ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 140925
กลุ่มหัตถกรรมจากกกเหล่าพัฒนา
เสนอโดย nutjang วันที่ 26 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย นครพนม วันที่ 28 มิถุนายน 2555
จังหวัด : นครพนม
0 2034
รายละเอียด

กลุ่มหัตถกรรมจากกกเหล่าพัฒนา

1. ประวัติความเป็นมา

งานหัตถกรรมจากกก บ้านเหล่าพัฒนา หมู่ที่5 และหมู่ที่ 9ทำกันอยู่เดิมมีผู้อาวุโสท่านหนึ่งนำต้น กกมาจากอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มาปลูกที่ หนองโดก ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่ทาง ทิศตะวันออกของหมู่บ้าน มีพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ เมื่อต้นกกที่ปลูกขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้นจึงกลายเป็น พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของชุมชนชาวบ้านได้นำกกมาแปรรูป เป็นสื่อใช้ในครัวเรือน และ จำหน่ายบ้าง

ในปี พ.ศ.2517 สตรีในหมู่บ้านได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มขึ้นมีสมาชิกแรกเริ่ม จำนวน 20 คน ปัจจุบันมี สมาชิกจำนวน 182 คน จากหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 9 และสมาชิกเครือข่ายนอกชุมชน 600 คน กิจกรรม ทอเสื่อและจักสานจากเส้นกก จึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ชุดถาดรองจาน – รองแก้วในโต๊ะอาหาร เป็นผลิภัณฑ์ที่สมาชิกผู้ผลิตได้ผลิตและออกจำหน่าย สู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

กลุ่มหัตถกรรมจากกได้รับความรู้ในด้านการพัฒนารูปแบบเรื่อยมามีการแปรรูปเป็นสิ่งของ เครื่องใช้มากมาย เช่น กระเป๋า ตะกร้า แฟ้มใส่เอกสาร ที่รองจาน และมีอีกมากมายหลายแบบตาม ความคิดสร้างสรรค์และความต้องการของลูกค้า (ออร์เดอร์) ทำให้เกิดภูมปัญญาและสินค้าที่สวย แปลกตาน่าใช้

ในระหว่างปี พ.ศ.2540 – 2551 ดีรับการสนับสนุนวิทยากรจากกรมส่งเสริม อุตสาหกรรมและกรมพัฒนาฝีมือแรงงานมาสอนการแปรรูปจากกก เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระเป๋า แฟ้มใส่เอกสาร ที่รองจาน และสมาชิกกลุ่มได้มีการพัฒนารูปแบบตามต้องการ ทำให้เกิดภูมิปัญญา ขึ้นมากมาย สมาชิกมีการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก

2. เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

ลักษณะที่โดดเด่นของถาดรองจาน ของกลุ่มหัตถกรรมจากกกเหล่าพัฒนา มีรูปทรงที่สวยงามฝีมือประณีต ผลิตจากเส้นกกที่เรียวกลมสม่ำเสมอ มีความประณีตเหนียวนุ่ม คงทน ไม่ขึ้นรา ลวดลายจักสานที่งดงาม มีความเหนียงนุ่มเส้นวาว ไม่สาก มีความทนทานประณีต สวยงาม รูปแบบทันสมัยใช้จากธรรมชาติทั้งหมด ตลอดการผลิตไม่ใช้สารเคมี สีสันสวยงามตามธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์มี ความคงทน อันเนื่องมาจากแต่ละขั้นตอนของการผลิตใช้ภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดและ คิดค้นเพิ่มเติมตั้งแต่การเตรียมวัสดุด้วยการคัดเลือกเส้นกก การตาก การขึ้นรูป

3. มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

1. พ.ศ.2551 – โล่รางวัลจากมูลนิธิ หม่อมงามจิตต์ บูรฉัตร สาขาหมู่บ้านหัตถกรรมดีเด่น

2. พ.ศ.2552 – ได้รับรางวัลหมู่บ้านหัตถกรรมดีเด่น ระดับประเทศ สาขาหัตถกรรมจากกก

3. พ.ศ.2545 – รางวัลกลุ่มอาชีพดีเด่นของกรมการพัฒนาชุมชน

4. พ.ศ.2548 – ได้รับคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์ดาวรุ่งมุ่งส่งออก (One Province One Product)

5. พ.ศ.2549 - ได้รับคัดเลือกให้เป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดนครพนม( provincial Star OTOP: PSO)

6.พ.ศ.2553 – ได้รับรางวัลกลุ่มอาชีพดีเด่น ระดับจังหวัด

- ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับ 4 ดาว ปี 2553 ประเภทของใช้ ประเภทของใช้ ของตกแต่งของที่ระลึก ถาดรองจานแบบสาน

4. ความสัมพันธ์กับชุมชน

ใช้วัสดุในพื้นที่ ที่คนในชุมชนได้ปลูกและดูแลรักษาเอง ฝีมือ แรงงาน คือคนในชุมชนอย่างแท้จริง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง มีการรวมกลุ่มช่วยเหลือกซึ่งกันและกัน มีการร่วมกันทำร่วมกันคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตามความต้องการของลูกค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าจนได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด มีอาชีพและรายได้ตลอดทั้งปี

5. วัตถุดิบและส่วนประกอบ

วัตถุดิบ

1. เส้นกก

2. มีด

3. กรรไกร

4. ค้อน

5 ที่ฉีดน้ำ

6 เข็ม

6. ขั้นตอนการผลิต

เลือกเส้นกกที่มีขนาดเท่ากัน นำเส้นกกไปชุบน้ำให้นิ่ม มาทำเป็นชั่ง (เส้นยืน) จำนวน 4 ชั่ง ๆละ 8 เส้น แล้วนำมาก่อเป็นฐาน เอาเส้นสาน จำนวน 1 - 2 เส้นมาสาน ครบ 3 รอบ แล้วแยกชั่ง ออกเป็น 4 เส้น ครั้งที่ 1 สานต่อไปอีกประมาณ 10 รอบ แยกชั่งครั้งที่ 2 ตอนสานต้องชุบน้ำตลอด อย่าให้เส้นกกแห้ง ต้องพรมน้ำตลอด สานไปอีกประมาณ ถ้าเอาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 20 ซม. ต้องเสริมชั่ง ถ้าเอาขนาด 30 ซม. เมื่อถึง 25 ซม.แล้วพับปาก สานต่อไปอีก 5 ซม. แล้วสอดรอบสุดท้ายครบรอบแล้วถึงสั้นที่เราพับดึงลงให้เสมอกัน ใช้มีดตัดส่วนที่เหลือถ้าอยากให้แบนเรียบสม่ำเสมอใช้ค้นทุบ

7. เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

1. คัดเส้นกกให้มีขนาดเสมอกัน เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่สวยงาม

2. การใช้ชั่งจำนวน 4 ชั่ง เพื่อให้จุดกึ่งกลางของถาดรองจานไม่นูนสูง ได้ขนาดที่สวยงาม

3. ระหว่างการสานให้พรมน้ำเส้นกกเสมอ เพื่อเวลาการทำชิ้นงาน เส้นกกไม่แตก หรือหัก และที่ สำคัญจะทำให้ชิ้นงานแน่นหนา แข็งแรง

4. ขั้นตอนการเก็บขอบ ให้แช่ชิ้นงานในน้ำก่อน จนกว่าน้ำจะซึมเข้าเส้นกก เพื่อเวลาดึกเส้นกก จะเหนียว ไม่ขาด และทำให้ได้ชิ้นงานที่แข็งแรง หลังจากนั้นจึงนำไปตากแดดให้แห้ง

8. กลุ่มผู้ประกอบการ

กลุ่มผู้ผลิต: กลุ่มหัตถกรรมจากกกเหล่าพัฒนา

สถานที่ผลิต: ที่ทำการกลุ่มหัตถกรรมจากกกเหล่าพัฒนา เลขที่ 120 หมู่ที่ 5 ตำบล เหล่าพัฒนา อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

ประธานกลุ่ม: นายวินัย เสนสุข

9. แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

1.ที่ทำการศูนย์หัตถกรรมจากกกเหล่าพัฒนา

2.ตามงานต่างๆ ที่หน่วยงานราชการและเอกชนจัดขึ้น ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เช่น งานประเพณีไหลเรือไฟ งานกาชาด งานเกษตรลุ่มน้ำโขงฯ

3.พ่อค้ามารับซื้อภายในหมู่บ้าน

4.จำหน่ายต่างประเทศ

สถานที่ตั้ง
กลุ่มหัตถกรรมจากกกเหล่าพัฒนา
เลขที่ 120 หมู่ที่/หมู่บ้าน 5,9/บ้านเหล่าพัฒนา
ตำบล เหล่าพัฒนา อำเภอ นาหว้า จังหวัด นครพนม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
กลุ่มหัตถกรรมจากกกเหล่าพัฒนา
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม
ถนน อภิบาลบัญชา
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครพนม จังหวัด นครพนม รหัสไปรษณีย์ 48000
โทรศัพท์ 042516050 โทรสาร 042516187
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่