ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 0' 21"
17.0058333333333
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 49' 35"
99.8263888888889
เลขที่ : 169085
พระพุทธอุทยานสุโขทัย
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1492
รายละเอียด
ชื่อสถานที่ พระพุทธอุทยานสุโขทัย สถานที่ตั้ง บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ประวัติความเป็นมา พระพุทธอุทยานสุโขทัย ได้เริ่มก่อสร้าง เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบวิหารพระปรางค์ห้ายอด ภายในวิหารปูด้วยหินอ่อน พื้นภายนอกปูด้วยหินแกรนิต ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้จากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคและรายได้จากการจำหน่าย 9 พระพุทธสุดแผ่นดิน และ 9 พระเครื่องเฟื่องสุดกรุ หน่วยงานที่ดูแล จังหวัดสุโขทัย สถานภาพของสถานที่ พระพุทธอุทยานสุโขทัย เป็นที่รวบรวมพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย โดยการจำลองลักษณะจากของเดิมมาไว้เพื่อเป็นที่สักการบูชาและเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องศิลปะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ความสำคัญ/ความหมาย พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุด เมื่อเทียบกับพระพุทธรูปในสมัยอื่น ๆ ในอดีตองค์พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย และประชาชนชาวสุโขทัย มีความศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้มีการก่อสร้าง พระพุทธรูปทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากนับพันองค์ หลังจากอาณาจักรสุโขทัยร่วงโรย พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในเมืองสุโขทัย จึงถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก และได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดต่างๆ มากกว่า 200 องค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปจำลองจำนวน 9 องค์ ที่จังหวัดสุโขทัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 1. พระพุทธรูปปางลีลา ขนาดความสูง 2.03 เมตร ทำพิธีเททองหล่อองค์พระเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 18.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร 2. พระร่วงโรจนฤทธิ์ ขนาดความสูง 7.72 เมตร ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 17.39 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม 3. พระศาสดา ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดสุวรรณาราม กรุงเทพมหานคร 4. พระพุทธชินสีห์ หรือ พระนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์ พระเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม กรุงเทพมหานคร 5. พระพุทธสิหิงค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร 6. หลวงพ่อร่วง ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก องค์เดิมทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดมหรรณพาราม กรุงเทพมหานคร 7. พระสุโขทัยไตรมิตร ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 5 นิ้ว สูง 7 ศอก 9 นิ้ว ทำพิธีเททองหล่อ องค์พระเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร 8. พระศรีศากยมุนี ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร 9. พระพุทธไสยาสน์ ขนาดความยาว 6 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.39 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร กลุ่มคนที่ใช้ ประชาชนทั่วไป จำนวนผู้อาศัย -
สถานที่ตั้ง
ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย
อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย
อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่