ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
เลขที่ : 194417
วัดสุวรรณวิชัย
เสนอโดย พัทลุง วันที่ 9 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พัทลุง วันที่ 25 กันยายน 2564
จังหวัด : พัทลุง
0 679
รายละเอียด

วัดสุวรรณวิชัย เป็นศูนย์กลางการศึกษาของอำเภอควนขนุน เป็นที่พำนักของเจ้าคณะอำเภอสืบเนื่องกันมานับร้อยปีเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อของพ่อท่านนะ อันเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป เป็นวัดแม่แบบในการพัฒนา มีโบสถ์วิหารมั่นคงเป็นหลักฐาน

วัดสุวรรณวิชัย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๔ ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๒๕ ไร่ อีกส่วนหนึ่งจัดตั้งตลาดนัด และให้เช่าปลูกร้านค้ามีพื้นที่ ๑๒ ไร่เศษ ตลาดนัดควนขนุนเป็นศูนย์กลางของชุมชน ถนนมาบรรจบกันหลายสาย แต่ละวันมีผู้คนนับพันนำสรรพสินค้าจากทั่วสารทิศมาขายเป็นย่านการค้าอันดับ ๒ รองจากตลาดนัดในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ทำรายได้ให้กับวัดปีหนึ่ง ๆ ไม่น้อยกว่า ๕ แสนบาท

เดิมวัดสุวรรณวิชัยตั้งอยู่ทางทิศใต้ ห่างจากที่ตั้งวัดในปัจจุบันประมาณ ๔๐๐ เมตร เนื้อที่ ๓๐ ไร่เศษ ตรงที่ตั้งโรงพยาบาลควนขนุน สมัยนั้นเรียกชื่อว่า "วัดใน" ไม่มีใครบอกได้ว่าตั้งขึ้นเมื่อใด ท่านพระครูกรุณานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอองค์ปัจจุบัน ท่านคาดคะเนว่า น่าจะเป็นต้นสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสองค์แรกชื่อเถรแก้วมาจากอยุธยาคงลี้ภัยเมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าปี พ.ศ.๒๓๑๐ เถรแก้วเชี่ยวชาญทางไสยศาสตร์ เล่ากันว่าหายตัวได้ คุณหญิงของพระยาพัทลุงให้ทำเสน่ห์ให้ ภายหลังสืบทราบว่าหมอทำเสน่ห์คือเถรแก้ว จึงให้บ่าวไพร่มาจับตัวหลายครั้ง แต่ไม่พบเถรแก้ว และแล้วหายตัวสามสูญไปโดยไม่มีใครรู้ว่าไปอยู่ที่ไหน

วัดในตั้งอยู่บนเนินสูง ถึงฤดูแล้งกันดารน้ำ ต้องเจาะบ่อลึกถึง ๒๐ เมตร นับเป็นความสามารถของคนสมัยนั้น สุดเขตวัดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีบ่อน้ำอีกบ่อหนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่าบ่อโตร้ะ (โตร้ะ หมายถึง การใส่สิ่งต่าง ๆ ลงไป) ที่ท้องบ่อมีกระดานไม้หนามากปูปิดไว้ สงสัยกันว่าเงินทองน่าจะบรรจุอยู่ใต้แผ่นกระดานนี้ มีผู้นำเครื่องสูบน้ำมาสูบน้ำตลอดวันตลอดคืนติดต่อกันหลายครั้ง น้ำไม่แห้งพอมองเห็นพื้นกระดานเท่านั้น บ่อโตร้ะคงมีอยู่จนบัดนี้

มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อทองเป็นโรคแผลพุพองประจำตัวต้องใช้น้ำล้างแผลอยู่บ่อยๆ บ่อน้ำที่มีในวัดลึกมาก ตักน้ำไม่สะดวก อีกบ่อหนึ่งคือบ่อโตร้ะ อยู่ไกลไปหลายเส้น ท่านจึงไปตั้งกุฏิเล็กๆ ขึ้นในวัดสุวรรณวิชัยปัจจุบัน ซึ่งอยู่ชิดกับคลองควนขนุน มีน้ำไหลผ่านตลอดปี สะดวกในการใช้น้ำ ขณะนั้นที่ตั้งวัดสุวรรณวิชัยเป็นปารกร้างมีต้นหมาก ตันมะพร้าว เหลืออยู่บ้าง แสดงว่าเคยมีผู้มาตั้งบ้านเรือนอาศัยมาก่อนแล้ว ท่านทองเป็นพระภิกษุรูปแรกที่เข้ามาพำนักในวัดนี้ ประกอบกับช่วงระยะเวลานั้น คนบ้าชื่อนายเถื่อน เผากุฏิ หอฉัน โรงครัวเสียหายมาก พระรูปอื่นๆ จึงย้ายตามกันมาสร้างกุฏิเล็กๆ เป็นเป็นที่พำนักเพิ่มขึ้นหลายหลัง ตั้งเรียงรายกันไป ชาวบ้านเรียกว่า "วัดกุฏิ" อันสืบเนื่องมาจากกุฏิวัดในนั่นเอง

ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๖๓ เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุมในท้องที่อำเภอควนขนุน ขณะนั้นที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ควนพนางตุงยากที่เจ้าหน้าที่จะทำการปราบปรามได้ โจรรวมพวกกันดั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า หัวหน้าโจรสำคัญๆ ได้แก่ รุ่ง ดอนทราย คลิ้ง หนักขัน เงิน หนวดแดง คล้าย แพรกหา สี ห้วยท่อม นำหนองฟ้าฝ่า ช่วย หนักกุน หัวหน้าโจรที่ขึ้นชื่อมากที่สุดคือ ดำหัวแพร โจรแค่ละก๊กต่างประชันความโหดร้ายของตน ออกปล้นสะดมทรัพย์สินของชาวบ้านทั้งกลางวันกลางคืน ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนมาก กลางคืนต้องนอนชุกซ่อนในป่าไม่เป็นอันทำมาหากิน ทิ้งบ้านช่องหนีไปก็มีเป็นจำนวนมาก นายกลับ เรืองมา ชาวบ้านวัดป่าตอ ไม่สามารถอดทนต่อไปได้นำฎีกาถวายพ่อกรมหลวงลพบุรีเมศวร์ อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ซึ่งประทับอยู่ที่จังหวัดสงขลา รับสั่งให้พันตำรวจโทพระวิชัยประชาบาล นำกองปราบพิเศษมาทำการปราบปรามและมอบอาญาสิทธิ์มาให้โดยเด็ดขาด

พอรุ่งเช้าเดินทางกลับเปลี่ยนเส้นทางใหม่อีก ทำอย่างต่อเนื่องให้เห็นว่าทางสงขลาส่งกำลังมาเพิ่ม วิธีหนึ่งใช้สงครามจิตวิทยา ผู้ร้ายที่ถูกยิงตาย นำมาประจานไว้ในย่านชุมชนให้ชาวบ้านเห็นว่าเจ้าหน้าที่เป็นที่พึ่งของชาวบ้านได้ กลางคืนให้มีหนังโขนของกองปราบแสดงประจำ ชาวบ้านมาชมกันอย่างสนุกสนานไม่หวาดกลัวผู้ร้ายอีกต่อไป บรรดาพวกหนุ่มฉกรรจ์ ผู้ชำนาญท้องที่ ท่านเรียกตัวมารวมกันในวัดฝึกยุทธวิธีให้ มีตะบองยาวเป็นอาวุธ ใครจับผู้ร้ายได้ก็บำเหน็จความชอบให้ ตั้งเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจแบ่งชายฉกรรจ์ออกเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า พรานดง ช่วยในการปราบปรามผู้ร้ายได้ดีเยี่ยม

พระวิชัยสำนึกในพระคุณของพ่อท่านนะและชาวบ้านที่ให้ความร่วมมือในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจนสำเร็จ ปี พ.ศ.๒๔๖๒ ให้สร้างบ่อน้ำตำรวจภูธรไว้เป็นอนุสรณ์ และท่านมีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างอุโบสถและพระประธาน จนเสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ.๒๔๖๔ ท่านตั้งชื่อวัดใหม่ให้ชาวบ้านเลือกหลายชื่อ ชาวบ้านเลือกชื่อ"สุวรรณวิชัย" เพราะมีความหมายดี "สุวรรณ" มาจากชื่อทอง เป็นชื่อพระภิกษุรูปแรกที่มาพำนักอยู่ในวัดสุวรรณนี้ "วิชัย" เป็นราชทินนามของท่านผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างอุโบสถ และให้ความสงบสุขแก่ชาวควนขนุนวัดกุฏิจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัด “สุวรรณวิชัย” แต่นั้นมา

พ่อท่านนะมีหูตากว้างไกลมุ่งมั่นที่จะให้เกิดความเจริญแก่ชุมชน จึงแบ่งที่ดินวัดส่วนหนึ่งเป็นตลาดนัดและร้านค้า ติดต่อคนจีนให้มาตั้งร้านค้าขาย เป็นเหตุให้บ้านควนขนุนกลายเป็นชุมชนที่หนาแน่น ยึดการค้าเป็นอาชีพ มีความเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้

พ่อท่านนะถึงแก่มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ ขุนเทพภักดีอดีตนายอำเภอควนขนุน ว่าจ้างช่างจากกรุงเทพฯ ให้ปั้นรูปเท่าคนจริงและหล่อด้วยสำริด ประดิษฐานไว้ในวัด เป็นที่สักการบูชาของคนทั่วไป มีผู้คนไปปิดทอง กราบไหว้บูชามิได้ขาด

ปี พ.ศ.๒๔๗๒ ท่านเจ้าคุณพุทธิธรรมธาดาเป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะอำเภอ สนใจต่อการศึกษามากได้เปิดโรงเรียนปริยัติธรรรมทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี แผนกธรรมเปิดสอนมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ส่วนแผนกบาลีทำการสอนมาได้ ๗ ปี ต้องปิดลงโดยปริยาย ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๘๐ ได้จัดตั้งโรงเรียนช่วยมิตรขึ้น ลักษณะโรงเรียนวัด เปิดสอนระดับมัธยมปีที่ ๑-๖ มีนักเรียนจบจากโรงเรียนนี้ล้วนมีหน้าที่การงานทำเป็นหลัก

ท่านเจ้าคุณพุทธิธรรมธาดาได้สร้างสิ่งถาวรไว้มากมายโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เมรุเผาศพ ล้วนแต่ใหญ่โตโอ่อ่าสมกับเป็นวัดแม่แบบ ใช้งบประมาณนับร้อยล้าน ท่านเจ้าคุณมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ท่านพระครูกรุณานุรักษ์เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะอำเภอสืบมา ได้เจริญรอยดามท่านเจ้าคุณพุทธิธรรมธาดาอย่างเคร่งครัด ทางวัดไม่มีการปลุกเสกแจกเครื่องรางของขลังใด ๆ เป็นอันขาด ด้านการศึกษาให้ใช้อาคาร"โรงเรียนช่วยมิตร" เปิดสอนเด็กระดับอนุบาล และปี พ.ศ.๒๕๒๓ เปิดโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น มีกุลบุตรกุลธิดาเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก

เจ้าอาวาสปัจจุบัน ชื่อ พระครูสุวรรณวิชชาธร

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 3.(843).กรุงเทพ.โรงพิมพ์การศาสนา.
บุคคลอ้างอิง นางสาววนัธศนันท์ ดุษฎีศุภการย์ อีเมล์ easting17@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ ๐๗๔๖๑๗๙๕๙๘ โทรสาร ๐๗๔๖๑๗๙๕๙
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่