ประวัติความเป็นมา ตำนานที่เกี่ยวข้อง
การรำกลองยาว มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น เถิดเทิง เทิ่งบองกลองยาว สันนิษฐานว่าแต่เดิมเป็นการเล่นของพวกทหารพม่าในสมัยที่มีการต่อสู้กันปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และเข้าใจว่าคนไทยนำมาเล่นในสมัยกรุงธนบุรีเพราะจังหวะสนุกสนานเล่นง่าย เครื่องดนตรีก็คล้ายของไทยและจังหวะก็ปรับมาเป็นแบบไทยๆเพื่อประกอบการรำ แต่การแต่งกายยังคงคล้ายรูปแบบของพม่า เช่น โพกหัวแบบพม่า นุ่งโสร่ง เสื้อคอกลมแขนกว้าง แต่บางครั้งจะพบแต่งกายตามสบาย โอกาสที่แสดงนิยมในงานรื่นเริง เช่น ขบวนแห่นาค ขบวนแห่ผ้าป่า กฐิน งานฉลอง ขบวนขันหมาก ผู้รำร่วมก็จะแต่งกายตามสบาย แต่จะนิยมประแป้งพอกหน้าให้ขาว ทัดดอกไม้ เขียนหนวดเครา แต้มไฝ ลีลาท่าทางอาจจะแปลกพิสดารที่ทำให้ชวนหัวเราะ ยั่วเย้ากันเองในหมู่พวกหรือคนดู และบางครั้งก็อาจไปรำต้อนคนดูเข้ามาร่วมวงสนุกไปด้วยผู้รำจะมีทั้งชายและหญิงส่วนพวกตีเครื่องประกอบจังหวะก็จะทำหน้าที่ร้องและเป็นลูกคู่ไปด้วย
แหล่งที่ปรากฏการแสดงนั้น ๆ
งานชักพระ , ทอดกฐิน , งานแต่งงาน , งานบวช
โอกาสที่เล่นหรือแสดง
งานบุญหรือตามงานประเพณีต่าง ๆ และงานที่หน่วยงานมอบหมายมาให้ทำการแสดง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง(เช่น ไม้ตะขาบสำหรับละครชาตรี)
๑. กลองยาว
๒. ฉิ่ง
๓. ฉาบ
๔. กรับ
๕. ฆ้อง
ลักษณะของสถานที่แสดง
บริเวณลานกว้าง หรือสนาม
จำนวนผู้แสดง เพศ
ทั้งเพศหญิงและเพศชายทั้งหมด ๒๔ คนเพศหญิง ๑๔ คน (รำกลองยาว)เพศชาย (เล่นกลองยาว) ๑๐ คน
เครื่องแต่งกาย
ผ้าถุง , เสื้อ , สไบ , เสื้อบาติก , ผ้าคาดศรีษะ , ผ้าคาดเอว , กางเกง
เรื่องหรือบทที่ใช้แสดงหรือลำดับขั้นของการแสดง
๑. ไหว้ครูโดยการตีกลองยกครู
๒. รำจังหวะเซิ้งตีกลองยาวแบบเซิ้ง
๓. ตีกลองยาวตามจังหวะ
ท่ารำที่ใช้ในการแสดง
๑. ท่าเซิ้ง
๒. ท่าสอดสร้อยมาลา
๓. ท่าจีบมือยาว
๔. ท่าสอดสร้อยมาลายกขาหน้า
๕. ท่าจีบข้าว วงบน
๖. ท่างูฟ้อนหาง
๗. ท่าช้างประสานงาจันทร์ทรงกรดยกขาหน้า
๘. ท่าไหว้
การเปลี่ยนแปลงหรือสภาพในปัจจุบัน(ถ้าสามารถระบุเวลาที่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงหรือผู้ที่เป็นต้นเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงได้ยิ่งดี)
สิ่งเหล่านี้เริ่มหดหายไม่มีใครนิยมชมเชย ไม่มีใครสืบทอดเลยทำให้มันไม่มีและโอกาสต่อไปอาจไม่มีให้เห็น เพราะวัฒนธรรมใหม่ ๆ เข้ามามีบทบาทเป็นชาวบ้านมากเกินไป พร้อมทั้งหน่วยงานที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนยังมีน้อย
คติความเชื่อที่เกี่ยวข้อง
การสืบทอดวัฒนธรรมเหล่านี้คือการไม่ลืมกำพืดของตัวเอง
โอกาสที่ร้องเล่น
งานตามประเพณีต่าง ๆ และทางหน่วยงานที่จัดขึ้น
การเปลี่ยนแปลงหรือสภาพในปัจจุบัน
เริ่มสูญหายไม่มีการสืบทอด
อื่น ๆ
อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแล และสนับสนุนให้มีการสืบทอด เพื่อเป็นวัฒนธรรมสู่รุ่นหลังต่อไป