พิธีเสนเรือน เป็นพิธีเซ่นไหว้ผีเรือนของชนเผ่าไทดำซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ตามปกติพิธีเสนเรือนจะปฏิบัติกันทุกครอบครัวเป็นประจำ ๒-๓ ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะและความพร้อมของครอบครัว เพื่อคุ้มครองบุตรหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญก้าวหน้า ผู้ประกอบพิธีกรรมคือ "หมอเสน" ส่วนผู้ร่วมพิธีได้แก่บรรดาลูกหลานและญาติ ๆ รวมทั้งแขกเชิญ ในกรณีที่เจ้าบ้านหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นพนักงานของรัฐมีตำแหน่งสำคัญจะเชิญแขกจำนวนมาก บางครั้งแขกมาร่วมงาน ๒๐๐-๓๐๐ คน ญาติที่มาร่วมงาน แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือญาติสืบสายโลหิตจะแต่งกายแบบธรรมดา และญาติจากการแต่งงานได้แก่ฝ่ายเขยหรือสะใภ้ จะแต่งกายพิเศษด้วยชุด "เสื้อฮี" หรือเสื้อยาวเพื่อเป็นการเคารพผีเรือนและเป็นที่สังเกตให้ผู้มาร่วมงานรู้ว่าเป็นเขยหรือสะใภ้
ก่อนทำพิธีเสนเรือนจะจัดเตรียมสิ่งของที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ได้แก่ เหล้า หมู ๑ ตัว ตามปกติจะเตรียมต้มเหล้าไว้ล่วงหน้าใส่ไหฝังดินไว้ ๖ เดือน ถึง ๑ ปี เพื่อให้ได้เหล้าที่มีคุณภาพดี
พิธีเสนเรือน เริ่มตั้งแต่ในตอนเช้า โดยมีหมอเสนเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมในห้อง ผีเรือน ผู้เข้าร่วมพิธีได้แก่ญาติที่อยู่ในสิงหรือตระกูลผีเดียวกัน พิธีกรรมเริ่มจากเจ้าบ้านยกสำรับเครื่องเซ่นถวายผีเรือน จากนั้นหมอเสนจะเริ่มประกอบพิธีโดยกล่าวเชิญผีเรือนให้มารับเครื่องเซ่น โดยเรียกชื่อผีเรือนจาก"ปั๊บ"รายชื่อผีเรือน ให้มากินเครื่องเซ่นทีละคน ขณะที่เรียกชื่อผีเรือนหมอเสนจะใช้ไม้ทู (ตะเกียบ) คีบอาหารและเครื่องเซ่นป้อนให้ผีเรือนกิน โดยหย่อนลงทางช่องเล็ก ๆลงไปใต้ถุนบ้านแล้วหยอดน้ำตามลงไป จนกระทั่งเรียกชื่อผีเรือนครบทุกคน พิธีเซ่นให้ผีกินอาหารเช่นนี้จะทำ ๒ ครั้ง คือมื้อเช้าและกลางวัน หลังจากนั้นจะเสนเหล้าหลวง โดยใช้เหล้า ๑ ขวด และกับแกล้มเป็นเครื่องเซ่น หมอเสนจะทำพิธีเรียกผีบรรพบุรุษมากินตามรายชื่อในปั๊บผีเรือนจนครบทุกคนเป็นเสร็จพิธี
พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว จะต้องจัดปีละครั้งเป็นอย่างน้อย คำว่า เสน แปลว่า เซ่น หรือสังเวย เสนเรือน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน ได้แก่ การเซ่นไหว้ ปู่ย่า ตายาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคน
การทำพิธีเสนเรือน เจ้าภาพจะเชิญหมอเสน มาเป็นผู้ประกอบพิธีพร้อมกับแจ้งญาติพี่น้องให้ทราบ กำหนดวันทำพิธี และจัดเตรียมเครื่องใช้ในการทำพิธีให้เรียบร้อย เช่น เสื้อฮี - ส้วงฮี สำหรับเจ้าภาพสวมใส่ในขณะทำพิธี ปานเผือน(ภาชนะคล้ายกระจาดขนาดใหญ่ใช้บรรจุอาหารและเครื่องเซ่นผีเรือน) ปานข้าว(ภาชนะใส่อาหารในหม้อเสน) ตั่งก๋า(เก้าอี้หรือม้านั่งสำหรับหมอเสนนั่งทำพิธีในห้องผีเรือน) และอาหารที่เป็นเครื่องเซ่นต่าง ๆ หมูจุ๊บ (เนื้อหมู เครื่องในหมูยำ) แกงไก่กับหน่อไม้เปรี้ยว เนื้อหมูดิบ ซึ่โครงหมู ไส้หมู ข้าต้มผัด มันเทศต้ม เผือกต้ม อ้อย ขนมและผลไม้ต่าง ๆ ตามฤดูกาล ข้าวเหนียวนึ่งเจ็ดห่อ ตะเกียบเจ็ดคู่ หมากพลู บุหรี่และเหล้า เป็นต้น เมื่อได้เวลาเซ่นไหว้ผีเรือน เจ้าภาพจะจัดเครื่องเซ่นต่าง ๆ บรรจุลงในปานเผือนที่เตรียมไว้ และยกเข้าไปวางไว้ในห้องผีเรือนที่เรียกว่า กะล่อห่อง ซึ่งเป็นสถานที่ทำพิธี หมอเสนจะเริ่มพิธีด้วยการกล่าวเชิญบรรดาผีเรือนที่เป็นบรรพบุรุษของเจ้าภาพ โดยเรียกชื่อบรรพบุรุษตามบัญชีรายชื่อที่เจ้าภาพจดไว้ในสมุดผีเรือน เรียกว่า ปั๊บผีเรือน จนครบทุกชื่อสามครั้ง เมื่อครบแต่ละครั้ง หมอเสนจะใช้ตะเกียบคืบหมูกับขนมทิ้งลงไปในช่องเล็ก ๆ ด้านขวาของห้องผีเรือนแล้วเซ่นเหล้าแก่ผีเรือนอีกสองครั้ง
หลังจากเซ่นไหว้ผีเรืนเรียบร้อยแล้ว หมอเสนจะทำพิธีเสี่ยงทายให้แก่เจ้าภาพเรียกว่า ส่องไก่ ด้วยการพิจารณาลักษณะของตีนไก่ในแกงหน่อไม้เปรี้ยวที่เจ้าภาพนำมาให้ และทำนายตามลักษณะของตีนไก่ จากนั้นเจ้าภาพจะทำพิธีขอบคุณหมอเสน เรียกว่า ฟายหมอ แล้วจึงเลี้ยงอาหารแขกที่มาช่วยงาน
พิธีเสนเรือน เป็นพิธีเซ่นไหว้ผีเรือนของชนเผ่าไทดำซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ตามปกติพิธีเสนเรือนจะปฏิบัติกันทุกครอบครัวเป็นประจำ ๒-๓ ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะและความพร้อมของครอบครัว เพื่อคุ้มครองบุตรหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญก้าวหน้า ผู้ประกอบพิธีกรรมคือ "หมอเสน" ส่วนผู้ร่วมพิธีได้แก่บรรดาลูกหลานและญาติ ๆ รวมทั้งแขกเชิญ ในกรณีที่เจ้าบ้านหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นพนักงานของรัฐมีตำแหน่งสำคัญจะเชิญแขกจำนวนมาก บางครั้งแขกมาร่วมงาน ๒๐๐-๓๐๐ คน ญาติที่มาร่วมงาน แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือญาติสืบสายโลหิตจะแต่งกายแบบธรรมดา และญาติจากการแต่งงานได้แก่ฝ่ายเขยหรือสะใภ้ จะแต่งกายพิเศษด้วยชุด "เสื้อฮี" หรือเสื้อยาวเพื่อเป็นการเคารพผีเรือนและเป็นที่สังเกตให้ผู้มาร่วมงานรู้ว่าเป็นเขยหรือสะใภ้
ก่อนทำพิธีเสนเรือนจะจัดเตรียมสิ่งของที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ได้แก่ เหล้า หมู ๑ ตัว ตามปกติจะเตรียมต้มเหล้าไว้ล่วงหน้าใส่ไหฝังดินไว้ ๖ เดือน ถึง ๑ ปี เพื่อให้ได้เหล้าที่มีคุณภาพดี
พิธีเสนเรือน เริ่มตั้งแต่ในตอนเช้า โดยมีหมอเสนเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมในห้อง ผีเรือน ผู้เข้าร่วมพิธีได้แก่ญาติที่อยู่ในสิงหรือตระกูลผีเดียวกัน พิธีกรรมเริ่มจากเจ้าบ้านยกสำรับเครื่องเซ่นถวายผีเรือน จากนั้นหมอเสนจะเริ่มประกอบพิธีโดยกล่าวเชิญผีเรือนให้มารับเครื่องเซ่น โดยเรียกชื่อผีเรือนจาก"ปั๊บ"รายชื่อผีเรือน ให้มากินเครื่องเซ่นทีละคน ขณะที่เรียกชื่อผีเรือนหมอเสนจะใช้ไม้ทู (ตะเกียบ) คีบอาหารและเครื่องเซ่นป้อนให้ผีเรือนกิน โดยหย่อนลงทางช่องเล็ก ๆลงไปใต้ถุนบ้านแล้วหยอดน้ำตามลงไป จนกระทั่งเรียกชื่อผีเรือนครบทุกคน พิธีเซ่นให้ผีกินอาหารเช่นนี้จะทำ ๒ ครั้ง คือมื้อเช้าและกลางวัน หลังจากนั้นจะเสนเหล้าหลวง โดยใช้เหล้า ๑ ขวด และกับแกล้มเป็นเครื่องเซ่น หมอเสนจะทำพิธีเรียกผีบรรพบุรุษมากินตามรายชื่อในปั๊บผีเรือนจนครบทุกคนเป็นเสร็จพิธี
พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว จะต้องจัดปีละครั้งเป็นอย่างน้อย คำว่า เสน แปลว่า เซ่น หรือสังเวย เสนเรือน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน ได้แก่ การเซ่นไหว้ ปู่ย่า ตายาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคน
การทำพิธีเสนเรือน เจ้าภาพจะเชิญหมอเสน มาเป็นผู้ประกอบพิธีพร้อมกับแจ้งญาติพี่น้องให้ทราบ กำหนดวันทำพิธี และจัดเตรียมเครื่องใช้ในการทำพิธีให้เรียบร้อย เช่น เสื้อฮี - ส้วงฮี สำหรับเจ้าภาพสวมใส่ในขณะทำพิธี ปานเผือน(ภาชนะคล้ายกระจาดขนาดใหญ่ใช้บรรจุอาหารและเครื่องเซ่นผีเรือน) ปานข้าว(ภาชนะใส่อาหารในหม้อเสน) ตั่งก๋า(เก้าอี้หรือม้านั่งสำหรับหมอเสนนั่งทำพิธีในห้องผีเรือน) และอาหารที่เป็นเครื่องเซ่นต่าง ๆ หมูจุ๊บ (เนื้อหมู เครื่องในหมูยำ) แกงไก่กับหน่อไม้เปรี้ยว เนื้อหมูดิบ ซึ่โครงหมู ไส้หมู ข้าต้มผัด มันเทศต้ม เผือกต้ม อ้อย ขนมและผลไม้ต่าง ๆ ตามฤดูกาล ข้าวเหนียวนึ่งเจ็ดห่อ ตะเกียบเจ็ดคู่ หมากพลู บุหรี่และเหล้า เป็นต้น เมื่อได้เวลาเซ่นไหว้ผีเรือน เจ้าภาพจะจัดเครื่องเซ่นต่าง ๆ บรรจุลงในปานเผือนที่เตรียมไว้ และยกเข้าไปวางไว้ในห้องผีเรือนที่เรียกว่า กะล่อห่อง ซึ่งเป็นสถานที่ทำพิธี หมอเสนจะเริ่มพิธีด้วยการกล่าวเชิญบรรดาผีเรือนที่เป็นบรรพบุรุษของเจ้าภาพ โดยเรียกชื่อบรรพบุรุษตามบัญชีรายชื่อที่เจ้าภาพจดไว้ในสมุดผีเรือน เรียกว่า ปั๊บผีเรือน จนครบทุกชื่อสามครั้ง เมื่อครบแต่ละครั้ง หมอเสนจะใช้ตะเกียบคืบหมูกับขนมทิ้งลงไปในช่องเล็ก ๆ ด้านขวาของห้องผีเรือนแล้วเซ่นเหล้าแก่ผีเรือนอีกสองครั้ง
หลังจากเซ่นไหว้ผีเรืนเรียบร้อยแล้ว หมอเสนจะทำพิธีเสี่ยงทายให้แก่เจ้าภาพเรียกว่า ส่องไก่ ด้วยการพิจารณาลักษณะของตีนไก่ในแกงหน่อไม้เปรี้ยวที่เจ้าภาพนำมาให้ และทำนายตามลักษณะของตีนไก่ จากนั้นเจ้าภาพจะทำพิธีขอบคุณหมอเสน เรียกว่า ฟายหมอ แล้วจึงเลี้ยงอาหารแขกที่มาช่วยงาน