ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 27' 42.1711"
7.4617142
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 8' 1.6937"
100.1338038
เลขที่ : 196213
วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางเเก้ว
เสนอโดย พัทลุง วันที่ 16 มีนาคม 2565
อนุมัติโดย พัทลุง วันที่ 7 กรกฎาคม 2565
จังหวัด : พัทลุง
0 288
รายละเอียด

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์

วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว เป็นวัดโบราณ หลักฐานทางเอกสารประเภทตำนานเล่าประวัติวัดไว้ต่างๆ ดังนี้ ตำนานพื้นเมือง กล่าวว่า เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาวเป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้น มีกุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญพระพุทธรูป พระมหาเจดีย์ เสร็จแล้วให้จารึกเรื่องราวการก่อสร้างลงบนแผ่นทองคำ เรียกว่า "เพลาวัด" สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๑๔๙๒ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๑๔๙๓ เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาว ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากเกาะลังกามาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเจดีย์เพลานางเลือดขาว หรือบางท่านเรียกว่า“เพลาเมืองสทิงพระ” กล่าวว่า เจ้าพระยากรุงทอง เจ้าเมืองพาราณ ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นไว้ที่วัดสทัง วัดเขียนและวัดสทิงพระ ราว พ.ศ. ๑๕๔๒ จึงเข้าใจว่า วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้วน่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์พร้อมกับสร้างพระมหาธาตุ

จากหลักฐานทางเอกสารดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้วน่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษ ๑๕-๑๘ แต่นักโบราณคดีกำหนดอายุจากรูปแบบสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเข้าใจว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาและได้รับอิทธิพลจากพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ภายในวัดได้พบโบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ ศิวลึงค์และฐานโยนี แสดงว่าบริเวณท้องที่นี้มีการติดต่อรับอารยธรรมอินเดียมาตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ และคงเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณที่นับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายในสมัยอยุธยาตอนต้น วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้วเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธ เป็นที่ตั้งของคณะป่าแก้ว
ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลาง เมืองพัทลุงเกิดสงครามกับพวกโจรสลัดมาลายูอยู่เสมอ 1 จนบางครั้งพวกโจรสลัดเข้ามาเผาผลาญบ้านเรือนราษฎรและวัดเสียหายเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้วจึงทรุดโทรมเป็นวัดร้างชั่วคราว เมื่อชาวพัทลุงสามารถรวมตัวกันได้ จึงบูรณะวัดขึ้นอีกและเป็นเช่นนี้อยู่

โบราณสถาน/โบราณวัตถุ/จุดเด่น

๑. พระมหาธาตุเจดีย์บางแก้วเป็นเจดีย์ก่ออิฐ ฐานแปดเหลี่ยมวัดโดยรอบยาว ๑๖.๕๐ เมตร สูงถึงยอด ๒๒ เมตร รอบพระมหาธาตุบริเวณฐานมีซุ้มพระพุทธรูปโค้งมน ๓ ซุ้ม แต่ละซุ้มกว้าง ๑.๒๘ เมตร สูง ๑.๖๓ เมตร ภายในซุ้มมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ รอบพระเศียรมีประภารัศมีรูปโค้ง ขนาดหน้าตักกว้าง *.๔๔ เมตร สูง ๑.๒๕ เมตร ระหว่างซุ้มพระมีเศียรช้างปูนปั้นโผล่ออกมาเหนือพระเจดีย์ทรงสี่เหถี่ยม อิทธิพลศิลปะจีน ด้านตะวันออกมีบันไดสู่ฐานทักบันไดทำเป็นซุ้มยอดอย่างจีน มุมบันไดทั้งสองข้าง มีซุ้มลักษณะโค้งแหลม ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้นนูนสูง ปางสมาธิ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ฐานทักษิณและฐานรองรับองค์ระฆังเป็นรูปแปดเหลี่ยม มีลวดลายปูนปั้นรูปดอกไม้ ถัดจากองค์ระฆังเป็นบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประดับด้วยเครื่องถ้วยชาม ทั้งสี่มุมของบัลลังก์ก็มีรูปกาปูนปั้นมุมละ ๑ ตัว ซึ่งหมายถึงสมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ ทั้ง ๔ (พระมหาพันธ์ ธมมนาโก สร้างไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕) ส่วนยอดเป็นพานขนาดเล็ก 1 ใบ ภายในมีดอกบัวทองคำ จำนวน ๕ ดอก ๔ ใบ (ทองคำถูกขโมยไป เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม๒๕๒๑)

๒. วิหารคดเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาล้อมรอบพระธาตุ ๓ ด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันออกซึ่งติดกับอุโบสถ ภายในวิหารคดประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ฝีมือชาวพื้นบ้าน จำนวน ๓๔ องค์ ชาวบ้านเรียกว่า พระเวียน

๓. อุโบสถตั้งอยู่ด้านหน้าพระมหาธาตุเจดีย์ หันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออกขนานกับคลองบางแก้ว พระอธิการพุ่มได้บูรณะขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ ต่อมาชำรุดทรุดโทรมมาก จึงมีการบูรณะใหม่เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีบันไดทางขึ้นด้านหน้า ๒ ทาง ด้านหลัง ๑ ทาง ภายในมีพระประธานปูนปั้นปางมารวิชัย ทาพระโอษฐ์สีแดง ด้านหลังพระประธานก่อผนังเป็นห้องประดิษฐานพระไสยาสน์ปูนปั้น ๑ องค์ ยาว ๗.๕๐ เมตร สูง ๑.๕0 เมตร หนา ๔o เซนติเมตร ทาพระโอษฐ์สีแดง หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้อุโบสถได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔

๔. ใบเสมาหินทรายแดงตั้งอยู่โดยรอบอุโบสถ จำนวน ๘ ใบ เป็นเสมาเกลี้ยงไม่มีลวดลาย ยกเว้นใบที่อยู่ด้านหลังอุโบสถ มีลวดลายปูนปั้นที่อกเสมาเป็นรูปทรงพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ เข้าใจว่าเป็นการซ่อมภายหลัง เสมาเหล่านี้เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น

๕. ซากหอระฆังปัจจุบันหักเหลือแต่ฐานเดิมตอนบนเป็นเสาไม้สี่เสาหลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้อง คอสองประดับแผงไม่ฉลุลาย

๖. ศาลาการเปรียญตั้งอยู่ด้านหน้าซากหอระฆัง พระภิกษุคงเป็นผู้สร้างขึ้นบนซากเก่าเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๔-๒๔๕๕ เพื่อใช้ทำบุญบำเพ็ญศพของพระอธิการพุ่ม มีขนาด 3 ห้อง เสาไม้ดำเสา มีเฉลียงรอบ หลังคาทรงไทยมุงด้วยกระเบื้องดินเผา ภายในมีธรรมมาสน์จำหลักไม้สวยงาม ปัจจุบันบูรณะใหม่แล้ว

๗. พิพิธภัณฑ์สังฆรักษ์เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กรูปแบบไทยประยุกต์ออกแบบโดยกรมศิลปากร ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบบริเวณวัดเขียนบางแก้ว โคกเมืองและบริเวณใกล้เคียง

๘. พระพุทธรูปสำริดปางอุ้มบาตร ศิลปะสมัยอยุธยา อยู่บนกุฏิ
เจ้าอาวาส ชาวบ้าน เรียกว่า "แม่ทวด" มีตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นเพื่อฉลองแทนองค์"สมเด็จเจ้าแม่อยู่หัวเมือง" บางตำนานว่าหมายถึงนางเลือดขาว บางตำนานว่าหมายถึง "แม่ศรีมาลา" บูรณะใหม่แล้ว

๙. โบสถ์พราหมณ์ (โคกแขกชี)ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ของพระมหาธาตุเจดีย์ ชาวบ้านเรียกว่าวัดแขกชี บริเวณโบสถ์พราหมณ์ มีซากฐาน
เสาหินทรายสีแดงรูปทรงกลมเจาะรู ด้าน ในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ๑ ชิ้น ชิ้นส่วนฐานโยนิหินทรายสีแดง ๑ ชิ้น ศิวลึงค์ชำรุด จำหลักจากหินทราย

๑๐. วิหารถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา (โคกวิหาร)ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโบสถ์พราหมณ์ ปัจจุบันเหลือเพียงชากเนินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฐานชุกชีก่อด้วยอิฐและหิน ตอนบนมีชิ้นส่วนพระพุทธรูปจำหลักจากหินทรายแดง ศิลปะสมัยอยุธยา จำนวน ๓ องค์ พระเศียร พระพุทธรูปหินทรายแดงขนาดใหญ่ ๑ เศียร

๑๑. พระแก้วคุลาศรีมหาโพธิ์ (โคกพระคุลา)ชาวบ้านเรียกว่าพระคุลา ประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวิหารถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ประมาณ ๕๐ เมตร พระคุลาเป็นพระพุทธูรูป หินทรายแดงปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น เดิมชำรุดหักเป็นชิ้น เหลือเพียงพระเศียรเท่านั้นที่สมบูรณ์ วัดโดยรอบได้ ๑.๓๐ เมตร สูง ๑ เมตรเศษ ต่อมาพระมหาพันธ์ ธมมนาโก เจ้าอาวาสได้บูรณะขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕

๑๒. พระพุทธรูปสองพี่น้องประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระคุลา ประมาณ ๒๐๐ เมตร เดิมเป็นพระพุทธรูปหินทรายแดงแตกหัก จำนวน ๒ องค์ เหลือแต่พระเศียร ต่อมาพระมหาพันธ์ ธมมนาโก เจ้าอาวาสได้บูรณะขึ้นใหม่เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗ เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓

๑๓. โคกเมืองเป็นแหล่งชุมชนอีกแหล่งหนึ่ง ตั้งอยู่บนสันทรายริมทะเลหลวงห่างจากวัดตะปรับเพื่อทำการเกษตรของราษฎร พื้นที่ทั่วไปเป็นเนินทราย ขนผิวดินมีเศษภาชนะดินเผาจำนวนมาก อาทิเครื่องสมัยจากแหล่งเตาสุโขทัย เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง เครื่องถ้วยพื้นเมือง ด้านทิศตะวับตกของโคกเมืองเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสองพี่น้อง

การเดินทาง

เดินทางจากศาลากลางจังหวัดพัทลุง ถนนราเมศวร์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง ไปทางถนนหมายเลข ๓๐๓๒ มุ่งสู่ทางหลวงชนบทพัทลุง ๓๐๓๒ ไป ตำบลหานโพธิ์ ๒๕ นาที เข้าสู่ถนนหมายเลข ๔๐๐๓ วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒๖.๗ กิโลเมตร

สถานที่ตั้ง
วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว
อำเภอ เขาชัยสน จังหวัด พัทลุง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
โบราณสถานและเเหล่งโบราณคดี จังหวัดพัทลุง.(หน้า 20). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
บุคคลอ้างอิง นางสาววนัธศนันท์ ดุษฎีศุภการย์ อีเมล์ easting17@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
อำเภอ เขาชัยสน จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ 074617958 โทรสาร 074617959
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่