ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 41' 37.4618"
18.6937394
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 2' 57.8803"
99.0494112
เลขที่ : 161100
วัดแสนหลวง
เสนอโดย nene1180 วันที่ 26 กันยายน 2555
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 1 ตุลาคม 2555
จังหวัด : เชียงใหม่
0 631
รายละเอียด

วัดแสนหลวง ตำบลยางเนิ้ง สร้างด้วยศรัทธาเพื่อเป็นอนุสรณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือท่านหนึ่งซึ่งได้รับราชการตำแหน่ง“แสนหลวง” ในราชวงศ์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทรงพระนามว่า “เจ้ากาวิละ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๙ มีประวัติโดยสังเขปดังนี้

ในรัชสมัยพระเจ้าเมกุฏได้เสียเมืองเชียงใหม่ให้แก่จอมกษัตริย์ผู้ยิ่งยงแห่งพุกามประเทศ“บุเรงนองมหาราช” ในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นมานครเชียงใหม่ตกอยู่ในอำนาจของพม่าเป็นเวลาช้านาน

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๑๗“พระยาจ่าบ้าน” (บุญมา) ซึ่งเป็นน้าของพระเจ้ากาวิละได้ร่วมคิดกับพระเจ้ากาวิละนำทัพของพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งตั้งตนเป็นใหญ่หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาเข้าตีเมืองเชียงใหม่ ทำการขับไล่พม่าออกจากแผ่นดินลานนา เมืองเชียงใหม่จึงเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง แต่หาความสุขมิได้ ไพร่ฟ้า –ประชากรไม่เป็นอันทำมาหากิน เนื่องจากถูกพม่ายกทัพมารบกวนอยู่เสมอซ้ำรายยังขาดแคลนเสบียงอาหาร ประกอบกับป้อมคูประตูหอรบ ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงอพยพผู้คนถอยร่นจากเมืองเชียงใหม่มาตั้งรับข้าศึกอยู่ ณ เวียงหวาก (ปัจจุบันเวียงหวากอยู่ในอำเภอสารภี)

เดิมอำเภอสารภี ชื่ออำเภอป่ายางเนิ้ง (เลิ้งเอนปลายไปทางทิศตะวันออก“เลิ้ง” แปลว่า ใหญ่ –ผู้เรียบเรียง) มีต้นยางใหญ่ต้นหนึ่ง ตามตำนานกล่าวว่า ขนาดสามคนโอบต้นยางนั้นยังขาดไป ๑ คืบ ต้นยางใหญ่นี้อยู่แถวบริเวณโรงฆ่าสัตว์สุขาภิบาลยางเนิ้งแต่ก่อน

ส่วนเวียง หรือ เมืองหวากยังปรากฏเห็นกำแพงดินอยู่เป็นตอน ๆ แถวหลังโรงฆ่าสัตว์ถึงบ้าน พ.ต.ต. อุดม กตัญญู และบ้านลุงอ้าย แม่แดง สันคือ (คู) ตราบเท่าทุกวันนี้ ส่วนอื่น ๆ นั้นถูกน้ำท่วม น้ำเซาะพังทลายไปบ้าง ถูกบุกเบิกเป็นไร่ นา สวน ไปบ้าง

เมื่อสร้างเมือง (เวียงหวาก) เสร็จแล้ว พระเจ้ากาวิละและพญาจ่าบ้านซึ่งมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีความเห็นชอบตรงกัน อยากจะสร้างวัดเป็นอนุสรณ์สักวัดหนึ่งไว้บำเพ็ญกุศลของข้าราชการในสำนัก และไพรฟ้าประชากร จึงประชุมเสนาอำมาตย์และชาววัง ที่ประชุมให้ความเห็นพร้อมกันแสดงความยินดี“แสนหลวง” ได้รับมอบหน้าที่เป็น “สล่า” (นายช่าง) ออกแบบก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๓๘

ต่อมาไม่นานนักพ่อเจ้าแสนหลวงก็ถึงแก่อนิจกรรม จากนั้นอีกเพียง ๓ วัน เจ้ามหาเถรจ่อคำโต๊ะโร เจ้าอาวาสได้ถึงแก่มรณภาพ พระเจ้ากาวิละจึงจัดปลงศพ (เผาศพ) พร้อมกัน เมื่อทำบุญปลงศพแล้วจึงให้สล่าแต่งหอ (ศาล) ไว้ ๒ หอ หอคำให้สร้างที่หลังวิหาร แต่ได้สร้างพระวิหารหลังใหม่ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ หอคำหลังนี้ก็หายสาบสูญไป หอพ่อเจ้าแสนหลวง สร้างไว้ที่แจ่ง (มุม) กำแพงวัดด้านเหนือ คือ ที่ศาลาบาตรใกล้ต้นโพธิ์ปัจจุบัน เพราะได้ขยายกำแพงออกไป หอศาลเจ้าพ่อแสนหลวงจึงได้ตั้งอยู่ในวัด ณ ต้นโพธิ์ตราบเท่าทุกวันนี้ แต่ศาลเจ้าพ่อแสนหลวงได้ถูกโยกย้ายปลูกขึ้นใหม่หลายครั้ง

เมื่อเจ้าพ่อแสนหลวงได้สิ้นบุญไปสู่บุญแล้ว พระเจ้ากาวิละ และพญาจ่าบ้าน จึงได้กรุณาโปรดให้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า“วัดแสนหลวง” เพื่อเป็นอนุสรณ์ของ “พ่อเจ้าแสนหลวง” สืบพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป และเป็นที่สักการบูชาอบรมศีล สมาธิ ปัญญาของพุทธศษสนิกชนต่อไปอีกนานเท่านาน

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดแสนหลวง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ถนน เชียงใหม่-ลำพูน
ตำบล ยางเนิ้ง อำเภอ สารภี จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสารภี
บุคคลอ้างอิง หฤท้ย พลารักษ์ อีเมล์ pharuethai@yahoo.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรม อีเมล์ pharuethai@yahoo.co.th
เลขที่ 56 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ถนน เชียงใหม่-ลำพูน
ตำบล ยางเนิ้ง อำเภอ สารภี จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50140
โทรศัพท์ 053 322405 โทรสาร 053 322405
เว็บไซต์ culturecm.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่