ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 9° 15' 24.9602"
9.2569334
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 11' 34.247"
99.1928464
เลขที่ : 164916
ครกบดแป้งโบราณ
เสนอโดย ท่าฉาง วันที่ 19 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 22 ตุลาคม 2555
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
1 703
รายละเอียด

ครกหินโม่แป้งโบราณหรือภาษาถิ่นชาวปักษ์ใต้ เรียกว่า "ครกบดแป้ง"ทำมาจากหินหรือซีเมนต์มีหลากหลายขนาด ขนาดเล็กที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔๕ เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดใหญ่กว่าขนาดเล็กประมาณสามเท่า(มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๓๕ เซนติเมตร) เป็นเครื่องบดชนิดหนึ่งที่ทำด้วยหินรูปร่างคล้ายที่สีข้าว มี ๒ ส่วน ส่วนบนซึ่งเรียกว่า ลูกโม่นั้น มีมือถือสำหรับหมุนและมีรูสำหรับกรอกเมล็ดพืช เมื่อหมุนลูกโม่จะบดเมล็ดพืชให้ละเอียดและไหลลงสู่ส่วนล่าง ซึ่งมีลักษณะเป็นรางรองรับอยู่และมีช่องเปิดให้สิ่งที่ที่ไม่ไหลลงสู่ภาชนะที่รองรับได้

วิธีการโม่แป้งโดยใช้ครกบด วางครกบดให้สูงกว่าพื้นดินประมาณ ๑ ศอก เพื่อให้สามารถวางภาชนะที่จะรับแป้งจากปากครกบดได้ ข้าวสารที่จะใช้โม่จะต้องแช่น้ำให้พอง หยอดข้าวที่พองแล้วลงรูด้านบนปากฝาครกและหมุนครก ข้าวสารที่บดแล้วจะค่อยๆออกมาที่บริเวณแอ่งหรือคลอง การหยอดข้าวสารนั้นถ้าหากหยอดข้าวสารมากเกินไป และมีน้ำผสมอยู่น้อยแป้งที่โม่จะข้นหนืด ต้องหยอดน้ำช่วย ถ้าหยอดข้าวสารน้อยและใส่น้ำมาก แป้งจะเหลว ฟันครกบดจะเสียดสีกันมากอาจทำให้ซีเมนต์หรือทรายที่ฟันครกหลุด ผสมลงในแป้งได้ พอได้น้ำข้าวสีขาวขุ่นๆ ก็ต้องนำไปกรองหรือคั้นแป้งเพื่อให้น้ำออกและเหลือไว้แค่เนื้อแป้งแต่ตอนกรองหรือคั้นน้ำแป้ง ต้องจับผ้าขาวบางที่กรองแป้งไว้ตลอดเวลา จนน้ำระเหยไปหมดแล้เราก็จะได้ ก้อนแป้งแบบสดๆ ครกบดนั้นเมื่อใช้งานเรียบร้อยแล้วจะต้องล้างให้สะอาด เพราะถ้าล้างไม่สะอาดแป้งจะติดค้างอยู่ตามฟันครกหรือเดือยครกเกิดการบูดเน่าได้

ครกบดเป็นเครื่องมือที่มีใช้กันแทบทุกบ้านมีครกบดทำให้บ้านทุกบ้านโม่แป้งมาใช้เองได้ ครกบดจึงถือเป็นเครื่องมือที่อยู่คู่กับครัวไทยมานาน ในปัจจุบันการใช้ครกบดได้รับความนิยมลดลง เนื่องจากมีแป้งสำเร็จรูปขายตามท้องตลาดซึ่งหาซื้อได้ง่าย ครกบดจึงค่อยๆ หายไปจากครัวไทย

สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดมูลเหล็ก
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 บ้านท่า
ตำบล ท่าฉาง อำเภอ ท่าฉาง จังหวัด สุราษฎร์ธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดมูลเหล็ก
บุคคลอ้างอิง พระครูสุกิตติธรรมคุณ อีเมล์ surat95592@hotmail.co.th
ชื่อที่ทำงาน วัดมูลเหล็ก
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 บ้านท่า
ตำบล ท่าฉาง อำเภอ ท่าฉาง จังหวัด สุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84150
โทรศัพท์ 0818748962 โทรสาร 077389403
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่