ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 19' 5.616"
18.3182266545785
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 42' 21.5445"
103.705984587489
เลขที่ : 159624
ต้นแวววิเชียร
เสนอโดย buengkan_admin วันที่ 21 กันยายน 2555
อนุมัติโดย buengkan_admin วันที่ 21 กันยายน 2555
จังหวัด : บึงกาฬ
0 555
รายละเอียด

ต้นแวววิเชียร หรือ ต้นฟอร์เก็ตมีน็อต ลำต้น สูงประมาณ ๔๐-๖๐ ซม. ตามลำต้นและ ใบมีขนละเอียดปกคลุม และมียางเหนียวๆ ติดอยู่ เมื่อสัมผัสจะติดมือ ใบ เรียว ยาว เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปใบหอก ขอบขนาน ปลายใบแหลม สีเขียว กว้างราว ๑.๕ ซม. ยาวราว ๑๐ ซม. ดอก เป็น ดอกเดี่ยว แต่ออกติด ๆ กันตามข้อต้นหรือง่ามใบ มักออกดอกพร้อมๆ กันตลอดต้นไปจนถึงส่วนยอด และออกดอกตลอดทั้งปี ดอกเป็นรูปกรวยเล็ก โค้งเล็กน้อย ส่วนปลายดอกแยกออกเป็น ๕ กลีบ กลีบดอกมีสีม่วงแก่ ม่วงอ่อน และสีขาว

ตำนานของชาวฝรั่งเล่าขานมาแต่โบราณว่า อัศวินชาวเยอรมันผู้หนึ่งแต่งกายด้วยชุดเกราะเต็มยศเพื่อออกรบ ระหว่างล่ำลาคนรัก ได้ก้มลงไปเก็บดอกไม้เพื่อมอบให้หญิงสาวแล้วพลัดตกลงไปในน้ำ ไม่สามารถขึ้นจากน้ำได้เพราะชุดเกราะมันหนัก และก่อนที่อัศวินหนุ่มจะจมหายไปในน้ำ ได้โยนดอกไม้ให้หญิงคนรักพร้อมตะโกนว่า "อย่าลืมฉัน" หรือ "ฟอร์เก็ตมีน็อต" และกลายเป็นชื่อดอกไม้ดังกล่าวมาจนกระทั่งทุกวันนี้

เนื่องจากต้นฟอร์เก็ตมีน็อต ยังไม่มีชื่อในภาษาไทย หลวงบุเรศบำรุงการ จึงตั้งชื่อให้ว่าต้นแวววิเชียร ซึ่งเป็นชื่อที่ไพเราะ และมีความหมายดีมาก ต้นแวววิเชียรเหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ประดับตามริมทางน้ำ ขอบบ่อ สวนหย่อม ริมทางเดิน หรือเป็นไม้กระถาง เพราะมีความงดงามเป็นเอกลักษณ์ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ที่น่าสนใจคือเป็นไม้ดอกที่ปลูกง่ายโตเร็ว และตายยาก มีดอกตลอดปี

สรรพคุณ เป็นยาบำรุงร่างกาย โดยเฉพาะผู้หญิง จึงการทำผลิตภัณฑ์จากสารสกัดต้นแวววิเชียร ออกมาจำหน่ายในปัจจุบัน

คำสำคัญ
พืช ไม้ประดับ
หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ตำบล บึงกาฬ อำเภอ เมืองบึงกาฬ จังหวัด บึงกาฬ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ
บุคคลอ้างอิง สมยศ งามชมภู อีเมล์ somyot_ng@hotmail.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่