ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 3' 23.976"
13.05666
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 55' 47.136"
99.92976
เลขที่ : 169254
กำไลทองเหลือง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : เพชรบุรี
0 1733
รายละเอียด
กำไลทองเหลืองเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ถึงแม้ว่าประเพณีการสวมกำไลก่อนออกเรือนของหญิงสาวจะหมดไป( ในอดีตผู้หญิงที่สวมใส่กำไลข้อเท้า หมายถึงหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงาน แม้มีอายุเป็นสาวแก่หรือทึนทึกก็ยังสวมกำไลข้อเท้าอยู่ ) คุณพลกฤษณ์ จันทร์เกษร อยู่บ้านเลขที่8 หมู่ 3 ต.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี 76150 เป็นช่างทำกำไล เล่าว่าสมัยก่อนแถบวัดป่าแป้นมีช่างทำกำไลอยู่มาก บรรพบุรุษของคุณพลกฤษณ์ เป็นช่างทำทองทั้งกำไลทอง สร้อยคอ ลายลูกโซ่ ลายจั่นมะพร้าว ฉลุลาย จนคุณปู่เสียชีวิต ไม่มีคนรับช่วงต่อ ในระยะแรกคุณพลกฤษณ์ไม่ได้สนใจจะทำ ต่อมาได้แต่งงานจึงคิดหาอาชีพให้ภรรยาจึงให้ฝึกทำกำไลกับพี่สาว แล้วกลับมาทำเอง ตอนแรกทำขายให้ละคร ลิเก ภายในจังหวัดต่อมาจึงขยายไปยังจังหวัดอื่น การทำกำไลทองเหลืองต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญ มีฝีมือ เนื่องจากต้องใช้ความประณีต ควรค่าแก่การอนุรักษ์เนื่องจากเป็นงานศิลปะผสมผสานวัฒนธรรมไทย การผลิตกำไลนั้นวันหนึ่งๆ สามารถทำได้ประมาณ 10 คู่ เท่านั้น วัตถุดิบ ประกอบด้วย แผ่นทองเหลือง ค้อนสำหรับตีแผ่นทองเหลือง แท่น (เบ้าพิมพ์ลาย) น้ำยาประสานทอง / ผงเงิน ลวด ตะไบ ขั้นตอนการผลิต แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นก้านและส่วนที่เป็นหัว เริ่มจากนำแผ่นทองเหลืองมาตัด ส่วนที่เป็นก้านจะตัดเป็นเส้นยาว แล้วนำไปเข้าไฟให้เนื้อทองเหลืออ่อนตัวไฟที่เผาต้องใช้กาบมะพร้าวสุม ถ้าใช้ถ่านจะร้อนเกินไปจนทองเหลือขาด เมื่อได้ที่แล้วทิ้งไว้สักพักก็นำมาขึ้นตัวโดยวางแผ่นทองเหลืองไว้ในช่องแล้วใช้ค้อนบุบให้เป็นราง คือ เป็นวงโค้งน้อยๆ จากนั้นนำไปเข้าไฟอีกครั้งแล้วจึงนำมาห่อ คือ ทำให้แผ่นทองเหลืองโค้งเข้าชิดกันโดยใช้ค้อนค่อยๆ บุบจนชิดกัน ส่วนหัวนั้นจะตัดแผ่นทองเหลือง เป็นวงกลมนำไปเข้าไฟให้นิ่มเสร็จแล้วเอามาเข้าหลุมดอกให้บุ๋มเป็นเบ้า ส่วนหนึ่งนำไปตอกด้วยตุ๊ดตู่ตรงกลางให้เป็นรูอีกพวกหนึ่งใช้แท่งเหล็กดันให้เป็นปลายแหลม ซึ่งจะต้องเหล็กถึง ขนาดค่อยๆ ดันอย่างใจเย็นไม่เช่นนั้นปลายจะทะลุ จากนั้นนำชิ้นส่วนสองชิ้นมาเชื่อมกันด้วยวิธีเป่าแล่น คือ ใช้เปลวไฟลนให้ทองเหลืองละลายเชื่อมกันโดยใช้น้ำยาประสานทองผสมกับผงเงินทาตะเข็บของชิ้นส่วนทั้งสองถึงจะติดเสร็จ แล้วจะได้หัวบัวเอาก้านบัวสอดเข้าไปในหัวบัวแล้นำไปเป่าแล่นอีกโดยใช้ลวดทำเป็นวงสอดอยู่ระหว่างรอยต่อของหัวบัวกับก้านทาน้ำประสานทองเมื่อถูกความร้อนก็จะละลายเชื่อมต่อทั้งสองส่วนให้ติดกัน เมื่อเป็นรูปเป็นร่างแล้วต้องใช้ตะไบมาเก็บงานแล้วใช้กระดาษทรายที่หมดคมแล้วมาลบรอยตะไบอีกครั้ง ขัดจนขึ้นเงาแม้จะขึ้นเงาแล้วก็ตามกำไลจะสีสุกปลั่งได้ก็ต้องเอาไปชุบสี การชุบสีนั้นไม่ได้นำสีมาชุบจริง แต่เป็นการเผาไฟด้วยถ่านไม่ให้ออกสีนากแล้นำมาขัดอีครั้งจนมีสีสุกปลั่งเป็นเงางาม กำไลที่ดี อยู่ที่วงโค้งของกำไล ถ้าวงไม่ดีผู้สวมใส่จะรำคาญไม่ไปตามลักษณะข้อเท้าถ้าหลวมไปจะตกไปที่เอ็นรอยหวายเวลายกเท้าจะเจ็บมาก กำไลจึงมีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กๆสำหรับเด็กๆ ใส่ได้จนถึงขนาดใหญ่พิเศษที่ทำให้พวกเล่นโขน เทคนิคในการผลิต การทำกำไลทองเหลือง เป็นงานที่ต้องอาศัยความชำนาญมีความรู้ความสามารถ ในเทคนิคต่างๆ อย่างเพียงพอ และมีความประณีตมีใจรักในงานศิลป
หมวดหมู่
ศิลปวัตถุ
สถานที่ตั้ง
บ้าน
เลขที่ 8 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ซอย - ถนน -
ตำบล บ้านลาด อำเภอ บ้านลาด จังหวัด เพชรบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายพลกฤษณ์ จันทร์เกษร
เลขที่ 8 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ซอย - ถนน -
ตำบล บ้านลาด อำเภอ บ้านลาด จังหวัด เพชรบุรี
โทรศัพท์ 089-9181040
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่