มีหลักฐานทางโบราณคดี ชี้ให้เห็นว่ามีการทำภาชนะดินเผามาเป็นเวลานานนับหมื่นปี เช่นที่ถ้ำ

ผีแมน จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบเครื่องปั้นดินเผาทั้งชนิดที่เป็นผิวเกลี้ยง ที่เป็นเงาและลายเชือก

ทาบอายุประมาณห้าพันปี แหล่งเครื่องปั้นดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญอยู่ในภาคตะวันออก

เฉียงเหนือและภาคกลาง ส่วนใหญ่เนื่องในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฝังศพ และเพื่อการใช้สอย

ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก คือ เครื่องปั้นดินเผาในวัฒนธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

ลวดลายที่ปรากฏบนภาชนะดินเผาลายเขียนสีวัฒนธรรมบ้านเชียง สามารถจำแนกได้

๒ กลุ่มคือ กลุ่มลายเส้นโค้ง กลุ่มลายก้านขดหรือก้นหอย กลุ่มลายเลขาคณิต กลุ่มลายดอกไม้

กลุ่มลายรูปสัตว์ และกลุ่มลายอื่น ๆ เช่น ลายเส้นขนาน ลายสามเหลี่ยมซ้อน ลายเชือกควั่น

ลายรูปขนมเปียก เป็นต้น

นอกจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงแล้ว ยังสามารถพบแหล่งเครื่องปั้นดินเผาสมัยก่อน

ประวัติศาสตร์ ได้ตามแหล่งโบราณคดีอีกหลายแห่งที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เช่น บริเวณบ้านเก่า

จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง

ของประเทศ

การปรากฏเครื่องปั้นดินเผาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์กระจัดกระจายทั่วไปเช่นนี้ย่อมแสดง

ให้เห็นเป็นอย่างดีว่าบริเวณดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมินั้นเป็นที่ตั้งของชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์

เหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาแต่บรรพกาล

หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
เลขที่ 108 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 ซอย - ถนน -
ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
บุคคลอ้างอิง นางวิไลวรรณ ไรสกุล อีเมล์ aoywilai@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
เลขที่ 108 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 ซอย - ถนน -
ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000
โทรศัพท์ 089-0537664 โทรสาร 035-241587 ,03524457
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่