บ้านสามเรือน หมู่ที่ 4 ตำบลท่าตะคร้อ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี เป็นหมู่บ้านของชาวลาวโซ่ง อพยพมาจากหมู่บ้านห้วยท่าช้างเพื่อหาที่ทำกินใหม่ในช่วงแรกมีการอพยพมาเพียง 3 บ้าน จึงเป็นที่มาของชื่อ “บ้านสามเรือน” ต่อมามีราษฎรเริ่มอพยพมารวมกันเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 150 ครัวเรือน
บ้านสามเรือนถือเป็นหมู่บ้านดั้งเดิม ที่มีการทอผ้าควบคู่กับการทำไร่ทำนามาแต่บรรพบุรุษ ผู้หญิงลาวโซ่งจะนิยมทอผ้าลายพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวลาวโซ่ง เพื่อใช้ในพิธีต่าง ๆ อันเป็นการสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดมาช้านาน เช่น ประเพณีไทยทรงดำในเดือนเมษายนของทุกปี, การทำบุญกลางบ้าน, งานสงกรานต์
เริ่มแรกราษฎรจะทอผ้าเพื่อใช้กันเองและขายให้กันระหว่างหมู่บ้าน ชาวบ้านมีรายได้จากการประกอบอาชีพทุกประเภทประมาณ 3,000 บาท/เดือน ในปี พ.ศ.2530 ได้มีหน่วยงานราชการเข้าไปให้การสนับสนุนและส่งเสริมพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการจัดการ การลงทุน การจัดตั้ง และพัฒนากลุ่มอาชีพการผลิต(รวมถึงการฝึกอาชีพ) การตลอด การจำหน่าย และให้คำปรึกษาแนะนำในด้านต่าง ๆ ทำให้สภาพความเป็นอยู่เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ
หลังจากที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เข้าไปส่งเสริมกอปรกับได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ที่เล็งเห็นความกลุ่มได้หาทุนสร้างอาคารสำหรับกลุ่มทอผ้าเป็นศูนย์รวมของทุกคน
ด้วยความมุ่งมั่นและความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกได้ส่งผลให้ชื่อบ้านสามเรือนเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้ซื้อ มีตลาดจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น มีเงินทุนหมุนเวียนมากพอที่จะซื้อวัตถุดิบ ได้แก่ ไหมประดิษฐ์ ทอผ้ามัดหมี่ ทอผ้าขาวม้า ตามลายที่ลูกค้าสั่ง สามารถจำหน่ายได้ราคาเพิ่มขึ้น มีสมาชิกใจเข้าร่วมกลุ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 30 คน มีรายได้ประมาณ 3,000 บาท/คน
ผ้ามัดหมี่ และผ้าขาวม้าของบ้านสามเรือน จัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสวยงามเฉพาะตัวของชาวลาวโซ่งที่น่าจะสนับสนุน ปัจจุบันมีบุญนาค กานตพงศ์ ประธานกลุ่ม
สถานที่ตั้งกลุ่มทอผ้าบ้านสามเรือน
บ้านสามเรือน หมู่ที่ 4 ตำบลท่าตะคร้อ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
หมู่บ้านดีเด่น ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยประดิษฐ์
คำขวัญ ไทยทรงดำล้ำหน้า สามเรือนทอผ้า ก้าวหน้าหัตถกรรม สูงล้ำไมตรี