ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 174501
การปลูกหญ้าปูสนาม
เสนอโดย lamlukka วันที่ 25 ธันวาคม 2555
อนุมัติโดย mculture วันที่ 29 มีนาคม 2559
จังหวัด : ปทุมธานี
0 2184
รายละเอียด

การปลูกหญ้าปูสนาม

ประวัติความเป็นมา สำหรับผู้ที่ริเริ่ม โครงการดำเนินกิจการปลูกหญ้าปูสนาม กลุ่มนี้ คือ

นายประดิษฐ์ ผลเจริญ แต่เดิมนายประดิษฐ์ เคยรับจ้างทำการปลูกหญ้าปูสนามที่เขตมีนบุรีมาก่อน จนกระทั่งในปี 2515 นายประดิษฐ์ เริ่มเช่าที่ดิน และทำการปลูกหญ้าปูสนามเป็นของตนเอง ในสถานที่ดังกล่าว ส่วนในด้านลูกค้ากํยังไม่มากเท่าที่ควร ต่อมาเมื่อความเจริญทางด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เข้ามาสู่เขตมีนบุรี เจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ก็ทำการขายที่ดินให้กับนักลงทุน เพื่อนำที่ดินผืนนั้นไปพัฒน้เป็นที่ดินจัดสรร เช่น ธุรกิจ ศูนย์การค้า ตลาด บ้านจัดสรร เป็นต้น ดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อนายประดิษฐ์ เมื่อเจ้าของที่ดินบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดิน

จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2532 นายประดิษฐ์ จึงได้ย้ายมาทำทดลอง ทำไร่หญ้าที่บ้านเกิดของตนเอง ณ คลอง 13 หมู่ที่ 4 ตำบลบึงคอไห อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยในช่วงแรกเริ่มปลูกบนเนื้อที่ 10 ไร่ ซึ่งระยะเริ่มแรกนั้นนายประดิษฐ์ และภรรยาเป็นผู้ลงมือทำการผลิตเองเกือบทุกอย่าง นอกจากนี้ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาญาติพี่ น้องเท่าไรนัก และยังประสบปัญหาทางด้านการคมนาคมขนส่ง ส่วนลูกค้านั้นก็ยังเป็นลูกค้าประจำของ นายประดิษฐื เมื่อสมัยที่อยู่ในเขตมีนบุรี ต่อมาเมื่อได้ดำเนินกิจการต่อไปเรื่อย ๆ ได้ประมาณ 4-5 ปี ส่งผลให้กิจการเริ่มดีขึ้น ส่วนบรรดาญาติ พี่ น้อง เริ่มให้ความสนใจ โดยในช่วงแรกมีนาง อำไพ ชลเจริญ (ผลเจริญ ) นายณรงค์ ผลเจริญ และนางฟาระห์ นนทรี โดยผู้ที่ให้ความสนใจ เป็นบรรดาญาติ พี่ น้อง ของนายประดิษฐ์ (ตระกูลเดียวกัน ) สำหรับพี่ น้องที่ 3 คน นี้ในระยะแรก ได้ทำการทดลองปลูกหญ้าปูสนามเป็นจำนวน 1 ไร่ ก่อน โดนพันธุ์หญ้าที่ปลูกเป็นครั้งแรก คือ หญ้าพันธุ์มาเลย์ โดยระยะ 2 เดือนแรก ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไร ต่อมามีลูกค้าจากสิงห์โปรเริ่มเข้ามาติดต่อซื้อหญ้าไปหลังจากนั้นเป็นต้นมา ธุรกิจการปลูกหญ้าปูสนามของพี่ น้องทั้ง 3 คนนี้เริ่มประสบความสำเร็จ และทำการขยายพื้นที่ปลูกหญ้า ปูสนามออกไปอีก จนในปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกหญ้าประมาณ 10 ไร่

ต่อมานางอำไพ ชลเจริญ และนางปรานี พลชัย เริ่มไปติดต่อกับหน่วยงานราชการในจังหวัด

ปทุมธานี โดยเพื่อต้องการให้ทางหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ ตลอดจนช่วยในการประชาสัมพันธ์ ในเรื่องของกิจกรรมของตน หลังจากนั้นเป็นต้นมาโครงการดังกล่าวจึงเป็นที่สนใจจากบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน หรือแม้กระทั่งสื่อมวลชน ก็ตาม ทางด้านความสนใจของทางภาครัฐนั้น รัฐได้มีการจัดให้มีการศึกษาดูงานในเรื่องของการปลูกหญ้าปูสนามในพื้นที่ และยังได้ทำการศึกษาในเรื่องของสภาพความเข้มแข็งภายในชุมชน เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาต่อไปอีก และนอกจากนี้รัฐยังได้ยกระดับของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของทางรัฐไว้อีกด้วย

ส่วนในด้านเอกชนนั้น เอกชนเริ่มให้ความสนใจในเรื่องของผลิตภัณฑ์ ประเภทนี้เป็นอย่างมาก

เนื่องจากว่า เกษตรกรที่สนใจมาประกอบอาชีพนี้มีจำนวนน้อย แต่ความต้องการผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรมีจำนวนมาก เช่น เมื่อเอกชนต้องการลงทุนสร้างธุรกิจประเภท อสังหาริมทรัพย์ เช่น สนามกอล์ฟ บ้านจัดสรร อาคาร สำนักงานแน่นอน ส่วนประกอบที่สำคัญต้องการจัดสวน เพื่อให้สถานที่ดังกล่าวมีความสวยงามและมีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น ดังนั้นหญ้าจึงมีส่วนประกอบที่สำคัญเพื่อให้สถานที่ดังกล่าวมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ส่วนความสนใจของสื่อมวลขน มีหนังสือพิมพ์ รายการ โทรทัศน์ด้านการเกษตร และการ

ช่วยเหลือตัวเองของชาวบ้านในท้องถิ่น เข้ามาสัมภาษณ์ และถ่ายทำรายการเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงเป็นผลดีแก่เกษตรกรในท้องถิ่นในด้านการประชาสัมพันธ์ของโครงการอีกทางหนึ่ง

ในปัจจุบันมีผู้ที่สนใจประกอบกิจการปลูกไร่หญ้าปูสนามกันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นคนใน

ท้องถิ่น หรือต่างพื้นที่ โดยประมาณ จำนวน 2,000 ไร่

- ความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรม

เนื่องจาก ชาวตำบลบึงคอไห ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ในการเกษตร เช่นทำนา ทำสวน ทำไร่หญ้าปู

สนาม ดังนั้นวิถีชีวิตของชาวบึงคอไหจึงเป็น วัฒนธรรมของการเกษตร ลงแรง ลงแขก

- วัสดุ อุปกรณ์ ที่นำมาใช้

1. รถ 1 เครื่อง เพื่อไถนา หรือเครื่องปั่นเลน นิยมใช้เครื่องโรแท็ก 3-5 แรง ที่ใช้กับเรื่อหาง

ยาวในอดีต นำมาประยุกต์ ใช้ตีเลน เพื่อผสมดินเข้ากับน้ำจนเป็นเลน ไปตามท่อ แล้วฉีด

เลนละเลงให้ทั่วแปลงขณะดำหญ้า

2. สายยางสำหรับรดน้ำ

3. ท่อสูบน้ำ

4. ลูกกลิ้งขนาดใหญ่ สำหรับอัดบดหญ้าให้ติดกับดิน อุปกรณ์ชนิดนี้ทำมาจาก เหล็กม้วนเป็น

ท่อกลม ข้างในกลวง สามารถเติมน้ำหนักในการกดทับ ขณะบดหญ้า หรือกลิ้งหญ้าเมื่อดำ ได้ 2 วัน เพื่อทำให้รากหญ้าติดดิน

5. พลั่วแซะหญ้า เป็นอุปกรณ์ที่สั่งทำ โดยมีด้ามเป็นไม้ยาวประมาณ 1.20 -1.50 เมตร

ปลายด้ามหนึ่งเป็นพลั่วเหล็กตีแผ่กว้าง ด้านปลาย เวลาใช้คว่ำลงโดยใช้ข้อมือจับด้ามไม้บังคับทิศทาง

6. ไม้สกีตัดหญ้า เป็นอุปกรณ์ด้ามไม้ทำจากไม้เนื้อแข็งมีความยาว 50 เซนติเมตร

จะบาก รอยไว้เพื่อใช้วัดแผ่นหญ้าในขณะแซะหญ้า ปลายด้ามหนึ่งของไม้สกีมีเหล็กเส้นเหลี่ยมตัดโค้งประกบไว้ส่วน โค้งเหล็กซึ่งติดปลายไม้จะใส่ใบมีดไว้เพื่อเป็นเครื่องมือตัดแนวหญ้า

7. เครื่องตัดหญ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดใบหญ้า สามารถปรับความสูงต่ำ ได้ หลังจากดำ

หญ้าได้ 7-10 วัน จะต้องตัดใบหญ้าครั้งที่ 1 เมื่อหญ้าอายุ ได้ 22 วัน จะต้องตัดใบหญ้า

ครั้งที่ 2 สำหรับในหนึ่ง รอบของการปลูก

- จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ด้านการตลาด และการจำหน่าย ปัจจุบันด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ไร่หญ้าของชาวคลอง 13 ตำบลบึงคอไห อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี นั้น ประกอบไปด้วยลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ลูกค้าในประเทศ สำหรับลูกค้าในประเทศนั้น ก็มีลูกค้าประจำที่เคยปลูกไร่หญ้า อยู่ที่มีนบุรี ต่อมาเริ่มมีลูกค้าใหม่ก็จะประกอบไปด้วยภาครัฐ และภาคเอกชน ส่วนลักษณะงานที่ทางลูกค้าสั่งนั้น ถ้าเป็นภาครัฐ ก็จะนำไปตกแต่งสถานที่ราชการต่างๆ การปลูกหญ้าบนเกาะกลางถนน สวนสาธารณะเป็นต้น

ส่วนลูกค้าในภาคเอกชนก็จะนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ไปทำการประดับตกแต่งในธุรกิจประเภท อสังหาริมทรัพย์บ้าง ประดับตกแต่ง สวนภายนอกบ้านจัดสรร สนามกอล์ฟ นอกจากนี้มีพ่อค้าคนกลางมาติดต่อเพื่อนำไปขายต่ออีกที

ลูกค้าต่างประเทศ ประกอบไปด้วย 3 ประเทศ คือ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งประเทศสิงคโปร์นั้นจะซื้อหญ้ามาจากชาวบ้านและจะนำไปขายต่ออีกที ลักษณะการจัดส่งนั้นจะมีการจัดส่งโดยทางรถยนต์บรรทุกโดยทางลูกค้าจะนำมารับเองที่ไร่

- กระบวนการ / ขั้นตอนการผลิต

หญ้าที่เกษตรกรเพาะปลูก ตำบลบึงคอไห อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ประกอบไปด้วยกัน 3 พันธุ์ คือ พันธุ์มาเลย์ พันธุ์นวลน้อย แ ละพันธุ์นวลจันทร์

วิธีการเพาะปลูก มีขั้นตอนการเพาะปลูก การเตรียมดิน การปลูก การบำรุงรักษา จนกระทั่งเก็บผลผลิตเตรียมส่งขายดังนี้

1. การขุดร่องน้ำ และกั้นคันดินรอบบริเวณแปลงหญ้า เพื่อป้องกันน้ำท่วม และความสะดวก

ในการรดน้ำแปลงหญ้าทุกวัน

2. การเตรียมดินหรือปรับหน้าดิน ใช้ลูกกลิ้งเหล็กขนาดใหญ่บดอัดดินให้แน่น (ทำเทือก)การ

ฉีดน้ำดินเลนทั่วแปลง(ล้างเทือก) สำหรับประเภทดินที่เหมาะสมกับการปลูกหญ้านั้นควรจะเป็นดินเหนียวจึงจะเหมาะสม โดยก่นอื่นต้องปรับหน้าดินให้เรียบสนิททั่วทั้งผืนเพื่อให้ง่ายต่อการแซะหญ้าในช่วงจำหน่าย

3. การลงพันธุ์หญ้า ( ดำหญ้า) โดยนำพันธุ์มาแยกและแปะให้กระจายไปทั่วแปลง หลังจากที่

เกษตรกรได้ทำการเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์ไปแล้ว เกษตรกรจะทำการแบ่งผลิตภัณฑ์ ออกเป็น 80 ต่อ 20 ส่วนต่อ ไร่ ทั้งนี้ในส่วนของร้อยละ 80 เกษตรกรจะทำการจำหน่าย ส่วนร้อยละ 20 นั้น จะเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อไป พันธุ์หญ้าที่เตรียมไว้ทำพันธุ์นั้น พื้นที่ 1 ไร่ จะใช้พันธุ์หญ้า ประมาณ 500 ตารางเมตร นำหญ้ามาฉีกเป็นจับหรือเป็นชิ้น ๆ ละประมาณ 2-3 นิ้ว วางแปะ ลงบนดินเลน ผู้ดำหญ้าจะใช้มือตบเบาๆ เพื่อให้ต้นกล้าติดดิน ปัจจุบนค่าแรงดำหญ้าคิดเป็น ตารางวา ๆ ละ 3.50 บาท

การบำรุงรักษา

- น้ำ มีการให้น้ำทุกวันวันละ 2 เวลา เช้า และ เย็น

- ปุ๋ย ต้องใส่สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย ปุ๋ยที่ใส่คือปุ๋ยยูเรีย

- ยาปราบศัตรูพืช โดยจะใช้ยา ฟริดาน กำจัดหนอนและแมลง ใช้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

- เมื่อทำการดำนาหญ้าได้ประมาณ 2 วัน จึงจะใช้ลูกกลิ้งอัดหญ้าให้รากแน่น

- เมื่อครบ 10 วันตัดใบครั้งที่ 1 และใส่ปุ๋ย ตัดใบ 3 ครั้ง ในระยะเวลา 45 วัน

- ปริมาณการผลิตและราคา

สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 45 วัน หลังการเพาะปลูก โดยใช้สกีตัดเป็น แผ่น ๆ ขนาด 50 X100 เซนติเมตร และทำการแซะแปลงหญ้า ขายในพื้นที่ 1 ไร่ ได้ 1,600 แผ่น ( แผ่นละ 1 ตารางเมตร) นำไปขาย 1,200 แผ่น ที่เหลือ 400 แผ่นเก็บไว้เป็นหญ้าพันธุ์เพื่อนำไปใช้ในการดำนาหญ้าครั้งต่อไป หรืออัตราส่วน 80:20

สรุปรายรับ –จ่าย ของการปลูกหญ้าปูสนาม ( คิดเป็นค่าเฉลี่ยขั้นต่ำต่อไร่) มีรายละเอียดดังนี้

ตารางที่ 1แสดงรายจ่ายของการปลูกหญ้าปูสนาม

รายการ

ค่าใช้จ่าย

1.

ค่าจ้างบำรุงดูแลหญ้า ( เหมาจ่าย)

1,200.00

2.

ค่าแซะหญ้า 1,200 ตร.เมตร(เหมาจ่าย)

1,800.00

3.

ค่าแซะหญ้า 400 ตร.เมตร(หญ้าพันธุ์) เหมาจ่าย

400.00

4.

ค่าจ้างดำหญ้า(เหมาจ่าย)

1,400.00

5.

ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง และค่าน้ำมัน

1,000.00

รวมทั้งสิ้น

5,800.00

รายได้ขั้นต่ำของการปลูกหญ้าปูสนาม(คิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อไร่)

ตารางที่ 2แสดงรายได้ ( ขั้นต่ำ) ของการปลูกหญ้าปูสนาม

ลำดับ

รายการ

รายได้

1.

ผลผลิตต่อไร่ สามารถขายหญ้าได้ 1,200 ผืน

(1 ไร่ได้หญ้า 1,600 ผืน แต่เก็บไว้ทำหญ้าพันธุ์

400 ผืน )โดย ขาย ผืนละ 9 บาท

9.00

2.

รวมรายได้จากการขายหญ้าผืนละ 9 บาท

จำนวน 1,200 ผืน

10,800.00

3.

หักรายจ่ายจากตารางที่ 1 จะได้รายได้รวมทั้งสิ้น

50,000.00

ต่อไร่

รวมรายได้ทั้งสิ้น

5,000.00

การแซะหญ้าเพื่อจำหน่าย การปลูกหญ้าต่อรอบใช้เวลาประมาณ 30-35 วัน

วิธีการแซะหญ้าเริ่มด้วยการการขึงเชือก วัด และตัดหญ้าด้วยสกีตัดหญ้าซึ่งมีขนาดกว้าง ของแผ่น 50 เซนติเมตร ความยาว 1 เมตร จากนั้นใช้พลั่วแซะหญ้าโดยให้ดินติดรากหญ้า พอประมาณเพื่อช่วยไม่ให้หญ้าตายง่ายก่อนนำไปปลูก ปัจจุบันค่าแรงการแซะหญ้าคิดเป็นตารางเมตรละ 1.50 บาท

-สถานที่จำหน่าย

- สั่งจองได้ตามบ้านเกษตรกร

- ตัวแทนจำหน่ายวางตามข้างถนนสายหลัก รังสิต นครนายก ลำลูกกา

สนใจสั่งซื้อและขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคอไห หมู่ที่ 9 คลอง 12

- อนาคตและการสืบทอด เกษตรกรรมการทำไร่หญ้าแม้ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาจะซบเแต่

ปัจจุบันผลผลิตด้านนี้ดีขึ้น ให้ผลกำไรกับชาวเกษตรกรชาวไร่หญ้าดีพอสมควร แต่ จุดเสีย คือเกษตรกร ไม่สามารถกำหนดราคาหญ้าเองได้ ต้องขึ้นอยู่กับท้องตลาดหาก ความต้องการหญ้าลดน้อยลง ก็ส่งผลให้ราคาหญ้าตกต่ำซึ่งราคาต้นทุนในการผลิตมีแต่ จะสูงมากขึ้น เพราะผลพวงจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใดหากเรา กระทำด้วยใจรักมีปัญหาก็แก้ไข ย่อมส่งผลให้บรรลุผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน

สถานที่ตั้ง
คลอง13 ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล บึงคอไห อำเภอ ลำลูกกา จังหวัด ปทุมธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี ( ศาลากลางหลังเก่า )
บุคคลอ้างอิง นางสาวชวนชม แย้มไสว อีเมล์ meaw2555@outlook.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
ถนน เทศปทุม
ตำบล บางปรอก อำเภอ เมืองปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12000
โทรศัพท์ 025811237 โทรสาร 025934406
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่