พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี หรือพิพิธภัณฑ์เขาวัง เดิมเป็นพระราชวังที่พระบาทสเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนเขาสามยอด ชื่อเขาสมน (สะหมน) หรือสมณ เมื่อได้สร้างพระนครคีรีแล้ว ได้พระราชทานนามใหม่ว่า "เขามหาสวรรค์" โดยแบ่งพื้นที่การก่อสร้างพระราชวังออกเป็นสามส่วน คือยอดเขาด้านทิศตะวันตก เป็นพระมหาปราสาทและราชมณเฑียรสถาน โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นแม่กองในการก่อสร้าง เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2402 และเสร็จสมบูรณ์เมื่อวนที่ 12 พฤษภาคม 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดพระนครคีรีเป็นอย่างยิ่ง ได้เสด็จมาประทับอยู่หลายครั้ง แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงโปรดเช่นกัน โดยได้ใช้เป็นที่ต้อนรับแขกเมืองและพระราชอาคันตุกะ |
ต่อมาภายหลัง พระนครคีรีได้ถูกปล่อยให้รกร้างและทรุดโทรมลง จนถึงปี พ.ศ.2478 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ.2522 เป็นต้นมา และได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี |
การจัดแสดง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ตั้งอยู่ในบิเวณพระราชมณเฑียรสถาน การจัดแสดงโบราณสถานศิลปวัตถุจึงเป็นตามความสำคัญของพระที่นั่งแต่ละองค์ได้ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเรือน เครื่องราชูปโภคและเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ในรัชกาลที่ 4 และ5 |
พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เป็นพระที่นั่งองค์ประธาน สร้างเป็นสถานปัตยกรรมแบบยุโรปประยุกต์กับสถาปัตยกรรมไทยและจีน ประกอบด้วยท้องพระโรง ด้านหน้าจัดเป็นห้องเสวย ด้านหลังเป็นห้องบรรทม มุขด้านตะวันออกจัดเป็นห้องสรงและห้องบังคล แต่ละห้องตกแต่งด้วยเครื่องเรือนและเครื่องราชูปโภคอย่างสวยงาน ด้วยศิลปะยุโรป ศิลปะจีน ศิลปะญี่ปุ่น และศิลปะเปอร์เซีย |
พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ เป็นพระวิมานที่บรรทมของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระที่นั่งสองชั้นแบบเก๋งจีน เชื่อมต่อกับพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ทางด้านใต้ ชั้นบนแบ่งเป็นห้อง ๆ ด้านใต้ประดิษฐานแท่นพระบรรทมแกะสลักเป็นลวดลายดอกไม้ ห้องด้านเหนือเป็นห้องทรงพระอักษร |
พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท เป็นปราสาทยอดปรางค์ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
หอชัชวาลเวียงชัย หรือที่เรียกว่ากระโจมแก้ว มีลักษณะเป็นหอรูปร่างคล้ายประภาคาร หลังคาทำเป็นรูปโดมมุงด้วยกระจกใสมีที่สำหรับห้อยตะเกียงไฟขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดสังเกตในการนำเรือพระที่นั่งเข้าสู่ฝั่งในเวลากลางคืน ซึ่งชาวประมงได้อาศัยแสงไฟจากหอนี้เป็นจุดสังเกตนำเรือพระที่นั่งเข้าสู่ฝั่งในเวลากลางคืน ซึ่งชาวประมงได้อาศัยแสงไฟจากหอนี้เป็นจุดหมายในการเดินเรือด้วย |
พระที่นั่งธรรมสภา เป็นพระที่นั่งชั้นเดียว หลังคามุงด้วยกระเบื้องแบบจีน ส่วนประตูทำโค้งตกแต่งหัวเสาเป็นแบบศิลปะโรมัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้เป็นที่ประชุมสาธยายธรรม และพระราชพิธีสงฆ์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดัดแปลงเป็นห้องเสวยและเป็นที่ประทับของพระบรมวงศ์ที่ตามเสด็จด้วย |
โบราณวัตถุที่สำคัญประกอบด้วย
1. โถแก้ว
ขนาด สูง 36 ซม.
ชนิด แก้วสีแดง
แบบศิลปะ ยุโรป คริสตวรรษที่ 19
2. เหยือกสรงน้ำพระพักตร์และขวดเครื่องพระสำอาง
ชนิด กระเบื้อง
แบบศิลปะ ยุโรป คริสตวรรษที่ 19
3. แจกันรูปช้าง
ชนิด กระเบื้อง
แบบศิลปะ ยุโรป คริสตวรรษที่ 19