ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 49' 5.1156"
14.818087666508883
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 18' 8.377"
101.30232693945311
เลขที่ : 185958
ผักหนอก
เสนอโดย chaweewann วันที่ 27 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย สระบุรี วันที่ 11 มิถุนายน 2564
จังหวัด : สระบุรี
0 435
รายละเอียด

ผักหนอก เป็นชื่อพืชล้มลุกชนิดหนึ่งหนึ่งมีเรียกตามแต่ละภูมิภาคต่างกันไป อาทิเช่น บัวบก จำปาเครือ ผักแว่น แว่นโคก ปะหนะเอชาเด็าะ ผักหนอกมีลำต้น เลื้อยยาวไปตามพื้นดิน แตกรากและใบตามข้อออกเป็นกระจุกที่ข้อ ข้อละ ๒ - ๑๐ ใบ ใบกลมขอบใบยักเล็กน้อย ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านล่างมีขนอ่อน ออกดอกเป็นช่อคล้ายร่ม เดี่ยว ๆ หรือมีประมาณ ๒ - ๕ ช่อ ช่อหนึ่งมี ๓ - ๔ดอก

มีความเชื่อคนโบราณว่า ห้ามหญิงชายเดินเหยียบย่ำ เนื่องจากผักหนอกเป็นผักที่มีคุณประโยชน์มากมาย ส่วนคำว่า “หนอก” นั้นเป็นภาษาทางภาคเหนือและบางส่วนของจังหวัดสระบุรี แปลว่า ที่สูง ที่เนิน เนื่องผักชนิดนี้ชอบขึ้นตามที่เนิน ตามสวน หรือตามคันนาจึงเรียกผักชนิดนี้ว่า “ ผักหนอก”

ประโยชน์ของผักหนอกนอกจากใช้รับประทานกับน้ำพริกแล้วยังมีประโยชน์ทางด้านสมุนไพร คือ ต้นหนอกทั้งต้นมีรสชาติหอมเย็น บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้ช้ำใน หรือฟกช้ำบวม แก้อ่อนเพลีย ขับปัสสาวะ รักษาบาดแผล แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้โรคปวดศีรษะข้างเดียว แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค แก้ตับอักเสบ แก้อาการเริ่มเป็นบิด ทำให้เลือดแผ่ซ่าน แก้ท้องร่วง เป็นยาขจัดเลือดเสีย แก้โรคผิวหนัง แก้พิษงูกัด แก้มุตกิด ระดูขาว นอกจากนั้น ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ น้ำลายไหล แก้เด็กเป็นซางตัวร้อน ผอมแห้ง ร้อนในกระหายน้ำใบ ขับปัสสาวะ ซ่อมแซมสิ่งสึกหรอ และบำรุงร่างกาย ส่วนเมล็ด มีรสขม แก้บิด แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ

สถานที่ตั้ง
วัดหนองผักหนอก
เลขที่ ๒๓๔ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล หนองย่างเสือ อำเภอ มวกเหล็ก จังหวัด สระบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พระภิรมย์ กิตฺติคุโณ
บุคคลอ้างอิง นางสาวณฐพร มุ่งอุ้มกลาง
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระบุรี
ตำบล ตะกุด อำเภอ เมืองสระบุรี จังหวัด สระบุรี รหัสไปรษณีย์ 18000
โทรศัพท์ 036340768-70 โทรสาร 036340768
เว็บไซต์ www.m-culture.go.th/saraburi
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่