สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร เป็นผู้ที่สนพระทัยต่อการศึกษาของชาติเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการศึกษาของสตรี พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าสตรีในสมัยก่อนนั้น มักไม่ค่อยได้รับการศึกษา ส่วนใหญ่ศึกษาแต่งานบ้านงานเรือน ทั้งนี้เพราะสังคมมีค่านิยมเห็นว่า“ผู้หญิง เมื่อแต่งงานแล้วก็ต้องไปเป็นแม่บ้านแม่เรือนไม่ต้องศึกษาเล่าเรียนอะไรมากนัก” พระองค์ทรงส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนเบญจมเทอุทิศโดยได้ประทานเงินส่วนพระองค์สมทบกับเงินของประชาชน ซึ่งสมัยนั้นโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตพื้นที่วัดชีสระอินทร์ ได้พระราชทานเงินส่วนพระองค์สร้างอาคารเรียน จำนวน 6,000 บาท โดยให้รื้อถอนอาคารเรียนเดิมและปลูกสร้างใหม่ในที่ดินของวัดชีสระอินทร์ ทรงประทานเงินอีก 2,000 บาท เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การเรียน พระประวัติ สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2427 ณ พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา บรมราชเทวี ในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ดังนี้ 1.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกในรัชการที่ 5 2.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอิศริยาภรณ์ 3.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา 4.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ 5.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ 6.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ 7.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ 8.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า (ยังไม่ได้พระราชทานพระนาม) สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติได้ 3 วัน เมื่อพระชนม์ครบหนึ่งเดือนได้มีพระราชพิธีสมโภชเดือน ณ พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา บรมราชเทวี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี ชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมฟ้าหญิง เนื่องจาก สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงสูญเสียพระราชธิดาทั้ง 2 พระองค์ใน พ.ศ. 2430 พระองค์ทรงปรารภจะมีพระราชธิดา จึงทรงขอประทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี จาก สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ให้เป็นพระราชธิดา เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี ทรงมีพระชนม์ 12 พระชันษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ พระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี สิ่งที่พระองค์ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษ คือ การเย็บปักถักร้อย ทรงทำผ้ารองจาน ผ้ารองแก้ว เสื้อกันหนาว หรือไม่ก็ทรงร้อยดอกไม้ ทรงจัดดอกไม้ในแจกันและทรงพระอักษร บางคราวจะทรงเล่นเกมส์ เช่น หมากฮอร์ส สกาลูโด ผสมอักษรอังกฤษเป็นคำๆ ทรงเลือกแต่งฉลองพระองค์ซึ่งมีสีสันสวยงาม พระองค์ไม่โปรดเครื่องประดับมากนัก แต่ที่ทรงโปรดมาก คือ เครื่องประดับไข่มุก ไม่ว่าจะเสด็จที่ใดจะทรงสวมไข่มุกบ่อยครั้ง และทรงมีไข่มุกมากมายหลายสี พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ที่วังคันธวาส ถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 เวลา 23.15 นาฬิกา ด้วยพระอาการสงบ พระกรณียกิจ พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาของกุลสตรีไทย และทรงทำนุบำรุงการศึกษาของสตรีมากมาย อาทิ ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ ให้แก่ โรงเรียนราชินี และ สร้างโรงเรียนสตรีเพิ่มอีกแห่ง คือ โรงเรียนราชินีบน นอกจากนี้ ยังประทานอาคารพร้อมที่ดินประมาณ ๔ ไร่ให้ กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์" ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ และประทานเงินเพื่อปลูกสร้างอาคารและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การเรียนใหม่ของ "โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ" จังหวัดเพชรบุรี อีกด้วย พระอิสริยยศ • พ.ศ. ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี" • พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น "สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร" • พ.ศ. ๒๔๗๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น "สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิ