ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 16' 55.146"
14.2819850
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 37' 10.7976"
100.6196660
เลขที่ : 136930
ประติมากรรมปูนปั้นจากกระดาษรีไซเคิล
เสนอโดย anong123 วันที่ 29 พฤษภาคม 2555
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 3 มิถุนายน 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
1 5706
รายละเอียด

ประติมากรรมปูนปั้นจากกระดาษรีไซเคิล

ประวัติความเป็นมา

ประติมากรรมปูนปั้นจากกระดาษรีไซเคิล เกิดจากแนวคิดในการรวมกลุ่มของคนในหมู่บ้าน

เพื่อจัดกิจกรรมในชุมชนและสร้างงาน สร้างรายได้เพื่อสร้างสวัสดิการชุมชน ทำให้เกิดการค้นหาความต้องการในการสร้างผลิตภัณฑ์ โดยคำนึงถึงวัสดุที่มีอยู่ในชุมชนของตนเองที่โดดเด่น เป็นที่รู้จัก และมีความเป็นธรรมชาติ รวมถึงการคำนึงถึงการนำวัสดุที่ใช้แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ประติมากรรมปูนกระดาษรีไซเคิล ได้ถูกถ่ายทอดความรู้ต่อไปยังสมาชิกในหมู่บ้านและผู้ที่

สนใจในการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน จนสามรถพัฒนารูปแบบให้ใหม่อยู่เสมอ เช่น ม่านนำตก ป้าย แจกัน กระถาง อ่างปลา ชุดประดับตกแต่ง และยังสามารถผลิตให้เป็นไปตามรูปแบบที่ตลาดต้องการ จนเป็นที่ยอมรับ และแพร่หลายในปัจจุบัน

เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์

ประติมากรรมปูนปั้นกระดาษรีไซเคิล ถือเป็นผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่ผสมผสานแนวคิดใน

การดูแลรักษาโลกร้อน (ภาวะโลกร้อน) การรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า มีการนำเอาของเหลือใช้ ไม่ใช้แล้ว มาเป็นองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน อาทิ กระดาษหนังสือพิมพ์ ขวดพลาสติก ผสมซีเมนต์ ซึ่งเป็นวัสดุหลัที่ใช้ในชีวิตประจำวันนำมาผลิตในรูปแบบที่ทันสมัย ตอบสนองความต้อง และประโยชน์ในการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ลวดลายที่เลียนแบบธรรมชาติจากการผลิตด้วยมือ ที่มีความคงทน ติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอก อาคาร สำนักงาน บ้านหรือตกแต่งสวน

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

๑.ปูนซีเมนต์ (ก่อ/ฉาบ)

๒.กระดาษหนังสือพิมพ์

๓.วัสดุที่ใช้แล้ว เช่น ขวดพลาสติก ลวดตาข่าย เป็นต้น

๔.เครื่องมือ / อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เกียง แปรงทาสี

ขั้นตอนการการผลิต

๑.นำกระดาษมาฉีก แช่น้ำในภาชนะ

๒.นำกระดาษหนังสือพิมพ์ที่แช่น้ำมายุยด้วยมือ /ตำ/ปั่น ให้ย่อย

๓.นำปูนซีเมนต์ ๑-๒ ส่วน และกระดาษที่ย่อยมาผสมตามอัตราส่วน

๔.นำรูปทรงที่ขึ้นรูป / วัสดุใช้แล้ว มาขึ้นรูป ด้วยส่วนผสมให้รอบตามรูปทรงที่ประกอบไว้

๕.นำเกียงขึ้นลวดลายให้ได้ลวดลาย ตกแต่งลวดลายให้เหมือนไม้ (ตามต้องการ)

๖.นำชิ้นงานที่ขึ้นลายไปตากแดด/ในร่ม ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วลงสีน้ำ ลงน้ำยาเคลือบเงา

ประโยชน์ที่สมาชิกในกลุ่ม และครอบครัวได้รับ คือ การมีรายได้เพิ่มให้แก่สมาชิกในชุมชน

และครอบครัว

สถานที่ตั้ง
ตำบลตลิ่งชัน
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล ตลิ่งชัน อำเภอ บางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชุมชนตำบลตลิ่งชัน
บุคคลอ้างอิง นางอนงค์ อนันต์รัตนสุข อีเมล์ anong_anan@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอบางปะอิน
เลขที่ 11/11 หมู่ที่/หมู่บ้าน 11 ถนน บางปะน-บางไทร
จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13160
โทรศัพท์ 035261001 087691909 โทรสาร 035261001
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่