ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 55' 53.2524"
16.931459
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 57' 28.53"
99.957925
เลขที่ : 169133
น้ำปลาปลาสร้อย
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
1 3297
รายละเอียด
ชื่อ น้ำปลาปลาสร้อย ประเภทและลักษณะ ประเภทเครื่องปรุงอาหาร ประวัติความเป็นมา น้ำปลาปลาสร้อย คืออาหารหมักพื้นบ้านของไทยประเภทน้ำปรุงรส (sauce) หรือน้ำจิ้ม ที่ได้จากกระบวนการหมักปลาสร้อยสดกับเกลือในอัตราส่วนที่เหมาะสม ใช้เวลาในการมักเป็นเวลานานหลายเดือนและอาจนานถึงหนึ่งปี ก็จำได้น้ำปลาที่ดีมีคุณภาพ น้ำปลาปลาสร้อยมีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำยมแถบ อำเภอ บางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย รวมทั้งจังหวัดพิจิตรและนครสรรค์ ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ผลิต คือ ปลาสร้อยสด ซึ่งปลาชนิดนี้มีความชุกชุมมากในเขตลุ่มน้ำยม และเกลือ ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ คือ โอ่งดินเผา ถังกรองน้ำปลา ขวดสำหรับบรรจุและฝาปิด วิธีทำ ขั้นตอนการทำน้ำปลาปลาสร้อย มีดังนี้ 1. นำปลาสร้อยมาล้างให้สะอาด 2.นำเกลือมาคลุกเคล้ากับปลาสร้อย โดยใช้อัตราส่วน ปลา 1 ส่วน เกลือ 1ส่วน 3.นำส่วนผสมที่ได้มาบรรจุลงในโอ่งที่ทำด้วยดิน ปิดฝา ใช้ระยะเวลาการหมัก 1 ปี 4. นำสิ่งที่หมักมาต้ม โดยอาจจะใส่น้ำตาลเคี่ยวให้ไหม้ด้วยก็ได้ 5.นำใส่ถังให้ตกตะกอน 6. กรองด้วยผ้าขาวบาง 7.บรรจุใส่ขวดที่สะอาด เพื่อจำหน่ายต่อไป สามารถเก็บไว้ได้เป็นปี บทบาทหน้าที่และความสำคัญในอดีตและปัจจุบัน - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา น้ำปลาปลาสร้อย เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในการถนอมอาหารเก็บไว้กินได้นานเป็นเครื่องปรุงเพื่อเพิ่มความเค็ม รสชาติ และความหอมของอาหาร สถานที่ ร้านลูกโกเชียร-เจ้ชิว เลขที่ 122/2 หมู่9 ตำบลกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โทรศัพท์ (055) 691114, 081-4748071
สถานที่ตั้ง
ร้านลูกโกเชียร-เจ้ชิว
เลขที่ เลขที่ 122
ตำบล กง อำเภอ กงไกรลาศ จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง คุณทิพย์วัลย์ สาธุรัตน์ (เจ้อึ่ง)
เลขที่ เลขที่ 122
ตำบล กง อำเภอ กงไกรลาศ จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ (055) 691114, 081-47
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่