ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 32' 47.9101"
14.5466417
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 43' 8.8867"
100.7191352
เลขที่ : 166931
ฆ้องใหญ่ วัดมะขามโพลง
เสนอโดย pronpajong วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 812
รายละเอียด

ฆ้องใหญ่ วัดมะขามโพลง ตำบลท่าเจ้าสนุก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้สร้างถวายคือ พ่อแช่ม แม่สงัด เกิดแก้ว พร้อมบุตรธิดา

สร้างถวายวัดเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕๐ เมตร กว้าง ๓ เมตร

ประวัติความเป็นมา

ฆ้องเป็นผลผลิตจากทองเหลือง ฆ้องมีประวัติความเป็นมาช้านานแต่อดีตกาลนานคณานับ ย้อนหลังอดีตเก้าสิบแปดกัลป์ สมัยพระวิสัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้ายุคสมัยนั้น ยังกล่าวกันว่าเทวดาตีฆ้องร้องป่าวไปทั่วสามโลก (สวรรค์-มนุษย์-บาดาล) ให้มาร่วมฟังธรรม เรามิอาจสรุปได้ว่าใครเป็นผู้สร้างฆ้องขึ้นมา เดิมฆ้องเป็นลักษณะตูมเดียว ต่อมาได้พัฒนาเป็นฆ้องเก้าตูมที่นครเวียงจันทร์ประเทศลาว เล่ากันว่าใครสรางฆ้องเก้าตูมนมเก้าก้อน แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ไม่อดอยากปากแห้ง ทั้งในชาตินี้และชาติหน้าโดยเฉพาะ เรื่องเพศสัมพันธ์

ฆ้อง เป็นเสนาสนะที่ใช้ในวัดพระพุทธศาสนา ใช้ในการรบทัพจับศึก ถือว่าเป็นมงคล เช่น ตอนสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกกองทัพออกไปรบกับกองทัพพม่า มีกลอนกล่าวไว้ว่า "ลั่นฆ้องศึกกระหึ่มก้องท้องธานินท์ องค์นรินทร์ยกออกสู้ศัตรูพาล" ฆ้องใช้ตีบอกเวลาโมงยาม ฆ้องใช้เป็นเครื่องมีอประกอบดนตรี ฆ้องยิ่งใช้ประดับห้องพระและห้องรับแขกดูสง่างามน่าเกรงขามยิ่งนัก

ฆ้อง ทำครั้งแรกในประเทศไทย ที่จังหวัดชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า เป็นฆ้องหล่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร เลียนแบบจากช่างพม่า ตีเสียงดังกังวาลยิ่งนัก แต่มีข้อเสียคือ ชำรุดง่ายและหนัก นำไปใช้ในกระบวนแห่งไม่เหมาะสม ชาวบ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ได้คิดประดิษฐ์ฆ้องโดยนำแผ่นทองเหลืองที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น เขาใช้ในการต่อเรือและงานก่อสร้างอาคารมาทำฆ้องตามแบบฉบับของคนไทย ซึ่งครั้งแรกทำขนาด 38 เซนติเมตร 40 เซนติเมตร 60 เซนติเมตร ฆ้องเป็นฆ้องตูมเดียวนำไปจำหน่ายทั่วประเทศและได้รับความสนใจเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างยิ่ง

กระบวนการและขั้นตอนการผลิต

เดิมใช้แผ่นทองใส่ไฟให้ร้อนประมาณ 300 - 400 C ใช้ค้อนตีเป็นรูป โดยใช้เบ้าโม้ขนาดตามความต้องการ ความต้องการในที่นี้คือให้ตรงกับโฉลกที่ต้องการ ข้อเสียคือ ช่างตีฆ้องจะหูหนัก หนวกหูไปตาม ๆ กัน บางรายต้องเลิกกิจการไปเพราะเสียงจะดัง เกิน 250 เดซิเบล ขึ้นไป เนื่องจากวิธีการทำฆ้องแบบนี้จะได้ผลผลิตที่ดี แต่ต้องใช้ฟืนมหาศาลเป็นการสูญเสียทรัพยากรอย่างมากมาย จึงวิวัฒนาการทำเป็นฆ้องแบบอ๊อก, เชื่อม แผ่นทองเป็นรูปฆ้องเสร็จแล้วจึงทำตูมฆ้องและนิยมทำเก้าตูมตามความต้องการของตลาด ช่างห้องจะวาดลวดลายไทยหรือรูปแบบอื่น ๆ ลงในตัวฆ้องเพื่อความสวยงามและแต่ภูมิปัญญาผู้ทำ เมื่อทำฆ้องเสร็จต้องทำค้อนตีฆ้องโดยเฉพาะ ใช้ด้ามพันด้วยผ้าถักด้วยด้ายอย่างสวยงาม

ฆ้องที่ผลิตนิยมผลิตหลายขนาด มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 500 เซนติเมตร ซึ่งถือว่าเป็นฆ้องที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งราคาก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาด

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
วัดมะขามโพลง
เลขที่หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๗ บ้านมะขามโพลง
ตำบล ท่าเจ้าสนุก อำเภอ ท่าเรือ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดมะขามโพลง
บุคคลอ้างอิง เจ้าอาวาสวัด นางพรผจง พรหมทอง
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตำบล คลองสวนพลู อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000
โทรศัพท์ 035-336882 โทรสาร 035-336881
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่