ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 47' 27.7537"
13.7910427
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 9' 46.4566"
101.1629046
เลขที่ : 170221
ขนมกาละแมคลองเขื่อน
เสนอโดย nujib วันที่ 27 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 4 ธันวาคม 2555
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
1 1704
รายละเอียด

กาละแมเป็นขนมไทยลักษณะเป็นแป้งเหนียวสีดำ เป็นขนมหนึ่งในสามชนิดที่นิยมทำขึ้นในวันปีใหม่ของคนไทยในสมัยก่อน ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์คือ ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และกาละแม ยังไม่ทราบว่ากะละแมมีที่มาจากขนมหวานของชาติใด บางท่านกล่าวว่ามาจากขนมกาลาเม็กของฝรั่งเศส หรือคาราเมลของอังกฤษ หรือเกละไมของชาวมลายู ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งข้อเสนอว่าน่าจะมาจากขนมฮูละวะของอินเดียที่มีส่วนผสมเป็นนม แป้ง และน้ำตาล

กาละแมมี 2 ชนิด แบ่งตามวิธีการกวนคือ

กาละแมเม็ด (ดั้งเดิม) กะละแมแบบนี้สีเข้ม ขนมอาจจะมีลักษณะเป็นจุดๆแทรกอยู่กาละแมแป้ง แต่ใส่แป้งข้าวเหนียวแทนเม็ดข้าวเหนียว กะละแมที่กวนขายในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นกะละแมแป้งเพราะทำง่ายกว่า

กาละแมของ ม.3 ตำบลคลองเขื่อน จะทำจากข้าวเหนียว โดยมีวิธีการทำ ดังนี้

ส่วนผสม

1 มะพร้าวขูด 8 กิโลกรัม 2. น้ำสะอาด 8 ลิตร 3. ข้าวเหนียว 3 กิโลกรัม 4. น้ำตาลปี๊บ 7 กิโลกรัม / น้ำตาลมพร้าว 2 กิโลกรัม

วิธีการทำ1. แช่ข้าวเหนียว ประมาณ 10-12 ชั่วโมง 2. ขุดมะพร้าวแล้วน้ำไปคั้นกะทิ โดยให้แยกหัวกะทิ และหางกะทิ นำหัวกะทิไปเคี่ยวให้แตกมันและพักไว้ให้เย็น 3 เอาหางกะทิกับข้าวเหนียวที่แช่ไว้มาใส่ในกะทะใบบัว (กะทะเหล็กใบใหญ่) ต้นไประมาณ 1 ชั่วโมง ให้นำน้ำตาลปี๊บและน้ำตาลปึกที่เตรียมไว้ใส่ลงไป และทำการกวน/เคี่ยว โดยใช้พายกวน/เคี่ยวจนข้าวเหนียวกับน้ำกะทิเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งสังเกตได้จากสีของข้าวเหนียวกับน้ำกะทิจากสีขาวขุ่น จะค่อยๆ เปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล และสีดำในที่สุด ขณะที่กวนกาละแมจากสีน้ำตาลให้งวดจนกลายเป็นสีดำนั้น ผู้กวนจะหยอดหัวกะทิที่เคี่ยวไว้ลงไปด้วยจนหมด ซึ่งในขั้นตอนนี้ ผู้กวนจะเริ่มใช้พาย 2 พาย เนื่องจากพายเดียวจะกวนไม่ทัน

ในสมัยก่อนการกวนกาละแมของชาวบ้านตำบลคลองเขื่อน จะนิยมใช้เตาฝืน แต่ปัจจุบันได้หันมาใช้เตาแก๊สแทน เพราะสะดวก ไฟเตาจะมีระดับความร้อนสม่ำเสมอ ไม่ต้องกังวลกับวัสดุเชื้อเพลิง

การกวนกาละแมในแต่ละครั้ง จะใช้เวลากวน ประมาณ 5-8 ชั่วโมง เมื่อกวนเสร็จ จะได้กาละแม ประมาณ 13-14 กิโลกรัม ชาวบ้านจะนำไปจำหน่ายประมาณกิโลกรัมละ 100 บาท ขายปลีกซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 200 กรัม จะจำหน่ายห่อละ 25 บาท สำหรับการทำกาละแมแต่ละครั้งจะทำในช่วงเทศกาลงานบุญ หรือตามที่มีผู้สั่ง ซึ่งเคยมีผู้สั่งทำสูงสุดถึง 100 กิโลกรัม กาละแมของตำบลคลองเขื่อน จะเก็บไว้รับประทานได้ ประมาณ 7-10 วัน เนื่องจากไม่ได้สารกันบูด

ผู้ที่สืบทอดการทำกาละแมในหมู่ 3 ตำบลคลองเขื่อน คือ นางประจวบ มงคล และนางบุญยิ่ง อุยโต นอกจากทำกาละแมแล้ว ทั้งสองคนยังทำขนมกระยาสารทด้วย และเป็นวิทยากรให้กับผู้มี่มีความสนใจจะเรียนรู้เรื่องการทำกาละแม

คำสำคัญ
ขนมสีดำ
สถานที่ตั้ง
บ้านคลองเขื่อน
เลขที่ 93/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านคลองเขื่อน
ตำบล คลองเขื่อน อำเภอ คลองเขื่อน จังหวัด ฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางประจวบ มงคล
เลขที่ 93/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านคลองเขื่อน
ตำบล คลองเขื่อน อำเภอ คลองเขื่อน จังหวัด ฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24000
โทรศัพท์ 0899968294
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่