ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 6' 19.5804"
13.1054390
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 56' 59.7588"
99.9499330
เลขที่ : 136698
จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะ
เสนอโดย อรอนงค์ เพชรบุรี วันที่ 25 พฤษภาคม 2555
อนุมัติโดย เพชรบุรี วันที่ 28 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : เพชรบุรี
1 1579
รายละเอียด

จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะ เป็นจิตรกรรมสมัยอยุธยาที่มีความงดงาม มีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ดี นิยมใช้เป็นแหล่งเรียนรู้งานด้านทัศน์ศิลป์ของนักศึกษา ผู้สนใจ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก ผนังภายในอุโบสถทุกด้านจะมีภาพจิตรกรรมสีฝุ่นผสมกาวปรากฏอยู่

ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะ มีดังนี้

1. เป็นจิตรกรรมเขียนด้วยสีฝุ่นที่แสดงให้เห็นรูปแบบ ลักษณะ สี องค์ประกอบและเทคนิคของจิตรกรรมสมัยอยุธยาได้อย่างชัดเจน เช่น การใช้สีอ่อน ใช้สีไม่มากสี คือ แดง ดำ ขาว เหลือง ลงพื้นด้วยสีขาว แล้วเขียนบนพื้นสีเข้ม การลงสีใช้สีแก่ อ่อน โดยใช้น้ำเป็นตัวผสาน

2. การจัดวางองค์ประกอบภาพในแนวตั้ง โดยใช้ทรงของเจดีย์และฉัตรสลับกัน แล้วมีกรอบทรงสาม เหลี่ยมครอบ ทำให้เกิดเป็นแนวเส้นทรงสามเหลี่ยมซ้อนกันสองชั้นต่อเนื่องกัน หยักเป็นฟันปลาใช้เป็นสินเทาแบ่งภาพ ใช้วิธีนี้แบ่งผนังด้านข้างทั้งสองด้านให้เหมือนกัน จึงเกิดความสมดุล งามตา ช่องว่างระหว่างเจดีย์และใต้ฉัตร บรรจุเรื่องราวพุทธประวัติ ช่องว่างระหว่างยอดเจดีย์และยอดฉัตรเขียนภาพวิทยาธรขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นการวางองค์ประกอบภาพที่มีลักษณะเฉพาะตัว แม้ว่าจะมีลักษณะเฉพาะ แต่ก็มีลักษณะร่วมกับจิตรกรรมร่วมสมัยเช่นกัน การวางภาพยาวตลอดผนัง การคั่นภาพไม่เขียนติดกันเป็นพืด การวางเจดีย์เป็นรูปตั้ง

3. การจัดวางกลุ่มตัวภาพ การใช้สีที่แตกต่างกัน ทำให้แยกองค์ประกอบได้ง่าย และติดตามภาพได้ดี แม้ภาพจะรวมกันแน่น

4. การเขียนตัวภาพ เขียนแบบเรียบง่าย บางแห่งใช้การตัดเส้นรูปนอกเท่านั้น ทำให้ชวนมอง ช่วงว่างระหว่างเจดีย์กับฉัตรเป็นพื้นขาว นอกจากเรียนภาพวิทยาธร พื้นที่ว่างเขียนลายเมฆ ช่อดอกไม้ ลายดอกไม้ร่วง พื้นหลังเจดีย์เป็นสีแดง

5. เส้นสินเทาเป็นเส้นครีบ พลิ้ว คล้ายภาพจิตรกรรมที่วัดใหญ่สุวรรณาราม

6. จิตรกรรมแสดงเรื่องพุทธประวัติ หลายตอน ได้แก่ อัฏฐมหาสถาน สัตตมหาสถาน ตอนมารผจญ ที่ประทับรอยพระพุทธบาท ตอนเสด็จดาวดึงส์ ตอนอภิเษก ตอนพบเทวทูตทั้งสี่ ตอนปรินิพาน ตอนพระมหากัสสปะ ถวายสักการะถวายพระเพลิง และแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ภาพอดีตพุทธเจ้า24พระองค์ ที่ต่างจากที่อื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักเน้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ มักเป็นภาพประสูติ วิวาหมงคล ออกมหาภิเนษกรมณ์แต่ที่วัดเกาะแสดงอัฏฐมหาสถาน กับสัตตมหาสถาน เป็นการเน้นในแง่การบำเพ็ญบารมีธรรม ปรัชญา ความคิด มีภาพเหตุการณ์น้อย

7. สะท้อนความเข้าใจเรื่องพุทธศาสนาของคนในยุคนั้น สภาพสังคมบางส่วน ความเป็นไปของวิถีชีวิตของคนในสังคม เช่น ขุนนาง ชาวบ้าน รวมถึงการแต่งกาย ทรงผม และการละเล่น ชาวต่างประเทศทั้งชาติตะวันออก และตะวันตก ที่เดินทางเข้ามาติดต่อ เมืองเพชรบุรีนับเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยอยุธยาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความศรัทธาอย่างแรงกล้าในพุทธศาสนา

ที่มาของข้อมูล

บุญมี พิบูลย์สมบัติ, บรรณาธิการ. (2543). วัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี. บริษัท เพชรภูมิ การพิมพ์ จำกัด, หน้า 91 - 92.

หมวดหมู่
ทัศนศิลป์
สถานที่ตั้ง
วัดเกาะ
ตำบล ท่าราบ อำเภอ เมืองเพชรบุรี จังหวัด เพชรบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางชูศรี เย็นจิตร์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี อีเมล์ petburi_culture@hotmail.com
ตำบล คลองกระแชง อำเภอ เมืองเพชรบุรี จังหวัด เพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ 76000
โทรศัพท์ 032 424324 โทรสาร 032 424325
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/petchaburi
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่