ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 5' 20.5573"
17.0890437
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 49' 20.3588"
103.8223219
เลขที่ : 122358
ประวัติบ้านกุดบาก
เสนอโดย สกลนคร วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : สกลนคร
1 537
รายละเอียด

กลุ่มกะเลิงในอำเภอกุดบาก เป็นชาติพันทางภาษาและวัฒนธรรมกลุ่มหนึ่งที่มีความแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่น ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกลุ่ม การเลือกหลักแหล่งการทำมาหากิน การประกอบอาชีพ และการวัฒนธรรม ภาษาพูด ถ้อยคำสำเนียง

ชาวกะเลิงมีการอพยพเคลื่อนย้ายเข้าในภาคอีสานหลายครั้ง และการอพยพครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อศึกฮ่อยกกำลังไปตีเมืองสิบสองจุไทในปี พ.ศ. 2416 และโจมตีเมืองหลวงพระบางในเวลาต่อมา การโจมตีเมืองในพระราชอาณาจักรสยามทำให้กองทัพไทยต้องยกกำลังไปปราบปรามจีนฮ่อหลายครั้งในปี พ.ศ. 2426,2428 และ 2430 การเกิดศึกทำให้คนตามเมืองต่าง ๆ เดือดร้อนจึงอพยพตามแม่ทัพ นองกอง นำเสบียงไปช่วยกองทัพไทยที่เมืองบริภัณฑ์นิคม จึงได้มีชนกลุ่มชาวกะเลิงติดตามกลับมาเป็นจำนวนมาก (เครือข่ายอินแปง : 2543 : 6)

บรรพบุรุษของชาวบ้านเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศลาว บริเวณเมืองภูวานากระแด้งเมื่อเกิดศึกจีนฮ่อที่รุกรานชนกลุ่มน้อย ชาวกะเลิงจึงอพยพจึงหนีลงมาอยู่บริเวณเมืองมหาชัยกองแก้ว และบางส่วนอพยพข้ามลำน้ำโขงมาหาแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์บริเวณเทือกเขาภูพานชาวกะเลิงส่วนมากจะอยู่รอบ ๆ เทือกเขาภูพาน บรรพบุรุษของชาวบ้านกุดบากได้อพยพมาจากเมืองมหาชัยกองแก้ว โดยมีผู้นำชื่อนายเชียงพล ( เชียงเป็นคำที่เรียกว่าชายที่ผ่านการบวชเณร ) นางผันและพระนนท์พร้อมด้วยชาวบ้านจำนวนหนึ่งได้มาอาศัยอยู่ที่บริเวณภูคำเกียง (ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านกุดบาก) เป็นเขตติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน จากนั้นได้อพยพมาทำมาหากินที่บริเวณห้วยวังทับ (ทิศใต้ของบ้านนาขาม) ตั้งถิ่นฐานอยู่นานจนเกิดโรคระบาด (โรคอหิวาตกโรค) อีกทั้งมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น การทำมาหากินฝืดเคืองจึงได้หาพื้นที่ทำนาหากินใหม่ จนได้พบพื้นที่บริเวณหนองน้ำที่มีต้นบากขึ้นเป็นจำนวนมาก และบริเวณใกล้เคียงรอบ ๆ หนองน้ายังมีกอไผ่และป่าที่อุดมสมบูรณ์ สามารถหาอาหาร สมุนไพร สัตว์ป่าต่าง ๆ หน่อไม้ ผัก ซึ่งนิยมรับประทาน เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต ซึ่งบริเวณดังกล่าวนี้ได้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชน “กุดบาก” มาจนถึงปัจจุบัน

ในช่วงแรกที่อพยพมาอยู่ชาวกะเลิงประกอบอาชีพล่าสัตว์ เลี้ยงช้างเลี้ยงม้าเพื่อเป็นพาหนะในการเดินทาง ทำไร่เลื่อนลอย มีการปลูกข้าวไร่ ปลูกพริก ปลูกฝ้าย เพื่อเป็นอาหารและนำฝ้ายมาทำเป็นเครื่องนุ่มห่ม และบางครั้งนำมาแลกเปลี่ยนกับคนกลุ่มอื่น

คำสำคัญ
บ้านกุดบาก
สถานที่ตั้ง
ตำบลกุดบาก
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2/บ้านกุดบาก
ตำบล กุดบาก อำเภอ กุดบาก จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร อีเมล์ sakon.culture@gmail.com
ถนน สกล - กาฬสินธ์
ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000
โทรศัพท์ 042716247 โทรสาร 042716214
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/sakonnakhon/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่